ภาษาศาสตร์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ภาษาศาสตร์ (อังกฤษ: linguistics) คือ การศึกษาเกี่ยวกับภาษาโดยใช้แนวคิด ทฤษฎีและวิธีการวิจัยที่เป็นวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติหรือระบบของภาษามนุษย์ ผู้ที่ศึกษาในด้านนี้เรียกว่า นักภาษาศาสตร์[1][2]
ประเภทของการศึกษาภาษาศาสตร์
แก้การศึกษาด้านภาษาศาสตร์สามารถแบ่งออกได้หลายมุมมอง ได้แก่
- ภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์ (Dichotomies and language) แบ่งได้เป็น
- การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์เน้นเฉพาะยุคสมัย (synchronic study) เป็นการศึกษาคุณสมบัติทางภาษาศาสตร์ (linguistic feature) ของภาษาในช่วงยุคสมัยต่าง ๆ
- ภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์เปรียบเทียบ (diachronic study) เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ของภาษาและกลุ่มของภาษา และความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่เกิดขึ้นในยุคต่าง ๆ
- ภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎีและเชิงประยุกต์
- ภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎี (หรือภาษาศาสตร์ทั่วไป) จะเป็นการกำหนดอรรถาธิบายให้กับภาษาแต่ละภาษา และกำหนดทฤษฎีเกี่ยวกับมุมมองต่าง ๆ ของภาษาให้ครอบคลุม
- ภาษาศาสตร์เชิงประยุกต์จะเป็นการประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางภาษาศาสตร์ต่าง ๆ กับงานด้านอื่น ๆ
- ภาษาศาสตร์แบบพึ่งพาบริบทและแบบไม่พึ่งพาบริบท (Contextual and Independent Linguistics)
- ภาษาศาสตร์แบบพึ่งพาบริบท เป็นการสร้างอรรถาธิบายเกี่ยวกับการใช้ภาษาโดยมนุษย์ เช่น หน้าที่เชิงสังคมในภาษา วิธีการใช้งานภาษา และวิธีการสร้างและรับรู้ภาษาของมนุษย์
- ภาษาศาสตร์แบบไม่พึ่งพาบริบท เป็นการศึกษาที่ตัวภาษาเอง โดยไม่พิจารณาปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- อย่างไรก็ตามคำทั้งสองนี้ยังไม่มีการแบ่งแยกอย่างชัดเจน ในหนังสือ สารานุกรมบริทานิกา (Encyclopædia Britannica) จึงใช้คำว่า ภาษาศาสตร์มหภาค (macrolinguistics) และภาษาศาสตร์จุลภาค (microlinguistics) แทน
จากมุมมองต่าง ๆ เหล่านี้ นักภาษาศาสตร์ หรือนักภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎี โดยทั่วไป มักจะศึกษาภาษาศาสตร์แบบไม่พึ่งพาบริบท ในเชิงทฤษฎี เฉพาะยุคสมัย (independent theoretical synchronic linguistics) ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าเป็นแก่นของวิชาภาษาศาสตร์
ผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ ได้ตั้งประเด็นคำถามและทำวิจัยทางด้านภาษาศาสตร์ไว้อย่างกว้างขวาง ซึ่งบางประเด็นก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้ ดังที่ รัส ไรเมอร์ (Russ Rymer) ได้กล่าวเอาไว้อย่างละเอียดว่า
