สาธารณรัฐระบบรัฐสภา
สาธารณรัฐแบบรัฐสภา คือ สาธารณรัฐซึ่งบริหารภายใต้ระบบการปกครองแบบรัฐสภา โดยฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) ได้รับความชอบธรรมจากและรับผิดชอบต่อสภานิติบัญญัติ มีสาธารณรัฐแบบรัฐสภาแบบต่าง ๆ ส่วนมากมีการแบ่งแยกชัดเจนระหว่างหัวหน้ารัฐบาลและประมุขแห่งรัฐ โดยหัวหน้ารัฐบาลเป็นผู้ครองอำนาจที่แท้จริง เช่นเดียวกับราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บ้างรวมบทบาทของประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล เช่นเดียวกับระบบประธานาธิบดี แต่ยังต้องอาศัยอำนาจของรัฐสภา
รัฐของโลกแบ่งตามระบอบการปกครอง1
|
2 บางรัฐอาจมีคนนอกเรียกว่าเป็นรัฐอำนาจนิยม บทความนี้กล่าวถึงระบอบการปกครองโดยนิตินัยเท่านั้น
ประวัติของสาธารณรัฐระบบรัฐสภา
แก้ระบอบสาธารณรัฐระบบรัฐสภานั้นเกิดขึ้นครั้งแรก ณ ประเทศฝรั่งเศส[1] ในสมัยสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 โดยมีฌูล ทรอชูว์ เป็นนายกรัฐมนตรี ในศตวรรษที 19 ช่วงหลังสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย
รายชื่อประเทศที่ปกครองแบบสาธารณรัฐระบบรัฐสภา
แก้- แอลเบเนีย
- อาร์มีเนีย
- ออสเตรีย
- บังกลาเทศ
- บาร์เบโดส
- บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
- บอตสวานา
- บัลแกเรีย
- โครเอเชีย
- เช็กเกีย
- ดอมินีกา
- เอสโตเนีย
- เอธิโอเปีย
- ฟีจี
- ฟินแลนด์
- เยอรมนี
- กรีซ
- ฮังการี
- ไอซ์แลนด์
- อินเดีย
- อิรัก
- ไอร์แลนด์
- อิสราเอล
- อิตาลี
- คิริบาส
- คอซอวอ
- คีร์กีซสถาน
- ลัตเวีย
- เลบานอน
- มาซิโดเนียเหนือ
- มอลตา
- หมู่เกาะมาร์แชลล์
- มอริเชียส
- ไมโครนีเชีย
- มอลโดวา
- มอนเตเนโกร
- พม่า
- นาอูรู
- เนปาล
- ปากีสถาน
- ซามัว
- ซานมารีโน
- เซอร์เบีย
- สิงคโปร์
- สโลวาเกีย
- สโลวีเนีย
- โซมาเลีย
- แอฟริกาใต้
- ซูรินาม
- สวิตเซอร์แลนด์
- ตรินิแดดและโตเบโก
- วานูวาตู
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Arend Lijphart, บ.ก. (1992). Parliamentary versus presidential government. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-878044-1.