อำนาจอธิปไตย
อำนาจอธิปไตย (sovereignty) หรืออำนาจใดที่ก่อร่างรัฐชาติ โดยทั่วไปถือเป็นอำนาจสูงสุด[1] อำนาจอธิปไตยนำมาซึ่งลำดับขั้นในรัฐ รวมถึงภาวะอิสระในการปกครองตนเองนอกรัฐ (external autonomy)[2] ในรัฐ อำนาจอธิปไตยถูกมอบหมายให้แก่บุคคล กลุ่มบุคคล หรือสถาบันที่มีอำนาจสมบูรณ์เหนือบุคคลอื่น เพื่อตรากฎหมายหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่มีอยู่เดิม[3] ในทฤษฎีทางการเมือง อำนาจอธิปไตยเป็นคำสามัญบ่งชี้อำนาจหน้าที่ซึ่งมีความชอบธรรมสูงสุดเหนือองค์การทางการเมือง[4] ในกฎหมายระหว่างประเทศ อำนาจอธิปไตยเป็นการใช้อำนาจโดยรัฐ อำนาจอธิปไตยหมายถึงสิทธิทางกฎหมายที่ให้กระทำได้โดยนิตินัย ขณะที่โดยพฤตินัยนั้น หมายถึงขีดความสามารถที่กระทำได้อย่างแท้จริง
มโนทัศน์
แก้มโนทัศน์ของอำนาจอธิปไตยมีหลายองค์ประกอบที่ทับซ้อนกัน มีคำนิยามหลายคำ และมีการนำมาปรับใช้ที่หลากหลายและไม่ลงรอยกันตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา[5][6][7][8] ความเชื่อเรื่องรัฐเอกราชในปัจจุบันประกอบด้วย 4 มิติ: ดินแดน, ประชากร, องค์การของรัฐ (authority) และการรับรอง (recognition)[7] อ้างถึง สตีเฟน ดี. คราสเนอร์ อำนาจอธิปไตยสามารถเข้าใจได้โดย 4 วิธี:
- อำนาจอธิปไตยภายใน (Domestic sovereignty) – การควบคุมที่แท้จริงเหนือรัฐโดยองค์การของรัฐที่ถูกจัดแจงภายในรัฐ
- อำนาจอธิปไตยพึ่งพาระหว่างรัฐ (Interdependence sovereignty) – การควบคุมการเคลื่อนตัว (movement) เหนือชายแดนรัฐ
- อำนาจอธิปไตยทางกฎหมายระหว่างประเทศ (International legal sovereignty) – การรับรองรัฐโดยรัฐเอกราชอื่นอย่างเป็นทางการ
- อำนาจอธิปไตยแบบเว็สท์ฟาเลิน – ไม่มีอำนาจอธิปไตยอื่นใดนอกจากอำนาจอธิปไตยภายในรัฐนั้น (อำนาจอื่น ๆ อาจเป็นองค์การทางการเมืองหรือตัวแสดงภายนอกอื่น)[5]
ทั้งนี้ ยังมีอีกสององค์ประกอบของอำนาจอธิปไตยที่ควรกล่าวถึงคือ อำนาจอธิปไตยเชิงประจักษ์ (empiriacal sovereignty) และ อำนาจอธิปไตยเชิงกฎหมาย (juridical sovereignty)[9] อำนาจอธิปไตยเชิงประจักษ์จะบรรยายการจัดการกับความชอบธรรมของผู้ปกครองรัฐ และความชอบธรรมในการใช้อำนาจนั้น[9] เดวิด ซามูเอล ชี้ว่าเป็นมิติที่สำคัญของรัฐ เพราะจะต้องมีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ได้รับเลือกให้กระทำแทนพลเมืองของรัฐ[10] ขณะที่อำนาจอธิปไตยเชิงกฎหมายเน้นไปที่ความสำคัญของรัฐอื่นในการรับรองสิทธิการปกครองและใช้อำนาจอย่างเสรีของรัฐโดยให้มีการแทรกแซงอย่างน้อยที่สุด[9] Douglass North ระบุว่าสถาบันต้องมีโครงสร้าง และรูปแบบของอำนาจอธิปไตยทั้งสองนี้อาจใช้เป็นวิธีในการก่อร่างโครงสร้างขึ้น[11]
การได้มา
แก้วิธีการได้มาซึ่งอำนาจอธิปไตยหลายวิธีได้รับการยอมรับในกฎหมายระหว่างประเทศทั้งในปัจจุบันและในประวัติศาสตร์ว่าเป็นวิธีโดยชอบด้วยกฎหมายผ่านการได้มาของดินแดนนอกรัฐ การจัดแบ่งประเภทของวิธีเหล่านี้ แต่เดิมมาจากกฎหมายลักษณะทรัพย์สินโรมันและการพัฒนาขึ้นของระบบกฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่:[12]
- การได้ดินแดนตามข้อตกลง (cession) คือการโอนดินแดนจากรัฐหนึ่งไปอีกรัฐหนึ่งโดยสนธิสัญญา
