ประเทศวานูวาตู

(เปลี่ยนทางจาก วานูวาตู)

วานูวาตู (บิสลามา, อังกฤษ และฝรั่งเศส: Vanuatu, เสียงอ่านในภาษาบิสลามาและฝรั่งเศส [vanuatu]) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐวานูวาตู (บิสลามา: Ripablik blong Vanuatu; อังกฤษ: Republic of Vanuatu; ฝรั่งเศส: République de Vanuatu) เป็นประเทศหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศออสเตรเลีย 1,750 กม. และตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของนิวแคลิโดเนีย ทางทิศตะวันตกของประเทศฟีจี และทางทิศใต้ของหมู่เกาะโซโลมอน 500 กม. ชื่อของประเทศนี้ในยุคอาณานิคม คือ นิวเฮบริดีส์ (New Hebrides)

สาธารณรัฐวานูวาตู

Ripablik blong Vanuatu (บิสลามา)
Republic of Vanuatu (อังกฤษ)
République du Vanuatu (ฝรั่งเศส)
ตราแผ่นดินของวานูวาตู
ตราแผ่นดิน
คำขวัญ"เรายืนหยัดอยู่กับพระเจ้า"
(บิสลามา: Long God yumi stanap;
อังกฤษ: With God we stand;[1][2]
ฝรั่งเศส: Nous nous tenons devant Dieu)
ที่ตั้งของวานูวาตู
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
พอร์ตวิลา
17°S 168°E / 17°S 168°E / -17; 168
ภาษาราชการ
กลุ่มชาติพันธุ์
(1999)
ศาสนา
(ค.ศ. 2010)[3]
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบรัฐสภา
Nikenike Vurobaravu
Charlot Salwai
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
เป็นเอกราช
• จากฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร
30 กรกฎาคม ค.ศ. 1980
• ยอมรับเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ
15 กันยายน ค.ศ. 1981
พื้นที่
• รวม
12,189 ตารางกิโลเมตร (4,706 ตารางไมล์) (อันดับที่ 157)
ประชากร
• ค.ศ. 2020 ประมาณ
307,815[4] (อันดับที่ 181)
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2016
272,459[5]
19.7 ต่อตารางกิโลเมตร (51.0 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 188)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2018 (ประมาณ)
• รวม
820 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 178)
2,850 ดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 155)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2018 (ประมาณ)
• รวม
957 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 175)
3,327 ดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 124)
จีนี (ค.ศ. 2010)37.6[7]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.609[8]
ปานกลาง · อันดับที่ 140
สกุลเงินวาตู (VUV)
เขตเวลาUTC+11 (VUT (เวลาในประเทศวานูวาตู))
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+678
โดเมนบนสุด.vu

ศัพทมูลวิทยา

แก้

ชื่อประเทศมาจากคำว่าวานูอา ("ดินแดน" หรือ "บ้าน")[9] ซึ่งพบในภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนบางภาษา[a] กับคำว่า ตู หมายถึง "เพื่อยืน" (จากPOc *tuqur).[10] ทั้งสองคำสื่อถึงสถานะเป็นเอกราชของประเทศ[11]

ประวัติศาสตร์

แก้

เกาะจำนวนมากของวานูวาตูมีผู้อาศัยมานานนับพัน ๆ ปี หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุด พบว่ามีอายุย้อนไปถึงประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อ ค.ศ. 1606 นักสำรวจชาวโปรตุเกส ชื่อ เปโดร เฟร์นันเดซ เด กีโรส (Pedro Fernández de Quirós) ก็นับเป็นชาวยุโรปคนแรกที่เดินทางมาถึงหมู่เกาะนี้ ชาวยุโรปเริ่มตั้งถิ่นฐานในหมู่เกาะดังกล่าวในปลายศตวรรษที่ 18 หลังจากกัปตันเจมส์ คุก นักสำรวจชาวอังกฤษได้เดินทางมายังหมู่เกาะแห่งนี้ เมื่อระหว่างการเดินทางครั้งที่ 2 ของเขา