"ภาษาศาสตร์เป็นทรัพย์สินที่มีการโต้เถียงกันอย่างเผ็ดร้อนที่สุดโดยหาจุดยุติไม่ได้ในวงการวิชาการ ภาษาศาสตร์โชกชุ่มไปด้วยหยาดโลหิตของนักกวี นักศาสนวิทยา นักปรัชญา นักภาษาโบราณ นักจิตวิทยา นักชีววิทยา และนักประสาทวิทยา รวมทั้งเลือดของนักไวยากรณ์เท่าที่จะสามารถเอาออกมาได้"
(Linguistics is arguably the most hotly contested property in the academic realm. It is soaked with the blood of poets, theologians, philosophers, philologists, psychologists, biologists, and neurologists, along with whatever blood can be got out of grammarians.) 1
แขนงวิชาของภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎี
แก้บ่อยครั้ง ภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎีสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายแขนง บางแขนงสามารถศึกษาได้โดยอิสระ บางแขนงก็ต้องศึกษาควบคู่กับแขนงอื่น อย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า ภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎีสามารถแบ่งออกเป็นแขนงต่าง ๆ ได้ดังนี้
- สัทศาสตร์ (Phonetics) เป็นการศึกษาเสียงต่าง ๆ ซึ่งใช้ร่วมกันในภาษามนุษย์ทุกภาษา
- สัทวิทยา (Phonology) เป็นการศึกษารูปแบบเสียงพื้นฐานของภาษา
- วิทยาหน่วยคำ (Morphology linguistics) เป็นการศึกษาโครงสร้างภายในของคำและการเปลี่ยนรูปของคำ
- วากยสัมพันธ์ (Syntax) เป็นการศึกษาการประกอบคำขึ้นเป็นประโยคที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
- อรรถศาสตร์ (Semantics) เป็นการศึกษาความหมายของคำ (lexical semantics) และวิธีการประกอบคำขึ้นเป็นประโยคเพื่อสื่อความหมาย
- วัจนปฏิบัติศาสตร์ (Pragmatics) เป็นการศึกษาวิธีการใช้ถ้อยความ (utterance) เพื่อสื่อความหมายในการสื่อสาร เช่น แบบตรงตัว (literal pragma) แบบอุปมาอุปไมย (figurative pragma) ฯลฯ
- ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ (Historical linguistics) เป็นการศึกษาภาษาต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กันในเชิงประวัติศาสตร์ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากความใกล้เคียงของคำศัพท์ การสร้างคำ และวากยสัมพันธ์
- แบบลักษณ์ภาษา (Linguistic typology) เป็นการศึกษาคุณสมบัติทางไวยากรณ์ที่ใช้อยู่ในภาษาต่าง ๆ
- วัจนลีลาศาสตร์ (Stylistics linguistics) เป็นการศึกษาลีลาในการใช้ภาษา
อย่างไรก็ตาม ความสำคัญเฉพาะของแขนงต่าง ๆ ก็ยังไม่เป็นที่ทราบโดยทั่วกัน และนักภาษาศาสตร์ทุกท่านก็เห็นพ้องกันว่า การแบ่งแขนงแบบดังกล่าวยังคงมีขอบเขตซ้อนทับกันอยู่มาก ถึงกระนั้น แขนงย่อยก็ยังคงมีคอนเซ็ปต์แก่นซึ่งสนับสนุนการตั้งประเด็นปัญหาและการวิจัยของผู้ชำนาญการได้เป็นอย่างดี
ภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์เปรียบเทียบ (Diachronic linguistics)
