ซูการ์โน
ซูการ์โน (อินโดนีเซีย: Soekarno, Sukarno; 6 มิถุนายน พ.ศ. 2444 - 21 มิถุนายน พ.ศ. 2513) เป็นนักการเมือง นักปราศรัย นักปฏิวัติชาตินิยมชาวอินโดนีเซีย โดยเป็นประธานาธิบดีคนแรกของอินโดนีเซีย ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945 ถึง ค.ศ. 1967
ซูการ์โน | |
---|---|
ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย คนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 18 สิงหาคม พ.ศ. 2488 – 12 มีนาคม พ.ศ. 2510 | |
นายกรัฐมนตรี | ซูตัน ชะฮ์รีร์ อามีร์ ชารีฟุดดิน โมฮัมมัด ฮัตตา อับดุล ฮาลิม โมฮัมมัด นัตซีร์ ซูกีมัน วีร์โยซันโจโย วีโลโป อาลี ซัซโตรอามีโจโย บูร์ฮันอุดดิน ฮาราฮัป จูวันดา การ์ตาวีจายา |
ก่อนหน้า | ตำแหน่งที่จัดตั้งขึ้น |
ถัดไป | ซูฮาร์โต |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 มิถุนายน พ.ศ. 2444 สุราบายา ดัตช์อีสต์อินดีส |
เสียชีวิต | 21 มิถุนายนพ.ศ. 2513 (69 ปี) จาการ์ตา อินโดนีเซีย |
ศาสนา | อิสลาม |
พรรคการเมือง | พรรคชาติอินโดนีเซีย (1927–1931) |
คู่สมรส | 4 คน |
บุตร | From Inggit
With Fatmawati With Hartini With Ratna With Haryati
With Kartini
|
ลายมือชื่อ | |
ซูการ์โนเป็นผู้นำในการต่อสู้เพื่อเอกราชของอินโดนีเซียจากอาณานิคมเนเธอร์แลนด์ เขาเป็นผู้นำที่โดดเด่นของขบวนการชาตินิยมของอินโดนีเซียในช่วงอาณานิคม และถูกกักขังโดยรัฐบาลอาณานิคมนานกว่าทศวรรษจนกระทั่งได้รับการปล่อยตัวจากกองกำลังญี่ปุ่นที่รุกรานในสงครามโลกครั้งที่สอง ซูการ์โนและเพื่อนร่วมอุดมการณ์ชาตินิยมของเขาร่วมมือกันเพื่อรวบรวมการสนับสนุนความพยายามในการทำสงครามของญี่ปุ่นจากประชาชน เพื่อแลกกับความช่วยเหลือของญี่ปุ่นในการเผยแพร่แนวคิดชาตินิยม เมื่อญี่ปุ่นยอมแพ้ ซูการ์โนและโมฮัมมัด ฮัตตาประกาศเอกราชของอินโดนีเซียในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1945 และวันถัดมา ซูการ์โนได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานาธิบดี เขาเป็นผู้นำในการต่อต้านความพยายามสร้างอาณานิคมใหม่ของดัตช์โดยใช้วิธีการทั้งทางการทูตและการทหาร จนกระทั่งเนเธอร์แลนด์รับรองเอกราชของอินโดนีเซียในปี ค.ศ. 1949 เป็นผลให้เขาได้รับสมญานามว่า "บิดาแห่งการประกาศอิสรภาพ" (Bapak Proklamator) [1]
หลังจากช่วงเวลาแห่งความโกลาหลของระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ซูการ์โนได้ก่อตั้งระบอบอัตตาธิปไตยที่เรียกว่า "ประชาธิปไตยแบบชี้นำ" (Demokrasi Terpimpin) ในปี ค.ศ. 1959 ซึ่งประสบความสำเร็จในการยุติความไม่มั่นคงและการกบฏที่คุกคามการอยู่รอดของประเทศที่มีความหลากหลายและแตกแยก ในช่วงต้นทศวรรษ 1960 ซูการ์โนได้เริ่มดำเนินนโยบายต่างประเทศที่ก้าวร้าวหลายชุดภายใต้หัวข้อต่อต้านจักรวรรดินิยมและสนับสนุนขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดด้วยตนเอง การพัฒนาเหล่านี้ทำให้เกิดความขัดแย้งกับตะวันตกมากขึ้นและมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสหภาพโซเวียตมากขึ้น หลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบ ๆ จากขบวนการ 30 กันยายน ค.ศ. 1965 พลเอกซูฮาร์โตแห่งกองทัพได้เข้าควบคุมประเทศเป็นส่วนใหญ่ด้วยการที่ฝ่ายตะวันตกสนับสนุนการโค่นล้มรัฐบาลที่นำโดยซูการ์โน ต่อมามีการปราบปรามฝ่ายซ้ายทั้งที่เป็นฝ่ายซ้ายจริงและผู้ต้องสงสัยว่าเป็นฝ่ายซ้ายจนเกิดการสังหารหมู่เป็นจำนวนมาก โดยได้รับการสนับสนุนจากซีไอเอ [2] และหน่วยข่าวกรองของอังกฤษ [3] ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 500,000 ถึงมากกว่า 1,000,000 ราย [4][5][6][7] ในปี ค.ศ. 1967 ซูฮาร์โตเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการแทนที่ซูการ์โนซึ่งยังคงถูกกักบริเวณในบ้านจนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1970
