อี.บี. ไวท์
เอลวิน บรูกส์ "อี.บี." ไวท์ (Elwyn Brooks "E.B." White) (11 กรกฎาคม พ.ศ. 2442 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2528) เป็นนักประพันธ์ชาวอเมริกัน มีชื่อเสียงที่สุดจากงานเขียน "The Elements of Style" และหนังสือสำหรับเด็กสามเรื่อง ที่ถือกันว่าเป็นผลงานอมตะ คือ Stuart Little (สจ๊วต ลิตเติ้ล) (พ.ศ. 2488) Charlotte's Web (แมงมุมเพื่อนรัก) (พ.ศ. 2495) และ The Trumpet of the Swan (เสียงรักจากทรัมเป็ตหงส์) (พ.ศ. 2513)
เอลวิน บรูกส์ ไวท์ | |
---|---|
อี.บี. ไวท์ | |
เกิด | 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2442 รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา |
เสียชีวิต | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2528 (อายุ 86 ปี) รัฐเมน สหรัฐอเมริกา |
นามปากกา | อี.บี. ไวท์ |
อาชีพ | นักเขียน |
สัญชาติ | สหรัฐอเมริกา |
เอลวิน ไวท์เกิดที่เมาท์เวอร์นอน นิวยอร์ก เป็นลูกชายของซามูเอล ไวท์ซึ่งทำอาชีพทำเปียโน อายุ 45 ปี และเจซซี่ ไวท์ อายุ 41 ปี เอลวินเป็นลูกคนสุดท้องของครอบครัวใหญ่ที่อบอุ่นครอบครัวนี้ ในวัยเด็ก เขาเป็นคนขี้กลัว กลัวการไปโรงเรียน กลัวทุก ๆ อย่าง เขาจึงมีเพื่อนรักเป็นหนังสือและสัตว์เลี้ยง เขาชอบอ่านและเขียนหนังสือตั้งแต่เด็ก อ่านหนังสือออกก่อนเข้าโรงเรียน เขาเริ่มเขียนไดอารี่ตอนอายุ 8 ปี ตอนอายุ 9 ปี เขาส่งบทกลอนเข้าประกวดและได้รางวัลชนะเลิศ หลังจากจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยคอร์เนล ในปี ค.ศ. 1912 เขาก็เริ่มทำงานหลาย ๆ อย่าง เช่น นักข่าวหนังสือพิมพ์ และเขียนบทความข่าวให้สำนักพิมพ์ต่าง ๆ ซึ่งภายหลังถูกไล่ออก ในปี ค.ศ. 1923 เขากลับมาที่รัฐนิวยอร์กอีกครั้ง เพื่อทำงานเป็นผู้ช่วยฝ่ายผลิตและผู้เขียนโฆษณา ก่อนจะเข้าร่วมทำงานกับสำนักพิมพ์นิตยสารที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ที่ชื่อว่า New Yorker ซึ่งทำให้เขาได้พบกับภรรยา แคธเทอรีน แองเจิล ซึ่งทำงานในตำแหน่งบรรณาธิการนิตยสาร พวกเขาแต่งงานในปี ค.ศ. 1929 เขาทำงานเกี่ยวกับงานเขียนมาเรื่อย ๆ นับจากนั้น เขาเขียนหนังสือหลายเล่ม ซึ่งส่วนมากเป็นที่นิยมและขายดี
ในปี ค.ศ. 1939 เขาย้ายไปอยู่ในฟาร์ม ที่นอร์ธบรูคลิน แต่ก็ยังคงทำงานด้านงานเขียนและเริ่มทำงานอย่างอื่นน้อยลง ในปี ค.ศ. 1985 เอลวิน ไวท์เสียชีวิตด้วยโรคอัลไซเมอร์ เขาได้รับรางวัลเหรียญทองสำหรับบทความและบทวิจารณ์จากสถาบันศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติ, รางวัลพิเศษของพูลิตเซอร์ ในปี ค.ศ. 1978, เขาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากเจ็ดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยของอเมริกันและเป็นสมาชิกของสมาคมวัฒนธรรมอเมริกัน, วรรณกรรมรางวัลนิวเบอรี นิตยสารไทม์ ยกย่องให้เป็นหนังสือเด็กที่ดีที่สุดในรอบศตวรรษ