แก้ในขณะที่แก่นของภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการศึกษาภาษาเฉพาะห้วงเวลาหนี่ง ๆ (ซึ่งส่วนมากจะเป็นช่วงเวลาปัจจุบัน) ภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์เปรียบเทียบ จะเน้นไปที่การศึกษาความเปลี่ยนแปลงของภาษาตามการเปลี่ยนแปลงของเวลา ในบางครั้งอาจจะใช้เวลานับร้อยปี ภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์จะต้องใช้ทั้งการศึกษาด้านประวัติศาสตร์อันยาวนาน (ซึ่งการศึกษาภาษาศาสตร์ก็ได้เติบโตมาจากภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์นั่นเอง) และพื้นฐานด้านทฤษฎีที่เข้มแข็ง เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของภาษา
ในมหาวิทยาลัยของอเมริกาหลายแห่ง มุมมองที่ไม่ขึ้นกับประวัติศาสตร์ (non-historic perspective) จะมีอิทธิพลมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น ในห้องเรียนภาษาศาสตร์เบื้องต้นหลายแห่งจะครอบคลุมภาษาศาสตร์เชิงประวัติเฉพาะช่วงเวลาปัจจุบันเท่านั้น การหันเหความสนใจไปยังมุมมองที่ไม่ขึ้นกับประวัติศาสตร์เริ่มต้นจาก แฟร์ดินองด์ เดอ โซซูร์ (Ferdinand de Saussure) และเริ่มมีอิทธิพลมากกว่าโดย โนม ช็อมสกี
มุมมองที่ขึ้นกับประวัติศาสตร์อย่างเด่นชัด ได้แก่ ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบเชิงประวัติ และ ศัพทมูลวิทยา - ศาสตร์ที่ว่าด้วยการกำเนิดและการพัฒนาของคำ)
ภาษาศาสตร์เชิงประยุกต์ (Applied linguistics)
แก้ในขณะที่ภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการหาอรรถาธิบายคุณสมบัติสากล ทั้งภายในเฉพาะภาษาหนึ่ง ๆ หรือทุกภาษา ภาษาศาสตร์เชิงประยุกต์จะนำอรรถาธิบายเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้กับศาสตร์ด้านอื่น ๆ บ่อยครั้งทีเดียวที่ภาษาศาสตร์เชิงประยุกต์จะอ้างถึงงานวิจัยทางภาษาศาสตร์ในการสอนภาษา แต่ถึงกระนั้น ผลจากงานวิจัยด้านภาษาศาสตร์ก็ยังใช้ในศาสตร์ด้านอื่น ๆ อีกเช่นเดียวกัน
ทุกวันนี้ แขนงวิชาต่าง ๆ ของภาษาศาสตร์เชิงประยุกต์จะเกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้กับคอมพิวเตอร์อย่างชัดเจน ในการสังเคราะห์เสียง (en:Speech synthesis) และการรู้จำเสียง (en:Speech recognition) มีการนำเอาความรู้ด้านสัทศาสตร์และพยางค์ (phonetic and en:phonemic knowledge) มาใช้เพื่อสร้างส่วนติดต่อคอมพิวเตอร์ด้วยเสียง การประยุกต์ใช้งานภาษาศาสตร์เชิงคำนวณในการแปลภาษาด้วยเครื่อง (en:Machine translation) การแปลภาษาแบบเครื่องช่วย (en:Computer-assisted translation) และการประมวลผลภาษาธรรมชาตินั้น จัดเป็นแขนงวิชาที่เป็นประโยชน์อย่างมากของภาษาศาสตร์เชิงประยุกต์ ซึ่งเริ่มเข้ามามีบทบาทในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตามสมรรถนะการคำนวณของคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มสูงขึ้น อิทธิพลของภาษาศาสตร์เชิงคำนวณได้ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมากต่อทฤษฎีของวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์ เนื่องด้วยการออกแบบทฤษฎีทางวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์บนคอมพิวเตอร์ จะจำกัดประสิทธิภาพของทฤษฎีเหล่านั้นด้วยโอเปอเรชั่นที่คำนวณได้ (computable) และทำให้เกิดทฤษฎีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่แม่นยำ (ข้อมูลเพิ่มเติมในหัวข้อ ทฤษฎีการคำนวณได้)
