ชีอะฮ์สิบสองอิหม่าม

สิบสองอิหม่าม (อาหรับ: ٱثْنَا عَشَرِيَّة; ʾIthnā ʿAšarīyah เปอร์เซีย: شیعه دوازده‌امامی, Šī'eh-ye Davâzdah-Emâmī) เป็นที่รู้จักกันในชื่อ อิมามียะฮ์ (อาหรับ: إِمَامِيَّة) เป็นสาขาของชีอะฮ์ที่นับถือมากที่สุด คำว่า สิบสองอิหม่าม อิงถึงหัวหน้าทั้งสิบสองที่รู้จักในชื่อสิบสองอิหม่าม และความเชื่อว่า อิหม่ามมะฮ์ดี อิมามคนสุดท้ายที่ลึกลับ จะปรากฏอีกครั้งพร้อมกับการมาของอีซา เพื่อฆ่า ดัจญาล

ลายวิจิตรของอิมามทั้ง 12 ล้อมรอบชื่อศาสดามุฮัมมัด

ชีอะฮ์สิบสองอิหม่ามเป็นสาขาที่มีคนนับถือมากที่สุด โดยนับถือไป 85% ของชีอะฮ์ทั้งหมด หรือประมาณ 150 ถึง 200 ล้านคน[1][2][3][4]

สิบสองอิหม่ามเป็นที่นับถือส่วนใหญ่ในประเทศอิหร่าน, อาเซอร์ไบจาน, อิรัก, เลบานอน, บาห์เรน และส่วนน้อยในประเทศอินเดีย, ปากีสถาน, อัฟกานิสถาน, ซาอุดีอาระเบีย, บังกลาเทศ, คูเวต, โอมาน, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, กาตาร์, ไนจีเรีย, ชาด และแทนซาเนีย[5][6][7][8][9][10]

คำศัพท์ แก้

สิบสองอิหม่าม เป็นฐานความเชื่อถึงลูกหลานชายทั้งสิบสองคนในพงศาวลีของมุฮัมมัด เริ่มด้วยอะลี อิบน์ อบีฏอลิบ และสิ้นสุดที่มุฮัมมัด อัลมะฮ์ดี เป็นอิมามที่มีอำนาจทางศาสนาและการเมือง[11]

สิบสองอิหม่ามถูกเรียกอีกหลายชื่อ ได้แก่:

  • ชีอะฮ์ อิงถึงกลุ่มของมุสลิมที่เชื่อว่าผู้สืบทอดของมุฮัมมัดต้องเป็นสมาชิกครอบครัวของท่านเท่านั้น[12] ตาบะตาบัยกล่าวว่าคำนี้สื่อถึงพรรคพวกของอะลีในสมัยของมุฮัมมัด[13]
  • ญะอ์ฟารี อิงถึงโรงเรียนกฎหมายของสิบสองอิหม่าม โดยมีต้นตอจากชื่อ ญะอ์ฟัร อัศศอดิก ผู้เป็นอิมามคนที่ 6 ที่ได้ฉายา "ผู้เรียบเรียงกฎหมาย"[14] ญะอ์ฟัร อัศศอดิก เป็นที่ให้เกียรติและอิงโดยผู้ก่อตั้งมัซฮับฮะนะฟีและมาลิกีของซุนนี[15]
  • อิมามี หรือ อิมามียะฮ์ อิงถึงความเชื่อของสิบสองอิหม่ามว่าเหล่าอิมามไม่เคยผิดพลาด ถึงแม้ว่าสาขาอิสมาอิลีจะมีความเชื่อหมือนกัน แต่ฝ่ายสิบสองอิหม่ามเชื่อว่าผู้นำทางสังคมหลังจากมุฮัมมัดที่สืบเชื้อสายจากอะลีและผู้สืบทอดทั้ง 11 คน มีคุณสมบัติความไม่ผิดพลาดทั้งสิบสี่[16]

