ฮะรอม
ฮะรอม (อาหรับ: حَرَام, [ħaˈraːm]) เป็นคำศัพท์ภาษาอาหรับที่แปลว่า ต้องห้าม[1]: 471 ซึ่งอาจอิงถึง: บางสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ห้ามผู้คนที่ยังไม่บริสุทธิ์หรือเป็นสิ่งชั่วร้ายที่ "การกระทำมันถือเป็นสิ่งที่ต้องห้าม" ในนิติศาสตร์อิสลาม ฮะรอมถือเป็นการกระทำที่ห้ามโดยอัลลอฮ์และเป็นหนึ่งในห้าข้อบัญญัติอิสลาม (الأحكام الخمسة, อัลอะฮ์กามุลค็อมซะฮ์) ที่เป็นตัวกำหนดศีลธรรมของมนุษย์[2]
การกระทำที่เป็นฮะรอมมักถูกห้ามในคำภีร์กุรอานและซุนนะฮ์ ถือเป็นสิ่งที่ต้องห้ามสูงสุด ถ้าบางสิ่งถือว่าเป็นฮะรอม มันก็คงเป็นเช่นนั้นโดยไม่สำคัญว่าจะมีเจตนาที่ดีหรือจุดประสงค์ที่น่ายกย่องแค่ไหนก็ตาม[3] ฮะรอม จะถูกแปลงเป็นวัตถุโน้มถ่วงในวันพิพากษา ซึ่งจะถูกตั้งบนมีซาน (ตาชั่ง).[4][5] และแต่ละมัซฮับมีมุมมองกับสิ่งที่เป็นฮะรอมไม่เหมือนกัน[6]
ภาพรวม
แก้การกระทำที่เป็นฮะรอมมีผลทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายและถือว่าเป็นบาป[7]
พวกเขาจะถามเจ้าเกี่ยวกับน้ำเมา และการพนัน จงกล่าวเถิดว่า ในทั้งสองนั้นมีโทษมากและมีคุณหลายอย่างแก่มนุษย์ แต่โทษของมันทั้งสองนั้นมากกว่าคุณของมัน..."
โดยการนำคำว่า "คุณประโยชน์" ที่ตรงข้ามกับคำว่า "โทษ" ในโองการที่ 2:219 ของอัลกุรอาน ยืนยันว่า ฮะรอม คือสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตราย ตามความจริงแล้ว ทุกสิ่งมีความหมายกับคู่ตรงข้ามของมัน; เช่น ถ้าไม่มีความหนาว เราจะไม่รู้ว่าความร้อนเป็นอย่างไร ดังนั้น บาปคือสิ่งที่ทำให้เราบาดเจ็บ เมื่อพระองค์ตรัสว่า "ห้าม" นั้น หมายถึง "อย่าทำร้ายตนเอง" หลักอิสลามได้กล่าวถึง ฮะรอม ว่า ถ้าบางสิ่งถูกห้ามหรือต้องห้าม ดังนั้น อะไรก็ตามที่นำไปหามันคือ การกระทำที่ฮะรอม ไม่จำกัดต่อบุคคลที่ทำในสิ่งที่ต้องห้ามเท่านั้น แต่ได้รวมไปถึงผู้ที่สนับสนุนให้ทำบาปด้วย[8]
ห้าประเภทของ الأحكام الخمسة, อัลอะฮ์กามุลค็อมซะฮ์ หรือลำดับการกระทำตั้งแต่อนุญาตถึงไม่อนุญาตเป็นไปตามนี้:[2][9]
- واجب / فرض (ฟัรฎ์/วาญิบ) – "ภาคบังคับ"/"หน้าที่"
- مستحب (มุสตะฮับบ์) – แนะนำ, "เป็นที่น่าพอใจ"
- مباح (มุบาฮ์) – เป็นกลาง, "อนุญาตให้ทำได้"
- مكروه (มักรูฮ์) – ไม่ชอบ, "หมดกำลังใจ"
- حرام (ฮะรอม) – บาป, "ต้องห้าม"
ฮะรอมแบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่:
- الحرام لذاته (อัลฮะรอม ลิซาติฮ) – การห้ามเพราะแก่นแท้ของมันและก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคคลนั้น