เมื่อ ค.ศ. 1906 ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรตกลงที่จะปกครองดินแดนนี้ร่วมกัน โดยเรียกหมู่เกาะแห่งนี้ว่า "นิวเฮบริดีส์" ครั้นถึงทศวรรษ 1960 ประชากรชาววานูวาตูเริ่มกดดันเพื่อก่อตั้งรัฐบาลของตนเอง และภายหลังก็เรียกร้องเอกราชคืน และในที่สุดฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรก็ยอมคืนอำนาจอธิปไตยอย่างสมบูรณ์สู่เจ้าของพื้นที่อีกครั้ง เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523)

ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 วานูวาตูประสบความผันผวนทางการเมือง และในที่สุดก็นำไปสู่รัฐบาลแบบกระจายอำนาจมากขึ้น

บางท่านถือว่าวานูวาตูเป็นหนึ่งในเกาะสวรรค์ที่ยังคงสภาพดังเดิมอย่างแท้จริง

ภูมิศาสตร์

แก้

วานูวาตูมิได้เป็นเกาะเพียงเกาะเดียว ความจริงแล้วเป็นหมู่เกาะ มีเกาะน้อยใหญ่ทั้งหมด 83 เกาะ ในจำนวนนี้ มีอยู่ 2 เกาะ ได้แก่ เกาะแมตทิว (Matthew) และเกาะฮันเตอร์ ซึ่งถือเป็นดินแดนของนิวแคลิโดเนีย (ฝรั่งเศส)

ในบรรดาเกาะทั้ง 83 เกาะนั้น มี 14 เกาะที่มีเนื้อที่มากกว่า 100 ตารางกิโลเมตร ได้แก่

  1. เกาะเอสปีรีตูซันตู (Espiritu Santo) : 3,956 ตารางกิโลเมตร
  2. เกาะมาลากูลา (Malakula) : 2041 ตารางกิโลเมตร
  3. เกาะเอฟาเต (Éfaté) : 900 ตารางกิโลเมตร
  4. เกาะเอร์โรมันโก (Erromango) : 888 ตารางกิโลเมตร
  5. เกาะแอมบริม (Ambrym) : 678 ตารางกิโลเมตร
  6. เกาะแทนนา (Tanna) : 555 ตารางกิโลเมตร
  7. เกาะปองต์โกต (Pentecôte) : 491 ตารางกิโลเมตร
  8. เกาะเอปี (Épi) : 445 ตารางกิโลเมตร
  9. เกาะแอมเบ (Ambae) หรือ เอาบา (Aoba) : 402 ตารางกิโลเมตร
  10. เกาะวานัวลาวา (Vanua Lava) : 334 ตารางกิโลเมตร
  11. เกาะซันตามาเรีย (Santa Maria) : 328 ตารางกิโลเมตร
  12. เกาะมาเอโว (Maéwo) : 304 ตารางกิโลเมตร
  13. เกาะมาโล (Malo) : 180 ตารางกิโลเมตร) และ
  14. เกาะอะนาตอม (Anatom) หรือ อาเนติอุม (Aneityum) : 159 ตารางกิโลเมตร

เกาะส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง เดิมเป็นภูเขาไฟมาก่อน มีสภาพอากาศแบบเขตร้อน หรือกึ่งเขตร้อน เมืองที่ใหญ่สุด คือเมืองหลวง ชื่อว่า "พอร์ตวิลา" ตั้งอยู่บนเกาะเอฟาเต และเมืองลูแกงวีล บนเกาะเอสปีรีตูซันตู

จุดที่สูงสุดของวานูวาตู คือภูเขา Tabwemasana มีความสูง 1,879 เมตร (6,158 ฟุต) อยู่บนเกาะเอสปิริตู ซานโต เช่นเดียวกัน