ชะรีอะฮ์ (ฟุรูอุดดีน) แก้

รายงานจากนัสร์ รากศัพท์ของชะรีอะฮ์คือชัรอ์ ซึ่งหมายถึงเส้นทางที่ชายและหญิงคนติดตาม เขาเขียนเพิ่มเติมว่า มุสลิมควรตามชะรีอะฮ์ควบคู่กับกฎหมายทางการ โดยแบ่งออกเป็น 5 หมวดหมู่ คือ: จำเป็น (วาญิบ), แนะนำ (มันดูบ), น่าตำหนิ หรือ น่ารังเกียจ (มักรูฮ), ต้องห้าม (ฮะรอม) และทำในสิ่งที่กฎหมายของพระเจ้าไม่ได้แตกต่าง (มุบาฮ์) รากของชะรีอะฮ์คืออัลกุรอาน ส่วนฮะดีษและซุนนะฮ์เป็นหลักฐานชั้นรองของชะรีอะฮ์และเป็นส่วนประกอบของอัลกุรอาน ชะรีอะฮ์มีข้อกฎหมายที่แปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่ยังคงใช้ได้กับสถานการณ์ใหม่[17]

ความแตกต่าง แก้

การอำพราง (ตะกียะฮ์) แก้

ตามชีอะฮ์ การกระทำในด้านศาสนาเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคน แต่ถ้าการแสดงความศรัทธาอาจทำให้ชีวิต, เกียรติยศ และทรัพย์สมบัติของคนหนึ่งตกอยู่ในอันตราย เขาสามารถปกปิดความศรัทธาตามอายะฮ์ 16: 106 ว่า เป็นอาวุธของผู้อ่อนแอต่อหน้าทรราช[19] เป็นเรื่องต้องห้ามถ้าการปกปิดทำให้ศาสนาหรืออุดมการณ์ของศาสนาหายไป แต่ถ้าไม่มีความเสี่ยงต่อการถูกฆ่า ก็ไม่ต้องอำพราง เพราะไม่มีที่ใดอำพรางต่อการสอนศาสนา[20] บริเวณที่ชีอะฮ์เป็นชนส่วนน้อยภายใต้การปกครองของผู้ปกครองที่ต่อต้านความเชื่อของพวกเขา พวกเขาเลือกที่จะอยู่อย่างระมัดระวังเพื่อเลี่ยงการสูญเสีย[21]

มุตอะฮ์: การแต่งงานชั่วคราว แก้

นิกาฮ์อัลมุตอะฮ์ (อาหรับ: نكاح المتعة แปลตรงตัว "แต่งงานเพื่อความสุข")[22] หรือ ซิเฆาะฮ์ เป็นการแต่งงานตามกลุ่มอุศูลีชะรีอะฮ์ของชีอะฮ์ ซึ่งเป็นการแต่งงานจำกัดเวลา แล้วค่อยหย่าเมื่อหมดเวลา อย่างไรก็ตาม ฝ่ายซุนนีถือว่าเป็น ฮะรอม (ต้องห้าม) และเป็นหัวข้อ ฟิกฮ์ ที่โต้แย้งกันมากที่สุด ทั้งฝ่ายซุนนีกับชีอะฮ์มีมุมมองเกี่ยวกับเรื่องนี้ตงข้ามกัน ซุนนีบางกลุ่มยอมรับนิกาฮ์มิซยาร[23]