ภาษาศาสตร์แบบพึ่งพาบริบท (Contextual linguistics)
แก้ภาษาศาสตร์แบบพึ่งพาบริบทเป็นวงการซึ่งหลักภาษาศาสตร์เชื่อมโยงกับศาสตร์วิชาการด้านอื่น ๆ ในขณะที่ภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎีจะศึกษาภาษาโดยไม่คำนึงถึงปัจจัยอย่างอื่นภายนอกนั้น แขนงวิชาที่มีการผสมหลายหลักการของภาษาศาสตร์จะวิเคราะห์ภาษาว่ามีปฏิสัมพันธ์กับปัจจัยภายนอกอย่างไรบ้าง
ในภาษาศาสตร์สังคม (en:Sociolinguistics) ภาษาศาสตร์เชิงมานุษยวิทยา (en:Anthropological Linguistics) และมานุษยวิทยาเชิงภาษาศาสตร์ (en:Linguistics Anthropology) จะมีการวิเคราะห์สังคมโดยใช้หลักสังคมศาสตร์ควบคู่ไปกับหลักทางภาษาศาสตร์
ในปริจเฉทวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (en:Critical Discourse Analysis) จะมีการนำศิลปะการใช้ถ้อยคำ (en:Rhetoric) และปรัชญา มาประยุกต์รวมกับหลักภาษาศาสตร์
ในภาษาศาสตร์จิตวิทยา (en:Psycholinguistics) และภาษาศาสตร์เชิงประสาทวิทยา (en:Neurolinguistics) จะมีการนำหลักทางแพทยศาสตร์มาประยุกต์ใช้ร่วมกับหลักทางภาษาศาสตร์
นอกจากนี้ยังมีแขนงวิชาอื่น ๆ ที่มีการผสมหลักการทางภาษาศาสตร์เข้าไป เช่น การรู้ภาษา (en:Language Acquisition), ภาษาศาสตร์เชิงวิวัฒนาการ (en:Evolutionary linguistics), ภาษาศาสตร์แบบแบ่งเป็นชั้น (en:Stratificational Linguistics) และ ปริชานศาสตร์ (en:Cognitive science)
ผู้พูด, ชุมชนทางภาษา, และเอกภพทางภาษาศาสตร์
แก้นักภาษาศาสตร์นั้นจะแตกต่างกันออกไป ตามกลุ่มของผู้ใช้ภาษาที่นักภาษาศาสตร์เหล่านั้นศึกษา บางกลุ่มจะวิเคราะห์ภาษาเฉพาะบุคคล หรือ การพัฒนาภาษา ถ้าจะมองให้ละเอียดลงไป บางพวกก็ศึกษาภาษาที่ยังคงใช้กันอยู่ในชุมชนภาษา ขนาดใหญ่ เช่น ภาษาถิ่น ของกลุ่มคนที่พูดภาษาอังกฤษแอฟริกันอเมริกัน หรือที่เรียกว่า อีโบนิกส์ บางพวกก็พยายามจะค้นหาเอกภพทางภาษาศาสตร์ ซึ่งจะนำมาประยุกต์ใช้เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางภาษากับทุก ๆ ภาษามนุษย์ โครงการหลังสุดนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างโด่งดังโดยโนม ช็อมสกี และทำให้นักวิจัยด้านภาษาศาสตร์จิตวิทยา และศาสตร์การรับรู้ของมนุษย์ หันมาสนใจศาสตร์ด้านนี้มากขึ้น ได้มีการคิดกันว่า เอกภพของภาษามนุษย์นั้นอาจจะนำไปสู่การไขปริศนาของเอกภพเกี่ยวกับจิตใจมนุษย์ได้
ภาษาศาสตร์แบบกำหนดและภาษาศาสตร์แบบบรรยาย
