สมเด็จพระราชาธิบดีฮะซันที่ 2 แห่งโมร็อกโก

สมเด็จพระราชาธิบดีฮะซันที่ 2 แห่งโมร็อกโก (อาหรับ: الحسن الثاني) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศโมร็อกโก ครองราชย์ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 จนกระทั่งเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2542 เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีมุฮัมมัดที่ 5 แห่งโมร็อกโก และเสด็จขึ้นครองราชย์ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 หลังการเสด็จสวรรคตของพระราชบิดา พระองค์ทรงถูกกล่าวหาในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน และทรงเป็นผู้เผด็จการพระองค์หนึ่งในโลกอาหรับ[1] โดยในรัชสมัยของพระองค์ถูกเรียกว่า ปีแห่งตะกั่ว[2][3] อย่างไรก็ดี พระองค์ถูกยกย่องว่าทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถเป็นอย่างมากในท่ามกลางความวุ่นวายทางการเมืองในภูมิภาคโลกอาหรับ และทรงประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นประโยชน์ต่อชาวโมร็อกโกเป็นจำนวนมาก[4][5]

สมเด็จพระราชาธิบดีฮะซันที่ 2
อามีร์ อัล-มูมินิน
230px
สมเด็จพระราชาธิบดีฮะซันที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2504
พระมหากษัตริย์แห่งโมร็อกโก
ครองราชย์26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
ก่อนหน้าสมเด็จพระราชาธิบดีมุฮัมมัดที่ 5 แห่งโมร็อกโก
ถัดไปสมเด็จพระราชาธิบดีมุฮัมมัดที่ 6 แห่งโมร็อกโก
พระราชสมภพ9 กรกฎาคม พ.ศ. 2472
ราบัต, โมร็อกโก
สวรรคต23 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 (70 ปี)
ราบัต, ประเทศโมร็อกโก
คู่อภิเษกเจ้าหญิงลัลลา ฟาติมาฮ์
เจ้าหญิงลัลลา ลาติฟะฮ์
พระราชบุตร
ราชวงศ์ราชวงศ์อเลาอัว
พระราชบิดาสมเด็จพระราชาธิบดีมุฮัมมัดที่ 5 แห่งโมร็อกโก
พระราชมารดาเจ้าหญิงลัลลา อับลา บินต์ ทาฮาร์
ศาสนาศาสนาอิสลามนิกายซุนนี

พระองค์ทรงมีบทบาทอย่างมากในการอ้างสิทธิ์ดินแดนเวสเทิร์นสะฮาราในฐานะส่วนหนึ่งของประเทศโมร็อกโก[6] และทรงมีบทบาทในความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล[7] ทั้งนี้ พระองค์เคยเกือบถูกลอบปลงพระชนม์ใน พ.ศ. 2515 ขณะทรงประทับบนเครื่องบินพระที่นั่ง แต่ก็ทรงรอดพระชนม์ชีพมาได้[8][9]

ในรัชสมัยของพระองค์เศรษฐกิจได้ดำเนินนโยบายแบบเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้อุตสาหกรรมการเกษตร การท่องเที่ยว และการทำเหมืองแร่มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก ในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2516 พระองค์ทรงประกาศนโยบายโมร็อกกาไนเซชัน ซึ่งทรัพย์สินของรัฐ ที่ดินทำการเกษตร และธุรกิจจากต่างชาติมากกว่าร้อยละ 50 ถูกโอนไปเป็นของชาวโมร็อกโกและคนชนชั้นสูง[10][11] แม้ว่าอุตสาหกรรมที่ชาวโมร็อกโกเป็นเจ้าของจะเติบโตจาก 18 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มขึ้นมาเป็น 50 เปอร์เซนต์[10] อย่างไรก็ดี ความมั่งคั่งกระจุกอยู่ที่ 36 ตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศเท่านั้น[10]

หลังการเสด็จสวรรคต สมเด็จพระราชาธิบดีมุฮัมมัดที่ 6 แห่งโมร็อกโกซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อไป[12]

พระชนม์ชีพช่วงต้นและการศึกษา

แก้

สมเด็จพระราชาธิบดีฮะซันที่ 2 แห่งโมร็อกโก เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2472 เป็นพระโอรสของ สมเด็จพระราชาธิบดีโมฮัมเหม็ดที่ 5 แห่งโมร็อกโก และ เจ้าหญิงลัลลา อับลา บินต์ ทาฮาร์ ประสูติที่เมืองราบัต ประเทศโมร็อกโก พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบอร์กโดซ์

เสด็จขึ้นครองราชย์

แก้

สมเด็จพระราชาธิบดีฮะซันที่ 2 แห่งโมร็อกโก เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรโมร็อกโกต่อจากสมเด็จพระราชาธิบดีมุฮัมมัดที่ 5 แห่งโมร็อกโก เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 หลังจากสมเด็จพระราชาธิบดีมุฮัมหมัดที่ 5 แห่งโมร็อกโกได้สวรรคตแล้ว

อภิเษกสมรส

แก้

สมเด็จพระราชาธิบดีฮะซันที่ 2 แห่งโมร็อกโก ได้อภิเษกสมรส 2 พระองค์ คือ

สวรรคต

แก้

สมเด็จพระราชาธิบดีฮะซันที่ 2 แห่งโมร็อกโก เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 ที่เมืองบารัต ประเทศโมร็อกโก สมเด็จพระราชาธิบดีมุฮัมมัดที่ 6 แห่งโมร็อกโก พระโอรสของพระองค์ จึงขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรโมร็อกโกต่อจากพระองค์ต่อไป

อ้างอิง

แก้
  1. Gleijeses, Piero (1996). "Cuba's First Venture in Africa: Algeria, 1961–1965". Journal of Latin American Studies. 28 (1): 159–195. doi:10.1017/s0022216x00012670. JSTOR 157991.
  2. Hamilton, Richard (13 January 2007). "Laughter, freedom and religion in Morocco". BBC. สืบค้นเมื่อ 4 May 2010.
  3. George Joffé. "Morocco". Britannica. สืบค้นเมื่อ 19 October 2010.
  4. King Hassan II
  5. Miller, Susan Gilson. (2013). A History of Modern Morocco. New York: Cambridge University Press. pp. xvii. ISBN 9781139624695. OCLC 855022840.
  6. Morocco fetes 40th anniversary of Green March into Western Sahara
  7. Miller, Susan Gilson (2013). A history of modern Morocco. New York: Cambridge University Press. ISBN 978-1-139-62469-5. OCLC 855022840.
  8. Miller (2013). A History of Modern Morocco. p. 177.
  9. "Jets attack Moroccan King's plane", The Guardian, 17 August 1972
  10. 10.0 10.1 10.2 Miller (2013). A History of Modern Morocco. p. 184.
  11. "Marocanisation : Un système et des échecs". Aujourd'hui le Maroc (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 2019-07-17.
  12. "World: Africa Mohammed VI takes Moroccan throne". BBC News. 24 July 1999. สืบค้นเมื่อ 18 February 2010.
ก่อนหน้า สมเด็จพระราชาธิบดีฮะซันที่ 2 แห่งโมร็อกโก ถัดไป
สมเด็จพระราชาธิบดีโมฮัมเหม็ดที่ 5 แห่งโมร็อกโก    
พระมหากษัตริย์โมร็อกโก
(ค.ศ. 1961ค.ศ. 1999)
  สมเด็จพระราชาธิบดีโมฮัมเหม็ดที่ 6 แห่งโมร็อกโก