ชะรีอะฮ์

(เปลี่ยนทางจาก กฎหมายอิสลาม)

ชะรีอะฮ์ (อาหรับ: شريعة; อังกฤษ: Sharia/Shari'ah) แปลว่า "ทาง" หรือ "ทางไปสู่แหล่งน้ำ" ใช้หมายถึงประมวลข้อปฏิบัติต่าง ๆ ของกฎหมายศาสนาของศาสนาอิสลาม ที่ครอบคลุมวิถีการดำเนินชีวิตของบุคคลและสาธารณชนที่มีพื้นฐานมาจากหลักนิติศาสตร์ (jurisprudence) ของศาสนาอิสลามสำหรับชาวมุสลิมใช้

กฎหมายชะรีอะฮ์ครอบคลุมด้านต่าง ๆ ของชีวิตประจำวันที่รวมทั้งการปกครอง เศรษฐกิจ การบริหารธุรกิจ การธนาคาร ระบบการทำสัญญา ความสัมพันธ์ในครอบครัว หลักของความสัมพันธ์ทางเพศ หลักการอนามัย และปัญหาของสังคม

กฎหมายชะรีอะฮ์ในปัจจุบันเป็นกฎหมายศาสนาที่ใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุดและเป็นกฎหมายที่ปรากฏบ่อยที่สุดของระบบกฎหมายของโลกพอ ๆ กับคอมมอนลอว์ และซีวิลลอว์[1] ในระหว่างยุคทองของอิสลาม กฎหมายอิสลามอาจถือว่ามีอิทธิพลต่อการวิวัฒนาการของคอมมอนลอว์[2] ซึ่งก็ทำให้มีอิทธิพลต่อการวิวัฒนาการของคอมมอนลอว์ระดับสถาบันต่าง ๆ[3]

แนวปฏิบัติเกี่ยวกับอิสลามแบบคลาสสิกบางอย่างรวมถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงในด้านต่างๆ เช่น ความเท่าเทียมทางเพศและเสรีภาพในการแสดงออก[4][5]

ทุกวันนี้ สถานการณ์ของผู้หญิงที่ถูกจับในสงครามเป็นประเด็นสำคัญในแง่ของสิทธิมนุษยชน ตามการตีความแบบดั้งเดิมของอัลกุรอาน ผู้หญิงเหล่านี้ถือเป็นสินค้าที่จับได้ (การปล้นสะดมจากสงคราม). ไม่ว่าผู้หญิงเหล่านี้จะแต่งงานแล้วหรือไม่ก็ตาม และเช่นเดียวกับผู้หญิงที่เป็นทาสคนอื่น ๆ ที่ได้มา ผู้ถือสิทธิ์ (นักรบหรือผู้ซื้อพวกเขา) สามารถปฏิบัติทางเพศบนร่างกายของพวกเขาโดยไม่ได้รับความยินยอมจากพวกเขา (23:5-7)(ดู:อาชญากรรมสงคราม)

ตำรวจศาสนาของกลุ่มตอลิบานทุบตีผู้หญิงคนหนึ่งในกรุงคาบูลเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2544 ตามรายงานของ RAWA ฐานเปิดบุรกา (ใบหน้า) ของเธอ

อ้างอิง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้