แก้งานวิจัยทางภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่มักจะเป็นแบบบรรยายบริสุทธิ์ (purely descriptive) นั่นคือ นักภาษาศาสตร์จะหาหนทางเพื่อสร้างความกระจ่างในธรรมชาติของภาษา โดยไม่มีการกำหนดวิธีการล่วงหน้าหรือพยายามที่จะหาทิศทางของภาษาในอนาคต อย่างไรก็ตามมีทั้งนักภาษาศาสตร์มืออาชีพและมือสมัครเล่นที่กำหนดกฎเกณฑ์ล่วงหน้า (prescribe) ให้กับกฎของภาษา โดยจะมีมาตรฐานเฉพาะเพื่อให้ผู้อื่นได้ปฏิบัติตาม
นักกำหนดกฎเกณฑ์ (Prescriptivist) มักจะพบได้ในผู้สอนภาษาในระดับต่าง ๆ ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะมีกฎเกณฑ์ชัดเจนที่ตัดสินว่า อะไรถูก อะไรผิด และอาจทำหน้าที่รับผิดชอบการใช้ภาษาอย่างถูกต้องของคนในรุ่นถัดไป ส่วนมากภาษาที่ควบคุมมักจะเป็นภาษาที่ใกล้เคียงภาษามาตรฐาน (en:acrolect) ของภาษาหนึ่ง ๆ เหตุที่นักกำหนดกฎเกณฑ์เหล่านี้ไม่สามารถทนเห็นการใช้ภาษาผิด ๆ นั้น อาจจะเกิดจากความไม่ชอบในคำที่เกิดขึ้นใหม่ (en:neologism) ภาษาถิ่นที่สังคมไม่ยอมรับ (en:basilect) หรือความขัดแย้งเพียงเล็กน้อยกับทฤษฎีที่เข้มงวด นักกำหนดกฎเกณฑ์สุดโต่งอาจจะพบเห็นได้ในกลุ่มนักเซ็นเซอร์ ซึ่งเป้าหมายของคนกลุ่มนี้คือกำจัดคำและโครงสร้างไวยากรณ์ที่คิดว่าจะบ่อนทำลายสังคม
ในทางกลับกัน นักอธิบายกฎเกณฑ์ (Descriptivist) จะพยายามหารากเหง้าของการใช้ภาษาไม่ถูกต้อง นักอธิบายกฎเกณฑ์จะอธิบายการใช้ภาษาแบบดังกล่าวให้เป็นการใช้ภาษาเฉพาะแบบ (idiosyncratic usage) หรืออาจจะค้นพบกฎซึ่งอาจจะขัดกับนักกำหนดกฎเกณฑ์ ภาษาศาสตร์แบบบรรยาย (en:descriptive linguistics) ตามบริบทของงานภาคสนาม (en:fieldwork) จะหมายถึงการศึกษาภาษาโดยแนวทางของนักอธิบายกฎเกณฑ์ (มากกว่าที่จะเป็นแนวทางของนักกำหนดกฎเกณฑ์) วิธีการของนักอธิบายกฎเกณฑ์จะใกล้เคียงกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในสายวิชาการอื่น ๆ มากกว่าวิธีการของกำหนดกฎเกณฑ์
ภาษาพูดและภาษาเขียน
แก้นักภาษาศาสตร์ร่วมสมัยส่วนใหญ่มักจะทำวิจัยภายใต้สมมติฐานที่ว่า ภาษาพูด นั้นเป็นหลักพื้นฐาน และมีความสำคัญต่อการศึกษามากกว่าภาษาเขียน เหตุผลที่สนับสนุนข้อสมมติฐานดังกล่าว ได้แก่
- ภาษาพูดเป็นสิ่งสากลสำหรับมนุษย์ (human-universal) ในขณะที่หลายวัฒนธรรมและหลายชุมชนภาษาพูดไม่มีภาษาเขียน
- มนุษย์สามารถเรียนรู้การพูดและการประมวลผลภาษาพูดได้ง่ายกว่า และง่ายกว่าการเขียนมาก ๆ
- นักวิทยาศาสตร์การรับรู้ของมนุษย์ จำนวนหนึ่งอ้างว่า สมองมีโมดูลภาษา โมดูลภาษาในที่นี้เป็นสัญชาตญาณซึ่ง ความรู้ที่ภายหลังสามารถเพิ่มเติมได้โดยการเรียนรู้ภาษาพูดมากกว่าเรียนรู้จากภาษาเขียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เนื่องมาจากภาษาพูดนั้นเป็นปรับใช้ตามวิวัฒนาการ ในขณะที่ภาษาเขียนนั้น เมื่อเทียบแล้วเป็นการประดิษฐ์ที่ตามมาทีหลัง