- การทำชู้, ฆาตกรรม, โจรกรรม
- الحرام لغيره (อัลฮะรอม ลิฆ็อยริฮ) – ถูกห้ามเพราะเหตุผลภายนอกที่ไม่ค่อยมีพิษภัย แต่มีส่วนกับสิ่งที่ต้องห้าม[10]
- ทรัพยสินที่ได้มาจากการทุจริต เช่น เงินที่ได้จากการโกง, การขโมย, ทุจริต, ฆาตกรรม และดอกเบี้ย หรืออะไรก็ตามที่ทำให้ผู้อื่นได้รับอันตราย
ในทางศาสนา ฮะรอม ตามอัลกุรอาน แบ่งได้เป็น:
- การกระทำ เช่น การแช่ง, การผิดประเวณี, ฆาตกรรม และไม่ให้เกียรติพ่อแม่ของตน
- นโยบาย เช่น ริบา (กินดอก, ดอกเบี้ย)
- อาหารและเครื่องดื่มบางชนิด เช่น เนื้อหมูและแอลกอฮอล์
- วัตถุ, อาหาร หรือการกระทำที่ฮะลาลในบางครั้ง ถือว่าเป็นฮะรอมในบางสถานการณ์ เช่น อาหารและเครื่องดื่มฮะลาลในช่วงเราะมะฎอน หรือวัวและสัตว์อื่น ๆ ที่ฮะลาล ไม่ได้ถูกเชือดตามวิถีอิสลาม
- การไม่ทำบางอย่าง เช่นไม่ละหมาด
ประเภทการกระทำที่ต้องห้าม
แก้อาหารและสิ่งมึนเมา
แก้ในศาสนาอิสลาม การห้ามการกระทำหรือวัตถุที่ไม่ดีถูกสังเกตการณ์โดยมุสลิม เพื่อให้สอดคล้องไปตามคำสั่งในอัลกุรอาน[11]
เกี่ยวกับเนื้อฮะรอมนั้น มุสลิมถูกสั่งห้ามไม่ให้กินเลือดที่กำลังไหล เนื้อบางชนิดเป็นฮะรอม เช่นหมู, สุนัข, แมว, ลิง หรือสัตว์ฮะรอมตัวอื่น โดยจะกินได้ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นอยู่ในสภาวะที่หิวโหย และจำเป็นต้องกินเนื้อเหล่านี้[12] อย่างไรก็ตาม ถ้าสังคมยังมีอาหารเพียงพอ ก็ไม่จำเป็นต้องกินเนื้อฮะรอมนี้ อาหารฮะรอมจะไม่เป็นที่อนุญาตเมื่อบุคคลในสังคมยังสามารถเข้าถึงอาหารได้ เพราะสังคมอิสลามเปรียบเสมือนเรือนร่างเดียวกัน และควรแจกอาหารฮะลาลแก่มุสลิมด้วยกัน[13] เนื้อบางชนิดจะยังคงฮะรอม ถ้าสัตว์ไม่ได้เชือดอย่างถูกวิธี การเชือดที่ฮะลาลจะต้องใช้มีดคม โดยสัตว์ต้องไม่เห็นมันก่อนถูกเชือด[14] สัตว์ต้องหลับและกินอย่างเพียงพอก่อนเชือด และการเชือดต้องไม่อยู่ต่อหน้าสัตว์ตัวอื่น[14] การเชือดจะต้องตัดเพียงครั้งเดียวผ่านช่องคอ โดยต้องตัดให้เร็ว เพื่อให้สัตว์รู้สึกเจ็บน้อยที่สุด ในระหว่างที่กำลังเชือด ผู้เชือดต้องอ่านพระนามอัลลอฮ์ โดยกล่าวว่า "บิสมิลลาฮ์"[15][16] สัตว์ตัวใดที่ถูกเชือดในนามพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์จะถือว่าเป็นฮะรอม
มีโองการอัลกุรอานอยู่หลายอันที่มีการห้ามกินเนื้อบางประเภท:
ที่จริงที่พระองค์ทรงห้ามพวกเจ้านั้นเพียงแต่สัตว์ที่ตายเอง และเลือด และเนื้อสุกร และสัตว์ที่ถูกเปล่งเสียงที่มันเพื่ออื่นจากอัลลอฮ์ แล้วผู้ใดได้รับความคับขัน โดยมิใช่ผู้เสาะแสวงหา และมิใช่เป็นผู้ละเมิดขอบเขตแล้วไซร้ ก็ไม่มีบาปใด ๆ แก่เขา แท้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงอภัยโทษผู้ทรงเมตตาเสมอ
และมีอะไรเกิดขึ้นแก่พวกเจ้ากระนั้นหรือ? ที่พวกเข้าไม่บริโภคจากสิ่งที่พระนามของอัลลอฮ์ถูกกล่าวบนมัน ทั้งๆ ที่พระองค์ทรงแจกแจงแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งสิ่ง ที่พระองค์ได้ทรงห้ามแก่พวกเจ้า นอกจากสิ่งที่พวกเจ้าได้รับความคับขันให้ต้องการ มันเท่านั้น และแท้จริงมีผู้คนมากมายทำให้ผู้อื่นหลงผิดไป ด้วยความใคร่ใฝ่ต่ำของพวกเขาโดยปราศจากความรู้แท้จริง พระเจ้าของเจ้านั้นคือผู้ที่ทรงรอบรู้ยิ่งต่อผู้ละเมิดทั้งหลาย
แอลกอฮอล์เป็นสิ่งที่ต้องห้ามในศาสนาอิสลาม โดยค็อมร์เป็นคำศัพท์ภาษาอาหรับของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ก่อให้เกิดความมึนเมา[17] รายงานจากนักเทววิทยาซะละฟี ท่านศาสดาประกาศว่าการห้ามไม่ได้มีแค่ไวน์เท่านั้น แต่ได้รวมไปถึงเบียร์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดอื่นที่ทำให้ผู้คนมึนเมา ท่านศาสดาได้ห้ามขายสิ่งมึนเมาเหล่านี้ แม้แต่คนที่ไม่ใช่อิสลามก็ตาม เป็นเรื่องที่ไม่ได้รับอนุญาตที่มุสลิมมีส่วนร่วมในนำเข้าหรือส่งออกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำงานหรือครอบครองสถานที่ขายสิ่งมึนเมาเหล่านี้[18] การให้สิ่งมึนเมาเป็นของขวัญถือว่าฮะรอมด้วย[19]
มีฮะดีษหลายอันที่ห้ามกินเนื้อบางประเภทและสิ่งมึนเมาในศาสนาอิสลาม:
รายงานจากอบูษะละบะฮ์: ศาสนทูตของอัลลอฮ์ได้สั่งห้ามกินเนื้อของสัตว์มีเขี้ยว
— บันทึกโดยบุคอรี
รายงานจากอบูซะอีด: ท่านศาสดาได้กล่าวว่า: "อัลลอฮ์ทรงห้ามเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในที่นี้ได้รวมถึงผู้ที่ครอบครองมัน พวกเขาจะไม่ดื่มและไม่ขายมัน"
— บันทึกโดยมุสลิม
การแต่งงานและชีวิตครอบครัว
แก้อิสลามได้ห้ามซินาอย่างเด็ดขาด ไม่สำคัญว่าจะเป็นการร่วมประเวณี หรือมีเพศสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่ไม่ได้แต่งงานทั้งสองคนก็ตาม ตามโองการอัลกุรอานได้กล่าวถึงการห้ามประเภทนี้ว่า:
และพวกเจ้าอย่าเข้าใกล้การผิดประเวณี แท้จริงมันเป็นการลามกและทางอันชั่วช้า
และบรรดาผู้ที่ไม่วิงวอนขอพระเจ้าอื่นใดคู่เคียงกับอัลลอฮ์ และพวกเขาไม่ฆ่าชีวิตซึ่งอัลลอฮ์ทรงห้ามไว้...