มีการอ้างว่ามุตอะฮ์มีมาตั้งแต่สมัยของมุฮัมมัด และในช่วงนั้นยังไม่เป็นที่ต้องห้าม ชีอะฮ์เชื่อว่า สิ่งที่อนุญาตในสมัยมุฮัมมัด ยังคงได้รับการอนุญาตในภายหลัง มุตอะฮ์ถูกปฏิบัติมาในช่วงที่มุฮัมมัดได้รับวะฮ์ยู จนกระทั่งสมัยอุมัรที่นำอายะฮ์ 70: 29 มาโต้แย้ง[24]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. worldatlas.com
  2. worldometers.info
  3. Atlas of the Middle East (Second ed.). Washington D.C: National Geographic 2008
  4. The World Factbook 2010 & Retrieved 2010-08-25.
  5. "Shia women too can initiate divorce". The Times of India. November 6, 2006. สืบค้นเมื่อ 2010-06-21.
  6. "Talaq rights proposed for Shia women". Daily News and Analysis, www. dnaindia.com. 5 November 2006. สืบค้นเมื่อ 2010-06-21.
  7. "Obama's Overtures". The Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2010-07-21.
  8. "Imperialism and Divide & Rule Policy". Boloji. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-13. สืบค้นเมื่อ 2010-07-21.
  9. "Ahmadinejad on way, NSA says India to be impacted if Iran 'wronged by others'". Indian Express. สืบค้นเมื่อ 2010-07-21.
  10. http://merln.ndu.edu/archive/icg/shiitequestion.pdf เก็บถาวร 2008-12-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน International Crisis Group. The Shiite Question in Saudi Arabia, Middle East Report No. 45, 19 Sep
  11. Campo 2009, p. 676
  12. Nasr, pp. 143–144
  13. Tabataba'ei 1975, p. 34
  14. Kahlmeyer, André; Janin, Hunt (9 January 2015). Islamic Law: The Sharia from Muhammad's Time to the Present. McFarland. p. 25. ISBN 9781476608815.
  15. Momen 2015, p. chapter 2
  16. Wynbrandt, James (14 May 2014). A Brief History of Saudi Arabia. Infobase Publishing. p. 64. ISBN 9781438108308.
  17. Nasr 2007, pp. 75–80
  18. Momen, Moojan. An Introduction to Shi'i Islam: The History and Doctrines of Twelver Shi'ism. 1987. pp. 176 – 181. Yale University Press. ISBN 978-0-300-03531-5.
  19. Sobhani 2001, p. 150
  20. Sobhani 2001, p. 153
  21. Nasr, Dabashi & Nasr 1988, p. 206
  22. Mut'ah from Encyclopædia Britannica.
  23. Mahmood, Shabnam; Nye, Catrin (13 May 2013). "I do... for now. UK Muslims revive temporary marriages". BBC News. สืบค้นเมื่อ 23 May 2013.
  24. Nasr, Dabashi & Nasr 1988, p. 215

