ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด

ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (อังกฤษ: Non-Aligned Movement; NAM) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีนโยบายว่าจะไม่เป็นพันธมิตรหรือต่อต้านกับขั้วอำนาจฝ่ายใด โดยเป็นกลุ่มประเทศที่มีสมาชิกมากที่สุดทั่วโลก รองจากสหประชาชาติ[1][2]

สมาชิกในปัจจุบันของขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ประเทศที่มีสีฟ้ามีสถานะเป็นรัฐสังเกตการณ์

ขบวนการนี้เป็นผลสืบเนื่องจากแนวคิดของชวาหระลาล เนห์รู นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย, ญะมาล อับดุนนาศิร ประธานาธิบดีอียิปต์, ยอซีป บรอซ ตีโต ประธานาธิบดีของยูโกสลาเวีย, กวาเม อึนกรูมา ประธานาธิบดีกานา และซูการ์โน ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย[3][4][5]

ขบวนการนี้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1961 ที่กรุงเบลเกรด มีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้นนับถึงปี ค.ศ. 2012 จำนวน 120 ประเทศ ซึ่งเป็นตัวแทนของจำนวนสมาชิกในสหประชาชาติถึง 2 ใน 3 และมีจำนวนประชากรรวม 55% ของประชากรทั้งโลก ส่วนใหญ่แล้วเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่า กลุ่มโลกที่สาม แม้ว่าจะมีบางประเทศที่มีสถานะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว[6]

อ้างอิง

แก้
  1. "NAM Members & Observers". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2019. สืบค้นเมื่อ 20 March 2019.
  2. "About NAM". mnoal.org. Non Aligned Movement. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2019. สืบค้นเมื่อ 20 March 2019.
  3. Nehru, Jawaharlal (2004). Jawaharlal Nehru.: an autobiography. Penguin Books. ISBN 9780143031048. OCLC 909343858.
  4. "Non-Aligned Movement | Definition, Mission, & Facts". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2021. สืบค้นเมื่อ 10 July 2020.
  5. Mukherjee, Mithi (2010). "'A World of Illusion': The Legacy of Empire in India's Foreign Relations, 1947-62". The International History Review. 32: 2 (2): 253–271. doi:10.1080/07075332.2010.489753. JSTOR 25703954. S2CID 155062058.
  6. Menon, Shivshankar (1 July 2022). "A New Cold War May Call for a Return to Nonalignment". Foreign Policy. Washington, D.C.: Graham Holdings Company. ISSN 0015-7228. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2022. สืบค้นเมื่อ 14 August 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้