การหย่า
แก้รายงานจากยูซุฟ อัลเกาะเราะฎอวี การหย่าในตอนที่ผู้หญิงอยู่ในช่วงประจำเดือนเป็นที่ต้องห้าม เพราะในช่วงประจำเดือน การมีเพศสัมพันธ์จะถือว่าเป็นฮะรอม จึงเป็นไปได้ว่าความคิดเกี่ยวกับการหย่ามาจากความเก็บกดทางเพศหรือความตึงตัวของเส้นประสาทของฝ่ายชาย[20] และไม่อนุญาตให้มุสลิมสาบานว่าจะหย่ากัน ซึ่งก่อให้เกิดคำพูดว่าถ้าเหตุการณ์ใดไม่เกิดขึ้น ก็จะหย่ากัน และก่อให้เกิดคำขู่ว่าถ้าพวกเขา/เธอไม่ทำบางอย่าง ก็จะหย่ากัน[21]
จริยธรรมทางธุรกิจ
แก้ริบา เช่น กินดอก กับดอกเบี้ย เป็นที่ต้องห้ามในศาสนาอิสลามทุกรูปแบบ โดยดอกเบี้ยขัดแย้งกับหลักซะกาตที่ให้ทรัพย์สินไหลจากคนรวยไปสู่คนจน ริบาเป็นที่ต้องห้ามเพราะมันเก็บทรัพย์สินให้อยู่กับคนรวยและอยู่ห่างจากคนยากจน และเชื่อว่าริบาทำให้มนุษย์เห็นแก่ตัวและมีความโลภ[22][23]
ธุรกิจและการลงทุนที่ไม่มีการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการอย่างยุติธรรมหรือให้ฟรีถือว่าเป็นฮะรอม เช่น การให้สินบน, การขโมย และการพนัน ดังนั้น ธุรกิจที่หลอกลวงและไม่ซื่อสัตย์ทุกรูปแบบกลายเป็นที่ต้องห้ามในศาสนาอิสลาม[22][24]
มีโองการอัลกุรอานได้กล่าวห้ามจริยธรรมทางธุรกิจที่ไม่ดีไว้ว่า:
โอ้ ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงอย่ากินดอกเบี้ยหลายเท่าที่ถูกทบทวีและพวกเขาพึงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ
อัลลอฮ์จะทรงให้ดอกเบี้ยลดน้อยลงและหมดความจำเริญ และจะทรงให้บรรดาที่เป็นทานเพิ่มพูนขึ้น และอัลลอฮ์นั้นไม่ทรงชอบผู้เนรคุณ ผู้กระทำบาปทุกคน
มรดก
แก้เป็นสิ่งที่ฮะรอมสำหรับพ่อที่กีดกันลูก ๆ ของเขาจากมรดก และพ่อที่กีดกันผู้หญิงหรือลูกของภรรยาที่ไม่ได้เป็นคนโปรดจากมรดกก็ถือว่าฮะรอม ที่มากไปกว่านั้น การที่ญาติคนหนึ่งกีดกันญาติอีกคนที่มีสิทธิได้รับมรดกผ่านกลอุบายต่าง ๆ ก็ถือว่าฮะรอมเช่นกัน[25]
เสื้อผ้าและเครื่องประดับ
แก้ในศาสนาอิสลาม ผู้ชายถูกสั่งห้ามไม่ให้ใส่เครื่องประดับทองและผ้าไหม แต่ผู้หญิงยังคงใส่ได้ ตราบที่ไม่ได้ใช้เพื่อดึงดูดกับผู้ชาย (นอกจากสามีของเธอ) การห้ามนี้เป็นส่วนหนึ่งของหลักการอิสลามเพื่อหลีกเลี่ยงชีวิตที่หรูหราฟุ่มเฟือย[26]
เป็นที่ต้องห้ามสำหรับผู้หญิงในการใส่เสื้อที่ไม่ปกคลุมร่างกายตามหลักศาสนาและเสื้อที่ดูเห็นข้างใน ที่มากไปกว่านั้น การห้ามได้เพิ่มไปถึงความงามที่เกิดจากการเสริมความงามทางร่างกาย การปรับเปลี่ยนที่เป็นฮะรอมในศาสนาอิสลามคือรอยสักและดัดฟันให้สั้น[27]