แน่นอน นักภาษาศาสตร์ยังคงเห็นพ้องกันว่า การศึกษาภาษาเขียนก็มีคุณค่าเช่นเดียวกัน สำหรับงานวิจัยด้านภาษาศาสตร์ที่ใช้วิธีการภาษาศาสตร์คลังข้อมูล และภาษาศาสตร์เชิงคำนวณแล้ว ภาษาเขียนย่อมสะดวกต่อการประมวลผลข้อมูลทางภาษาศาสตร์ขนาดใหญ่มากกว่า คลังข้อมูล ขนาดใหญ่สำหรับภาษาพูดนั้น สร้างและแสวงหาได้ยาก อย่างไรก็ตามคลังเอกสารสำหรับภาษาพูดก็ยังคงใช้กันโดยทั่วไปในรูปแบบของการถอดความ
นอกจากนี้ การศึกษาระบบการเขียน ก็ยังเป็นแขนงหนึ่งของภาษาศาสตร์อีกด้วย
สาขาวิจัยด้านภาษาศาสตร์
แก้การวิจัยทางภาษาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์แขนงอื่น ๆ
แก้- ภาษาศาสตร์เชิงมานุษยวิทยา
- ภาษาศาสตร์ประยุกต์
- ศาสตร์การรับรู้ของมนุษย์
- ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ
- ภาษาศาสตร์เชิงคำนวณ
- การประมวลผลภาษาธรรมชาติ
- การรู้จำผู้พูดจากเสียง (เพื่อการรับรองสิทธิของผู้ใช้)
- การประมวลผลเสียง
- การรู้จำเสียง
- การสังเคราะห์เสียง
- ปริจเฉทวิเคราะห์เชิงวิพากษ์
- ศาสตร์การเข้ารหัส
- ศาสตร์การถอดรหัส
- ภาษาศาสตร์เชิงวิวัฒนาการ
- ศาสตร์ด้านกล่องเสียง
- ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ
- การรู้ภาษา
- ภาษาศาสตร์เชิงประสาทวิทยา
- อักขรวิทยา
- ภาษาศาสตร์จิตวิทยา
- การรู้ภาษาที่สอง
- ภาษาศาสตร์สังคม
- ภาษาศาสตร์แบบแบ่งเป็นชั้น
- ภาษาศาสตร์เชิงเนื้อความ
- ระบบการเขียน
นักภาษาศาสตร์และกลุ่มแนวคิดที่สำคัญ
แก้นักภาษาศาสตร์ในยุคเริ่มต้น ได้แก่
- จาค็อบ กริมม์ (en:Jakob Grimm) ผู้ซึ่งเสนอหลักของการเลื่อนเสียงพยัญชนะ (en:Consonantal shift) ในการสะกด ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม กฎของกริมม์ (en:Grimm's Law) ในปี พ.ศ. 2365 (ค.ศ. 1822)
- คาร์ล เวอร์เนอร์ (en:Karl Verner) ผู้ซึ่งค้นพบกฎของเวอร์เนอร์ (en:Verner's Law)
- เอากุสต์ ชไลเคอร์ (en:August Schleicher) ผู้ซึ่งสร้าง ทฤษฎีชทัมบาว์ม (en:Stammbaumtheorie /ชทัม-บาว์ม-เท-โอ-รี/)
- โยฮันเนส ชมิดท์ (en:Johannes Schmidt) ผู้ซึ่งพัฒนาแบบจำลองคลื่น (en:Wellentheorie /เฟฺวล-เลน-เท-โอ-รี/) ในปี พ.ศ. 2415
แฟร์ดินองด์ เดอ โซซูร์ (en:Ferdinand de Saussure) เป็นผู้ก่อตั้งภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้างสมัยใหม่ แบบจำลองฟอร์มอลของภาษาของโนม ช็อมสกี (Noam Chomsky) ซึ่งก็คือ ไวยากรณ์แปลงรูปเชิงขยาย ได้รับการพัฒนาภายใต้อิทธิพลของอาจารย์ของท่าน เซลลิก แฮร์ริส (en:Zellig Harris) ผู้ซึ่งได้รับอิทธิพลอย่างรุนแรงมาจาก เล็นเนิร์ด บลูมฟิลด์ (en:Leonard Bloomfield) ไวยากรณ์แปลงรูปเชิงขยายนี้ได้เข้ามามีบทบาทต่อวงการภาษาศาสตร์ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960
นักภาษาศาสตร์และกลุ่มแนวคิดที่สำคัญอีกกลุ่มหนึ่ง ได้แก่
- ไมเคิล ฮอลลิเดย์ (en:Michael Halliday) ผู้พัฒนาไวยากรณ์ฟังก์ชันที่เป็นระบบ (en:Systemic Functional Grammar) ซึ่งพัฒนาไล่ตามกันอย่างกระชั้นชิดในสหราชอาณาจักร, แคนาดา, ออสเตรเลีย, จีน และญี่ปุ่น