- การยึดครอง (occupation) คือการได้มาซึ่งดินแดนที่รัฐใดไม่ได้ครอบครองอยู่ (หรือดินแดนที่ไม่มีเจ้าของ)
- การครอบครองปรปักษ์ (prescription) เป็นการควบคุมดินแดนโดยมีผลบังคับเหนือดินแดนที่ยอมโอนอ่อนตาม
- ที่งอก (accretion) คือการได้มาซึ่งดินแดนด้วยกระบวนการทางธรรมชาติ เช่น ที่งอกชายฝั่งหรือการปะทุของแม็กมาสู่พื้นผิวโลก (volcanism)
- การสร้าง (creation) เป็นกระบวนการที่อ้างสิทธิในดินแดนใหม่ทางทะเล
- การชี้ขาดตัดสิน และ
- การพิชิตดินแดน
อวกาศ (รวมถึงวงโคจรของโลก, ของดวงจันทร์ และเทห์ฟากฟ้าอื่น ๆ และวงโคจรของมัน) | |||||||
น่านฟ้าระดับชาติ | น่านฟ้าทะเลอาณาเขต | น่านฟ้าเขตต่อเนื่อง[ต้องการอ้างอิง] | น่านฟ้าสากล | ||||
พื้นผิวอาณาเขตทางบก | พื้นผิวน่านน้ำภายใน | พื้นผิวทะเลอาณาเขต | พื้นผิวเขตต่อเนื่อง | พื้นผิวเขตเศรษฐกิจจำเพาะ | พื้นผิวน่านน้ำสากล | ||
น่านน้ำภายใน | น่านน้ำอาณาเขต | เขตเศรษฐกิจจำเฉพาะ | น่านน้ำสากล | ||||
ดินแดนทางบกใต้ดิน | พื้นผิวไหล่ทวีป | พื้นผิวไหล่ทวีปส่วนต่อขยาย | พื้นผิวพื้นดินท้องทะเลระหว่างประเทศ | ||||
ไหล่ทวีปใต้ดิน | พื้นผิวไหล่ทวีปส่วนต่อขยายใต้ดิน | พื้นดินท้องทะเลระหว่างประเทศใต้ดิน | |||||
การให้เหตุผล
แก้มีการให้เหตุผลที่หลากหลายผ่านมุมมองที่แตกต่างซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานทางศีลธรรมของอำนาจอธิปไตย การให้เหตุผลเรื่องอำนาจอธิปไตยถูกแบ่งออกเป็นสองขั้ว: องค์อธิปัตย์ได้รับมอบอำนาจอธิปไตยโดยเทวสิทธิราชย์หรือสิทธิธรรมชาติ และอำนาจอธิปไตยนั้นเป็นของปวงชนแต่เดิม ซึ่งโทมัส ฮอบส์ กล่าวว่าปวงชนมอบอำนาจอธิปไตยของตนให้แก่องค์อธิปัตย์ ขณะที่ฌ็อง-ฌัก รูโซ ระบุว่าอำนาจอธิปไตยนั้นเป็นของปวงชนและสงวนรักษาอำนาจนั้นไว้[13]
ในช่วงหนึ่งของยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของยุโรป หลักเทวสิทธิราชย์เป็นหนึ่งในการอ้างสิทธิในการใช้อำนาจอธิปไตยที่สำคัญ ขณะที่อาณัติแห่งสวรรค์ในประเทศจีนถูกใช้เป็นเครื่องมือในการให้เหตุผลการปกครองโดยจักรพรรดิ แม้ต่อมาจะแทนที่โดยแนวคิดอำนาจอธิปไตยแบบตะวันตกในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19[14]
สาธารณรัฐเป็นรูปแบบรัฐบาลหนึ่งที่ประชาชน หรือส่วนหนึ่งที่สำคัญของพวกเขา สงวนไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยเหนือรัฐบาล และตำแหน่งในรัฐบาลไม่ได้มาโดยมรดกตกทอด[15][16] คำนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปของคำว่าสาธารณรัฐคือ รัฐบาลที่ไม่มีกษัตริย์เป็นประมุขของรัฐ[17][18]
ประชาธิปไตยตั้งอยู่บนมโนทัศน์ของอำนาจอธิปไตยของปวงชน (popular sovereignty) ในประชาธิปไตยโดยตรง ประชาชนมีบทบาทในการออกนโยบายสาธารณะ ขณะที่ประชาธิปไตยมีผู้แทนทำให้มีการโอนถ่ายการใช้อำนาจอธิปไตยจากประชาชนสู่ฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหาร
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Philpott, Daniel (1995). "Sovereignty: An Introduction and Brief History". Journal of International Affairs. 48 (2): 353–368. ISSN 0022-197X. JSTOR 24357595.