นิเวศวิทยา

แก้

วานูวาตูถือเป็นภูมิภาคนิเวศบกที่โดดเด่นแห่งหนึ่ง เรียกว่า "ป่าฝนวานูวาตู" วานูวาตูยังเป็นส่วนหนึ่งของเขตนิเวศออสตราเลเชีย (Australasia ecozone) ซึ่งรวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงอย่างนิวแคลิโดเนีย และหมู่เกาะโซโลมอน รวมทั้งออสเตรเลีย ปาปัวนิวกินี และนิวซีแลนด์

การเมือง

แก้

นิติบัญญัติ

แก้

รัฐสภาของวานูวาตูเป็นแบบสภานิติบัญญัติสภาเดียว มีสมาชิก 52 คน สมาชิกเหล่านี้ได้รับการเลือกตั้งทุกๆ 4 ปี จากการลงคะแนนเสียง ผู้นำพรรคหลักในรัฐสภา มักจะได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นผู้นำคณะรัฐบาล สำหรับประมุขของรัฐ คือประธานาธิบดี ได้รับเลือกคราวละ 5 ปี จากรัฐสภาและประธานรัฐบาลท้องถิ่น 6 จังหวัด อย่างไรก็ตามการจัดตั้งรัฐบาลนั้นยังปรากฏปัญหาหลายต่อหลายครั้ง อันเนื่องมาจากแตกแยกระหว่างผู้พูดภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้
 
แผนที่แสดงจังหวัดของประเทศวานูวาตู

วาตูอาตูแบ่งการปกครองเป็น 6 จังหวัด (province) ดังนี้

เศรษฐกิจ

แก้

เศรษฐกิจนั้นส่วนใหญ่จะอิงกับเศรษฐกิจแบบเลี้ยงชีพ หรือเกษตรกรรมขนาดเล็ก ซึ่งเลี้ยงชีพประชากรราว 65% สำหรับการประมง บริการการเงินนอกประเทศ และการท่องเที่ยว (เมื่อปี ค.ศ. 1997 มีนักท่องเที่ยวประมาณ 50,000 คน) เป็นเศรษฐกิจหลักอันดับรองลงมา นอกจากนี้ก็ยังมีอุตสาหกรรมขนาดเล็ก รายได้จากการเก็บภาษีส่วนใหญ่มาจากภาษีนำเข้า และ 12.5% เป็นภาษีมูลค่าเพิ่มจากสินค้าและบริการ

การเติบโตของเศรษฐกิจนั้นต้องชะลอลงอันเนื่องจากส่วนใหญ่ต้องอาศัยสินค้านำเข้าสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน การประสบภัยธรรมชาติ และระยะทางที่ยาวไกลจากตลาดหลักและระหว่างเกาะน้อยใหญ่ แผ่นดินไหวอย่างรุนแรงในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1999 และตามด้วยสึนามิ ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อเกาะทางตอนเหนือ ทำให้ประชากรหลายพันคนไร้ที่อยู่อาศัยแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเดือนมกราคม 2002 ก่อให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ในเมืองหลวง และพื้นที่โดยรอบ ทั้งยังประสบภัยจากสึนามิในเวลาต่อมาด้วย

ค่าจีดีพีของวานูวาตูเติบโตโดยเฉลี่ยไม่ถึง 3% ในทศวรรษ 1990 และตอบสนองความสนใจจากต่างประเทศ รัฐบาลจึงได้สัญญาที่จะเข้มงวดกับระเบียบด้านการเงินนอกประเทศ เมื่อกลางปี 2005 รัฐบาลได้เพิ่มความพยายามที่จะเร่งตลาดท่องเที่ยว ประเทศออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นผู้สนับสนุนหลักจากต่างประเทศของวานูวาตู