- เดลล์ ไฮมส์ (en:Dell Hymes) ผู้พัฒนาแนวทางวจันปฏิบัติศาสตร์ ซึ่งเรียกว่าชาติพันธุ์วิทยาของภาษาพูด (en:The Ethnography of Speaking)
- จอร์จ แล็คคอฟฟ์ (en:George Lakoff) เล็นนาร์ด ทาล์มี (en:Leonard Talmy) และโรนัลด์ แล็งแก็กเกอร์ (en:Ronald Langacker) ผู้บุกเบิกภาษาศาสตร์ปริชาน (en:Cognitive linguistics)
- ชาร์ลส์ ฟิลล์มอร์ (en:Charles Fillmore) และอะดีล โกลด์เบิร์ก (en:Adele Goldberg) ผู้ร่วมกันพัฒนาไวยากรณ์แบบก่อร่าง (en:Construction grammar)
- ทาล์มี กิฟว็อน (en:Talmy Givon) และโรเบิร์ต แวน วาลิน จูเนียร์ (en:Robert Van Valin, Jr.) ผู้พัฒนาไวยากรณ์เชิงหน้าที่ (en:Functional grammar หรือ en:Functionalism)
- กิลอัด สุขเคอร์แมน (Ghil'ad Zuckermann) การฟื้นฟูภาษา (Revivalistics)
รูปแทนเสียงภาษาพูด
แก้- สัทอักษรสากล (IPA) เป็นระบบรูปแทนเสียงที่ใช้เขียน และสามารถนำมาสังเคราะห์เสียงของภาษามนุษย์
- SAMPA เป็นวิธีการถอดสัทอักษรสากล โดยใช้รหัสแอสกี (ASCII) เท่านั้น ผู้เขียนหนังสือบางรายจะใช้ระบบนี้แทนสัทอักษรเพื่อสะดวกในการพิมพ์ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โฮมเพจของ SAMPA
มุมมองแคบของภาษาศาสตร์
แก้คำว่า ภาษาศาสตร์ และ นักภาษาศาสตร์ อาจจะไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กว้างขวางอย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างบนก็ได้ ในบางกรณี คำนิยามที่ดีที่สุดสำหรับคำว่า ภาษาศาสตร์ คงจะเป็น วิชาที่สอนกันในภาควิชาภาษาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และ นักภาษาศาสตร์ ก็คงจะเป็น ผู้ที่เป็นศาสตราจารย์ในภาควิชาภาษาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ในมุมมองแคบมักจะไม่ได้กล่าวถึงการเรียนเพื่อพูดภาษาต่างประเทศ (ยกเว้นว่าจะช่วยให้เห็นโมเดลฟอร์มอลของภาษาได้ดีขึ้น) และก็ไม่ได้รวมเอาการวิเคราะห์วรรณกรรม (Literary analysis) ไว้เลย มีเพียงบางครั้งเท่านั้นที่อาจจะมีการศึกษาเนื้อหาบางอย่างตามความจำเป็น เช่นอุปลักษณ์ บางครั้งนิยามเหล่านี้ก็ไม่สามารถนำมาใช้กับงานวิจัยในแนวกำหนดกฎเกณฑ์ได้ ดังเช่นที่พบในงาน มูลฐานแห่งวัจนลีลา (The Element of Style) ของสทรังค์ (William Strunk, Jr.) และไวท์ (E. B. White) นักภาษาศาสตร์มักจะเป็นผู้ค้นหาว่าผู้ใช้ภาษาใช้ภาษาอย่างไร มากกว่าที่จะไปกำหนดว่าผู้ใช้ภาษาควรใช้ภาษาอย่างไร การตัดสินว่าใครเป็นหรือไม่เป็นนักภาษาศาสตร์นั้นเป็นไปได้ว่าต้องใช้เวลานานในการตัดสิน
ดูเพิ่ม
แก้- ประวัติของภาษาศาสตร์
- หัวข้อพื้นฐานด้านภาษาศาสตร์ ซึ่งเป็นหน้าจอที่ออกแบบมาเพื่อจัดระเบียบข้อมูลเกี่ยวกับภาษาศาสตร์บนวิกีพีเดีย
- รายการหัวข้อด้านภาษาศาสตร์
- รายชื่อนักภาษาศาสตร์
- นิรุกติศาสตร์ ซึ่งเป็นการศึกษาเอกสารโบราณและภาษาที่ใช้
- การวิเคราะห์โดยอาศัยโครงสร้าง
- ภาษาศาสตร์จิตวิทยา
อ้างอิง