- ↑ Spruyt, Hendrik (1994). The Sovereign State and Its Competitors: An Analysis of Systems Change. Vol. 176. Princeton University Press. pp. 3–7. doi:10.2307/j.ctvzxx91t. ISBN 978-0-691-03356-3. JSTOR j.ctvzxx91t. S2CID 221904936.
- ↑ "Sovereignty". A Dictionary of Law. Oxford University Press. 21 June 2018. ISBN 978-0-19-880252-5.
- ↑ "sovereignty (politics)". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 5 August 2010.
- ↑ 5.0 5.1 Krasner, Professor Stephen D. (2001). Problematic Sovereignty: Contested Rules and Political Possibilities. Columbia University Press. pp. 6–12. ISBN 9780231121798.
- ↑ Korff, Baron S. A. (1923). "The Problem of Sovereignty". American Political Science Review (ภาษาอังกฤษ). 17 (3): 404–414. doi:10.2307/1944043. ISSN 0003-0554. JSTOR 1944043. S2CID 147037039.
- ↑ 7.0 7.1 Biersteker, Thomas; Weber, Cynthia (1996). State Sovereignty as Social Construct. Cambridge University Press. ISBN 9780521565998.
- ↑ Biersteker, Thomas J., บ.ก. (2013). "State, sovereignty, and territory". Handbook of international relations. Sage. pp. 245–272.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 Barnett, Michael (1995). "The New United Nations Politics of Peace: From Juridical Sovereignty to Empirical Sovereignty". Global Governance. 1 (1): 79–97. doi:10.1163/19426720-001-01-90000007. ISSN 1075-2846. JSTOR 27800102.
- ↑ Samuels, David. Comparative Politics. pp. 33–42.
- ↑ North, Douglass (1990). Institutions, Institutional Change and Economic Performance. Cambridge University Press. pp. 3–10. ISBN 9780521397346.
- ↑ Malanczuk, Peter (1997). Akehurst's Modern Introduction to International Law. International politics/Public international law. Routledge. pp. 147–152. ISBN 9780415111201.
- ↑ Tuck, Richard (2016). The Sleeping Sovereign: The Invention of Modern Democracy. Cambridge University Press. p. 100. ISBN 9781316425503
- ↑ Mitchell, Ryan Martínez (2022). Recentering the World: China and the Transformation of International Law. Cambridge University Press. pp. 32, 52, 63. ISBN 9781108690157
- ↑ "Republic". Encyclopædia Britannica.
- ↑ Montesquieu, The Spirit of the Laws (1748), Bk. II, ch. 1.
- ↑ "republic". WordNet 3.0. สืบค้นเมื่อ 20 March 2009.
- ↑ "Republic". Merriam-Webster. สืบค้นเมื่อ 14 August 2010.
หนังสืออ่านเพิ่ม
แก้- Benton, Lauren (2010). A Search for Sovereignty: Law and Geography in European Empires, 1400–1900. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-88105-0.
- Grimm, Dieter (2015). Howard, Dick (บ.ก.). Sovereignty: The Origin and Future of a Political and Legal Concept. Columbia Studies in Political Thought / Political History. แปลโดย Cooper, Belinda (e-book ed.). Columbia University Press. ISBN 9780231539302.
- Paris, R. (2020). "The Right to Dominate: How Old Ideas About Sovereignty Pose New Challenges for World Order." International Organization
- Philpott, Dan (2016). "Sovereignty". Stanford Encyclopedia of Philosophy. Metaphysics Research Lab, Stanford University.
- Prokhovnik, Raia (2007). Sovereignties: contemporary theory and practice. Houndmills, Basingstoke, Hampshire New York, N.Y: Palgrave Macmillan. ISBN 9781403913234.
- Prokhovnik, Raia (2008). Sovereignty: history and theory. Exeter, UK Charlottesville, VA: Imprint Academic. ISBN 9781845401412.
- Thomson, Janice E. (1996). Mercenaries, pirates, and sovereigns: state-building and extraterritorial violence in early modern Europe. Princeton University Press. ISBN 978-0-691-02571-1.