วานูวาตูเป็นเมืองปลอดภาษี ซึ่งไม่เปิดเผยข้อมูลบัญชีแก่รัฐบาลใด ๆ และหน่วยงานควบคุมกฎหมาย ในวานูวาตูนั้น ไม่มีภาษีเงินได้ ไม่มีการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา บริษัทต่าง ๆ เลือกที่จะลงทุนในวานูวาตู เพื่อหลีกเลี่ยงกฎระเบียบ และการกระทำผิดกฎหมาย

ประชากร

แก้
 
แผนที่วานูวาตู

ประชากร : 202,609 คน (กรกฎาคม 2547)

ประชากรส่วนใหญ่ของวานูวาตูเป็นชาวเมลานีเซียพื้นเมือง หรือนีวานูวาตู ส่วนที่เหลือประกอบด้วยชาวยุโรป เอเชีย และชาวหมู่เกาะอื่นๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก

ภาษาที่ใช้อย่างเป็นทางการมีด้วยกัน 3 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาบิสลามา อันเป็นภาษาลูกผสมแบบหนึ่ง ที่มีรากฐานจากภาษาอังกฤษ นอกจากนี้แล้วยังมีภาษาถิ่นต่างๆ อีกกว่า 100 ภาษาที่ใช้พูดกันในหมู่เกาะนี้ นับเป็นพื้นที่ซึ่งมีความหนาแน่นของภาษาสูงที่สุดในภูมิภาคใดๆ ของโลก (โดยเฉลี่ยมีผู้พูดเพียง 2,000 คนต่อ 1 ภาษา) พื้นที่ซึ่งมีความหนาแน่นใกล้เคียงกันก็คือ ปาปัวนิวกินี

ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่ประชากรนับถือมากที่สุดในวานูวาตู มีหลายคณะนิกายด้วยกัน สำหรับ Presbyterian เป็นนิกายที่มีผู้นับถือมากที่สุด นั่นคือมีผู้นับถืออยู่ประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด

สำหรับลัทธิคาร์โก (Cargo) ก็ได้รับความนิยมนับถือจากผู้ศรัทธาจำนวนหนึ่ง

วัฒนธรรม

แก้

วานูวาตูยังคงมีความหลากหลายของวัฒนธรรมอย่างเหนียวแน่น ทั้งที่เป็นวัฒนธรรมในท้องถิ่น และได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ วัฒนธรรมของวานูวาตูอาจแบ่งได้ตามภูมิภาคหลักๆ 3 ภาคดังนี้

  • ภาคเหนือ ความมั่งคั่งจะพิจารณาได้จากว่าผู้คนสามารถให้ทรัพย์สินได้มากเท่าใด (โดยเฉพาะสุกร ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่ง ทั่วทั้งหมู่เกาะแห่งนี้)
  • ภาคกลาง ถือเป็นแหล่งวัฒนธรรมโปลีนีเซียแบบดั้งเดิมมากกว่า
  • ภาคใต้ มีวัฒนธรรมการมอบตำแหน่งที่เกี่ยวกับสิทธิพิเศษ

นอกจากนี้ชายหนุ่มจะมีพิธีต่าง ๆ เกี่ยวกับการเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่ เพื่อการเริ่มต้นชีวิตวัยผู้ใหญ่

หมายเหตุ

แก้
  1. วานูอา มาจากออสโตรนีเซียดั้งเดิม *banua – ดู Reuter 2002, p. 29; และ Reuter 2006, p. 326

อ้างอิง

แก้
  1. Vanuatu Daily Post, Harrison Selmen (17 กรกฎาคม 2011). "Santo chiefs concerned over slow pace of development in Sanma". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 มกราคม 2012. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2011.
  2. Lynch & Pat 1996, p. 319.
  3. "Religions in Vanuatu | PEW-GRF". globalreligiousfutures.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2020.
  4. "Vanuatu Population (2020) – Worldometer". worldometers.info. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2020.
  5. "2016 Post-TC Pam Mini-Census Report". vnso.gov.vu. Government of Vanuatu. 21 กรกฎาคม 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 มกราคม 2019. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2017.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 "World Economic Outlook Database, October 2018". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2019.
  7. "GINI index (World Bank estimate)". World Bank. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2019.
  8. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 ธันวาคม 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2020.
  9. Hess 2009, p. 115.
  10. See "Entry *tuqu". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 ตุลาคม 2020. ใน the Polynesian Lexicon Project.
  11. Crowley 2004, p. 3.