อิสลามได้ห้ามมุสลิมใช้เครื่องใช้ที่ทำมาจากทองและเงินกับผ้าไหมบริสุทธิ์ในบ้าน เพื่อหลีกเลี่ยงชีวิตอันหรูหราฟุ่มเฟือยในบ้านของตน[28] รูปปั้นต่าง ๆ ถูกห้ามไม่ให้มีในบ้าน และมุสลิมถูกห้ามไม่ให้มีส่วนร่วมในการสร้างรูปปั้น เพราะทำให้ความคิดของตนสับสนเกี่ยวกับความเป็นเอกภาพของอัลลอฮ์[29]
ชิรก์
แก้การสักการะพระเจ้าองค์อื่นนอกจากอัลลอฮ์ถือว่าเป็นบาป ตามโองการอัลกุรอานว่า:
จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่าแท้จริงฉันถูกห้ามมิให้เคารพสักการะ บรรดาผู้ที่พวกท่านวิงวอนกันอยู่ อื่นจากอัลลอฮ์ จวงกล่าวเถิดฉันจะไม่ปฏิบัติตามความใคร่ใฝ่ต่ำของพวกเจ้า ถ้าเช่นนั้นแน่นอน ฉันก็ย่อมหลงผิดไปด้วย และฉันก็จะไม่ใช่เป็นคนหนึ่งในหมู่ผู้ได้รับคำแนะนำ
และฮะดีษกล่าวถึงการทำชิรก์ไว้ว่า:
รายงานจากอิบน์ มัลอูดไว้ว่า มุฮัมมัดได้กล่าวว่า: "ใครก็ตามที่เสียชีวิตโดยที่สักการะพระเจ้าองค์อื่นคู่กับอัลลอฮ์ ก็จะถูกเข้าไปในนรก"
— บันทึกโดยบุคอรี
ตัวอย่าง
แก้ฮะรอม คือกฎบัญญัติห้าม ที่มุกัลลัฟ (มุสลิมผู้อยู่ในศาสนนิติภาวะ) ทุกคนต้องละเว้น เช่น
|
|
โทษทัณฑ์ของผู้ผ่าฝืนกฎบัญญัติห้าม
แก้มุกัลลัฟที่ฝ่าฝืนกฎบัญญัติห้ามจะถูกลงโทษในสองรูปแบบคือ
1. การลงทัณฑ์โดยรัฐอิสลาม เพื่อรักษารักษาความเป็นระเบียบในสังคม เช่น ลงทัณฑ์ฆาตกร ผู้ผิดประเวณี ขโมย ผู้ดื่มสุรา
2. การลงโทษในวันปรโลก อันเป็นหน้าที่ของอัลลอหฺพระผู้เป็นเจ้า
บุคคลที่ฝ่าฝืนกฎบัญญัติห้ามจะได้รับการลุแก่โทษในวันปรโลกได้หากสำนึกผิด (เตาบัต) แต่การลุโทษโดยรัฐอิสลามนั้นขึ้นอยู่กับผู้พิพากษา
ดูเพิ่ม
แก้- สรุปศาสนาอิสลาม
- อภิธานศัพท์ศาสนาอิสลาม
- อะฮ์กาม
- อัลญามิยะฮ์ รายละเอียดสิ่งที่ฮะรอมของชีอะฮ์
- กฎเกี่ยวกับอาหารของชาวคริสต์
- ฮะลาล
- กัชรุต กฎเกี่ยวกับอาหารของชาวยิว
- มักรูฮ์
- มิตซ์วะฮ์ คำศัพท์ภาษายูดายที่ใช้ในแบบเดียวกัน
- ชะรีอะฮ์
- เตรฟ (Treif) คำศัพท์ภาษายิดดิชของผู้ที่ไม่โกเชอร์
- ข้อห้าม
- นิติศาสตร์ญะอ์ฟารี
อ้างอิง
แก้- ↑ Mohammad Taqi al-Modarresi (26 March 2016). The Laws of Islam (PDF) (ภาษาอังกฤษ). Enlight Press. ISBN 978-0994240989. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-02. สืบค้นเมื่อ 22 December 2017.
- ↑ 2.0 2.1 Adamec, Ludwig (2009). Historical Dictionary of Islam, 2nd Edition. Lanham: Scarecrow Press, Inc. p. 102. ISBN 9780810861619.