สารานุกรม แก้

  • Black, Antony (2011). The history of Islamic political thought from the prophet to the present. Edinburgh: Edinburgh University Press. ISBN 978-0-7486-3987-8.
  • Corbin, Henry (1993). History of Islamic Philosophy, Translated by Liadain Sherrard, Philip Sherrard. London; Kegan Paul International in association with Islamic Publications for The Institute of Ismaili Studies. ISBN 0-7103-0416-1.
  • Cornell, Vincent J. (2007). Voices of Islam. Westport, Conn.: Praeger Publishers. ISBN 978-0-275-98732-9.
  • Dabashi, Hamid (1989). Authority in Islam: from the rise of Muhammad to the establishment of the Umayyads. New Brunswick, U.S.A.: Transaction Publishers. ISBN 978-0-88738-288-8.
  • Daftary, Farhad (2013). A history of Shi'i Islam. ISBN 978-0-85773-524-9.
  • Faruki, Kemal (1965). "Tawhid and the doctrine of Ismah". Islamic Studies. 4 (1): 31–43. JSTOR 20832784.
  • Halm, Heinz; translated from the German by Allison (1997). Shi'a Islam: from religion to revolution (2. printing ed.). Princeton, NJ: Markus Wiener Publishers. ISBN 978-1-55876-134-6.
  • Kraemer, Joel L. (1992). Humanism in the Renaissance of Islam: The Cultural Revival During the Buyid Age. BRILL. ISBN 978-90-04-09736-0.
  • Lakhani, M. Ali; Shah Kazemi, Reza; Lewisohn, Leonard (2006). The Sacred Foundations of Justice in Islam: The Teachings of ʻAlī Ibn Abī Ṭālib. World Wisdom, Inc. ISBN 978-1-933316-26-0.
  • Momen, Moojan (1985). An Introduction to Shi'i Islam: the History and Doctrines of Twelver Shi'ism. New Haven: Yale University Press. ISBN 978-0-300-03531-5.
  • Motahari, Morteza (1985). Fundamentals of Islamic thought: God, man, and the universe. Mizan Press. OCLC 909092922.
  • Murata, Sachiko; Chittick, William (1994). Vision of Islam: reflecting on the Hadith of Gabriel (1st ed.). New York, NY: Paragon House. ISBN 978-1-55778-516-9.
  • Nasr, Hossein; Dabashi, Hamid; Nasr, Vali (1988). Shiʻism doctrines, thought, and spirituality. Albany: SUNY. ISBN 978-0-585-08860-0.
  • Nasr, Seyyed Hossein; Leaman, Oliver (2001). History of Islamic Philosophy. London: Routledge. ISBN 978-0-415-25934-7.
  • Nasr, Seyyed Hossein (2002). The heart of Islam enduring values for humanity. Pymble, NSW: PerfectBound. ISBN 0-06-051665-8.
  • Nasr, Seyyed Hossein (2006). Islamic Philosophy from Its Origin to the Present. SUNY Press. ISBN 978-0-7914-6799-2.
  • Nasr, Seyyed Hossein (2000). Ideals and realities of Islam (New rev. ed.). Chicago, IL: ABC International Group. ISBN 978-1-930637-11-5.
  • Nasr; Dabashi; Nasr (1989). Expectation of the Millennium Shiʻism in History. Albany: State University of New York Press. ISBN 978-0-585-07849-6.
  • Nasr, Seyyed Hossein (2007). Islam religion, history, and civilization. Pymble, NSW: HarperCollins e-books. ISBN 978-0-06-155642-5.
  • Nasr, Seyyed Hossein (2008). Islamic spirituality : foundations. London: Routledge. ISBN 978-0-415-44262-6.
  • Rizvi, Sayyid Muhammad (1992). Khums, An Islamic Tax. Ansaryan.
  • Rizvi, Sayyid Muhammad (2004). Islam: Faith, Practice & History. Ansariyan Publications. ISBN 978-964-438-620-6.
  • Sachedina, Abdulaziz Abdulhussein (1988). The Just Ruler (al-sultān Al-ʻādil) in Shī'ite Islam: The Comprehensive Authority of the Jurist in Imamite Jurisprudence. Oxford University Press US. ISBN 978-0-19-511915-2.
  • Sobhani, Ja'far; Shah-Kazemi, Reza (2001). The Doctrines of Shi'ism: A Compendium of Imami Beliefs and Practices. I. B. Tauris. ISBN 978-1-86064-780-2.
  • Tabataba'ei, Sayyid Mohammad Hosayn (1979). Shi'ite Islam. Hossein Nasr (translator). SUNY press. ISBN 0-87395-272-3.
  • Tabataba'ei, Sayyid Mohammad Hosayn (1983). Al-Mīzān: an exegesis of the Qurʼān. Vol. 1. WOFIS. OCLC 311256759.
  • Tabataba'ei, Sayyid Mohammad Hosayn (1984). Al-Mīzān: an exegesis of the Qurʼān. Vol. 2. WOFIS.
  • Tabataba'ei, Sayyid Mohammad Hosayn (1982). Al-Mīzān: an exegesis of the Qurʼān. Vol. 3. WOFIS.
  • Tabataba'ei, Sayyid Mohammad Hosayn (1986). Al-Mīzān: an exegesis of the Qurʼān. Vol. 6. WOFIS.
  • Vaezi, Ahmad (2004). Shia political thought. London: Islamic Centre of England. ISBN 978-1-904934-01-1.
  • Weiss, Bernard G. (2006). The Spirit of Islamic Law. University of Georgia Press. ISBN 978-0-8203-2827-0.

อ่านเพิ่ม แก้

  1. The book "Durr-e-Mansoor dar Halaat-e-Ulama-e-Zangipur"
  2. The book "MATLA-e-ANWAR" (By Maulana Murtaza Husain Sadrul-Afazil)
  3. The book "KHURSHEED-e-KHAWAR" (By Maulan Saeed Akhtar Gopalpuri)
  4. The thesis on "Life of Jawad-ul-Ulama" research work of Dr. Inayet Ali (Aligarh Muslim University)
  5. The booklet "Haqnuma" published Jamia-Imania, Banaras.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้