บรรณานุกรม

แก้

อ่านเพิ่ม

แก้
  • Bolton, Lissant (2003). Unfolding the Moon: Enacting Women's Kastom in Vanuatu. UP Hawaii. ISBN 978-0-8248-2535-5.
  • Bonnemaison, Joël; Huffman, Kirk; Tryon, Darrell; Kaufmann, Christian, บ.ก. (1998). Arts of Vanuatu. UP Hawaii. ISBN 978-0-8248-1956-9.
  • Bowdey, Bob; Beaty, Judy; Ansell, Brian (1995). Diving and Snorkelling Guide to Vanuatu. Lonely Planet. ISBN 978-1-55992-080-3.
  • Bregulla, Heinrich L. (1992). Birds of Vanuatu. Nelson. ISBN 978-0-904614-34-3.
  • Doughty, Chris; Day, Nicolas; Plant, Andrew (1999). The Birds of the Solomons, Vanuatu and New Caledonia. Helm. ISBN 978-0-7136-4690-0.
  • Ellis, Amanda; Manuel, Clare; Cutura, Jozefina; Bowman, Chakriya (2009). Women in Vanuatu: Analyzing Challenges to Economic Participation. World Bank Group. ISBN 978-0-8213-7909-7.
  • Eriksen, Annelin (2007). Gender, Christianity and Change in Vanuatu: An Analysis of Social Movements in North Ambrym. Anthropology and Cultural History in Asia and the Indo-Pacific. Routledge. ISBN 978-0-7546-7209-8.
  • Harewood, Jocelyn (23 พฤศจิกายน 2020). Vanuatu Adventures: Kava and Chaos in the Sth Pacific. ISBN 978-0-9874293-6-0.
  • Jolly, Margaret (1993). Women of the Place: Kastom, Colonialism and Gender in Vanuatu. Studies in anthropology and history. Vol. 12. Harwood Academic. ISBN 978-3-7186-5453-6.
  • Mescam, Genevieve (1989). Pentecost: An island in Vanuatu. (Photographer) Coulombier, Denis. U South Pacific. ISBN 978-982-02-0052-4.
  • Rio, Knut Mikjel (2007). Power of Perspective: Social Ontology and Agency on Ambrym Island, Vanuatu. Berghahn. ISBN 978-1-84545-293-3.
  • Rodman, Margaret; Kraemer, Daniela; Bolton, Lissant; Tarisesei, Jean, บ.ก. (2007). House-girls Remember: Domestic Workers in Vanuatu. UP Hawaii. ISBN 978-0-8248-3012-0.
  • Siméoni, Patricia (2009). Atlas du Vanouatou (Vanuatu) (ภาษาฝรั่งเศส). Port-Vila: Géo-consulte. ISBN 978-2-9533362-0-7.
  • Speiser, Felix (1991). Ethnology of Vanuatu: An Early Twentieth Century Study. Crawford House. ISBN 978-1-86333-021-3.
  • Taylor, John Patrick (2008). The Other Side: Ways of Being and Place in Vanuatu. Pacific Islands Monograph. UP Hawaii. ISBN 978-0-8248-3302-2.
  • Troost, J. Maarten (2006). Getting Stoned with Savages: A Trip Through the Islands of Fiji and Vanuatu. Broadway. ISBN 978-0-7679-2199-2.
  • Williamson, Rick (2004). Cavorting With Cannibals: An Exploration of Vanuatu. Narrative. ISBN 978-1-58976-236-7.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้