- ↑ Al-Qardawi, Yusuf (1999). The Lawful and the Prohibited in Islam. American Trust Publications. p. 26.
- ↑ American-Arab Message – p. 92, Muhammad Karoub – 2006
- ↑ The Holy City: Jerusalem in the theology of the Old Testament – p. 20, Leslie J. Hoppe – 2000
- ↑ The Palgrave Handbook of Spirituality and Business – p. 142, Professor Luk Bouckaert, Professor Laszlo Zsolnai – 2011
- ↑ Faruki, Kemal (March 1966). "Al-Ahkam Al-Khamsah: The Five Values". Islamic Studies. 5: 43.
- ↑ Al-Qardawi, Yusuf (1999). The Lawful and the Prohibited in Islam. American Trust Publications. p. 22.
- ↑ Gibb, H. A. R. (editor) (1960). The Encyclopaedia of Islam. Leiden, The Netherlands: E. J. Brill. p. 257.
{{cite book}}
:|first=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ Mohammad Mahbubi Ali; Lokmanulhakim Hussain (9 February 2013). "A Framework of Income Purification for Islamic Financial Institutions". Proceeding of Sharia Economics Conference: 109.
- ↑ Siddiqui, Mona (2012). The Good Muslim. Cambridge University Press. p. 88.
- ↑ Samiullah, Muhammad (Spring 1982). "The Meat: Lawful and Unlawful in Islam". Islamic Studies. 21 (1): 75.
- ↑ Al-Qardawi, Yusuf (1999). The Lawful and the Prohibited in Islam. American Trust Publications. p. 46.
- ↑ 14.0 14.1 Chaudry, Dr. Muhammad Munir; Regenstein, Joe M. (2009). "Animal Welfare Policy and Practice: Cultural and Religious Issues" (PDF). OIE: Organisation for Animal Health. สืบค้นเมื่อ April 1, 2014.
- ↑ Samiullah, Muhammad (Spring 1982). "The Meat: Lawful and Unlawful in Islam". Islamic Studies. 21 (1): 76.
- ↑ Samiullah, Muhammad (Spring 1982). "The Meat: Lawful and Unlawful in Islam". Islamic Studies. 21 (1): 77.
- ↑ Al-Qardawi, Yusuf (1999). The Lawful and the Prohibited in Islam. American Trust Publications. p. 67.
- ↑ Al-Qardawi, Yusuf (1999). The Lawful and the Prohibited in Islam. American Trust Publications. p. 68.
- ↑ Al-Qardawi, Yusuf (1999). The Lawful and the Prohibited in Islam. American Trust Publications. p. 70.
- ↑ Al-Qardawi, Yusuf (1999). The Lawful and the Prohibited in Islam. American Trust Publications. p. 207.
- ↑ Al-Qardawi, Yusuf (1999). The Lawful and the Prohibited in Islam. American Trust Publications. p. 208.
- ↑ 22.0 22.1 Samiullah, Muhammad (Summer 1982). "Prohibition of Riba (Interest) & Insurance in the Light of Islam". Islamic Studies. 2. 21: 53.
- ↑ Samiullah, Muhammad (Summer 1982). "Prohibition of Riba (Interest) & Insurance in the Light of Islam". Islamic Studies. 2. 21: 54.
- ↑ Samiullah, Muhammad (Summer 1982). "Prohibition of Riba (Interest) & Insurance in the Light of Islam". Islamic Studies. 2. 21: 58.
- ↑ Al-Qardawi, Yusuf (1999). The Lawful and the Prohibited in Islam. American Trust Publications. p. 226.
- ↑ Al-Qardawi, Yusuf (1999). The Lawful and the Prohibited in Islam. American Trust Publications. p. 82.
- ↑ Al-Qardawi, Yusuf (1999). The Lawful and the Prohibited in Islam. American Trust Publications. p. 85.
- ↑ Al-Qardawi, Yusuf (1999). The Lawful and the Prohibited in Islam. American Trust Publications. p. 96.
- ↑ Al-Qardawi, Yusuf (1999). The Lawful and the Prohibited in Islam. American Trust Publications. p. 99.