แก้- ↑ Halliday, Michael A.K.; Jonathan Webster (2006). On Language and Linguistics. Continuum International Publishing Group. p. vii. ISBN 978-0-8264-8824-4.
- ↑ "ภาษาศาสตร์คืออะไร". arts.chula. สืบค้นเมื่อ 2023-08-06.
บรรณานุกรม
แก้- Akmajian, Adrian; Demers, Richard; Farmer, Ann; Harnish, Robert (2010). Linguistics: An Introduction to Language and Communication. Cambridge, MA: The MIT Press. ISBN 978-0-262-51370-8.
- Aronoff, Mark; Rees-Miller, Janie, บ.ก. (2000). The handbook of linguistics. Oxford: Blackwell.
- Bloomfield, Leonard (1983) [1914]. An Introduction to the Study of Language: New edition. Amsterdam: John Benjamins Publishing. ISBN 978-90-272-8047-3.
- Chomsky, Noam (1998). On Language. The New Press, New York. ISBN 978-1-56584-475-9.
- Derrida, Jacques (1967). Of Grammatology. The Johns Hopkins University Press. ISBN 978-0-8018-5830-7.
- Hall, Christopher (2005). An Introduction to Language and Linguistics: Breaking the Language Spell. Routledge. ISBN 978-0-8264-8734-6.
- Isac, Daniela; Charles Reiss (2013). I-language: An Introduction to Linguistics as Cognitive Science, 2nd edition. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-966017-9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-06. สืบค้นเมื่อ 2021-11-02.
- Pinker, Steven (1994). The Language Instinct. William Morrow and Company. ISBN 978-0-14-017529-5.
- Crystal, David (1990). Linguistics. Penguin Books. ISBN 978-0-14-013531-2.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- The Linguist List, a global online linguistics community with news and information updated daily
- Glossary of linguistic terms by SIL International (last updated 2004)
- Glottopedia, MediaWiki-based encyclopedia of linguistics, under construction
- Linguistic sub-fields – according to the Linguistic Society of America
- Linguistics and language-related wiki articles on Scholarpedia and Citizendium
- "Linguistics" section – A Bibliography of Literary Theory, Criticism and Philology, ed. J.A. García Landa (University of Zaragoza, Spain)
- Isac, Daniela; Charles Reiss (2013). I-language: An Introduction to Linguistics as Cognitive Science, 2nd edition. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-953420-3.
- ภาษาศาสตร์ ที่เว็บไซต์ Curlie
- สมิทธ์ ถนอมศาสนะ. (2556). Linguistic Turn กับข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตก. วารสารประวัติศาสตร์. (ฉบับครบรอบ 100 ปีชาตกาล ศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช) : 98-119.