เมกาวาตี ซูการ์โนปูตรี ลูกสาวคนโตของเขา ซึ่งเกิดในช่วงที่พ่อของเธอปกครองในปี ค.ศ. 1947 ต่อมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 5 ของอินโดนีเซียตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 ถึง ค.ศ. 2004
ชื่อ
แก้ชื่อ "ซูการ์โน" นั้นถอดสะกดเป็นอักษรโรมันตามระบบใหม่ของอินโดนีเซียว่า "Sukarno" เริ่มใช้ในปี 1947 ก่อนหน้านั้นสะกดว่า "Soekarno" ตามอักขรวิธีของภาษาดัตช์ ชื่อ ซูการ์โน เป็นคำยืมจากภาษาสันสกฤตในภาษาชวา "สุกรฺโณ" มีความหมายว่า กรรณะผู้ประเสริฐ ชาวอินโดนีเซียจะจดจำเขาในนาม บุงการ์โน (Bung Karno) หรือ ปะก์การ์โน (Pak Karno) เขามีเพียงชื่อเดียวเฉกเช่นชาวชวาทั่วไปที่ไม่ใช้นามสกุล เขามีชื่อทางศาสนาคือ อัคมัด ซูการ์โน[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2503 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[9]
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ธีรพร พรหมมาศ. “ซูการ์โน: ผู้สร้างเอกภาพของอินโดนีเซีย.” ใน อรพินท์ คำสอน และคนอื่นๆ (บก.), ย้อนพินิจผู้สร้างประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 1. น. 201–29. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัย “ปริทรรศน์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สกว.), 2557.
- ประดิษฐ์ คุณสนอง. “ซูการ์โนกับการสร้างอำนาจทางการเมือง.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต แผนกวิชาการปกครอง บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518.
อ้างอิง
แก้- ↑ "Ini 7 Julukan Presiden Indonesia, Dari Soekarno Sampai Jokowi : Okezone Edukasi". 28 November 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 April 2023. สืบค้นเมื่อ 23 April 2023.
- ↑ Kadane, Kathy (21 May 1990). "U.S. OFFICIALS' LISTS AIDED INDONESIAN BLOODBATH IN '60S". The Washington Post. Washington, D.C. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2021. สืบค้นเมื่อ 5 November 2021.
- ↑ Lashmar, Paul; Gilby, Nicholas; Oliver, James (17 October 2021). "Revealed: how UK spies incited mass murder of Indonesia's communists". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 17 October 2021.
- ↑ Robinson, Geoffrey B. (2018). The Killing Season: A History of the Indonesian Massacres, 1965–66. Princeton University Press. ISBN 978-1-4008-8886-3.
- ↑ Melvin, Jess (2018). The Army and the Indonesian Genocide: Mechanics of Mass Murder. Routledge. p. 1. ISBN 978-1-138-57469-4.
- ↑ Mark Aarons (2007). "Justice Betrayed: Post-1945 Responses to Genocide." In David A. Blumenthal and Timothy L. H. McCormack (eds). The Legacy of Nuremberg: Civilising Influence or Institutionalised Vengeance? (International Humanitarian Law). เก็บถาวร 5 มกราคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Martinus Nijhoff Publishers. ISBN 9004156917 p. 80.
- ↑ The Memory of Savage Anticommunist Killings Still Haunts Indonesia, 50 Years On, Time
- ↑ In Search of Achmad Sukarno เก็บถาวร 2011-06-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Steven Drakeley, University of Western Sydney
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ก่อนหน้า | ซูการ์โน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ได้รับเอกราชจาก เนเธอร์แลนด์ |
ประธานาธิบดีแห่งอินโดนีเซีย (18 สิงหาคม พ.ศ. 2488 - 12 มีนาคม พ.ศ. 2510) |
ซูฮาร์โต |