บัสมะละฮ์
บัสมะละฮ์ (อาหรับ: بَسْمَلَة) รู้จักในตอนเริ่มกุรอานว่า บิสมิลลาฮ์ (อาหรับ: بِسْمِ ٱللَّٰهِ, "ด้วยพระนามของอัลลอฮ์")[1] เป็นประโยคอิสลามของคำว่า บิสมิลลาฮิรเราะห์มานิรเราะฮีม (بِسْمِ ٱللَّٰهِ ٱلرَّحْمَٰنِ ٱلرَّحِيمِ), "ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงกรุณาปราณี ผู้ทรงเมตตาเสมอ"
ประโยคนี้ถูกอ่านในแต่ละ ซูเราะฮ์ (บท) ของอัลกุรอาน ยกเว้นซูเราะฮ์ที่เก้า[Notes 1][2] โดยถูกใช้ในหลายแบบ (เช่น ตอนละหมาด) และถูกใช้ในรัฐธรรมนูญกว่าครึ่งประเทศที่ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติหรือครึ่งหนึ่งของประชากรนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งอยู่ในประโยคแรกของบทนำ เช่น อัฟกานิสถาน,[3] บาห์เรน,[4] บังกลาเทศ,[5] บรูไน,[6] อียิปต์,[7] อิหร่าน,[8] อิรัก,[9] คูเวต,[10] ลิเบีย,[11] มัลดีฟส์,[12] ปากีสถาน,[13] ตูนิเซีย[14] และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[15]
ในยูนิโคด บัสมะละฮ์อยู่ที่จุด U+FDFD ﷽
ในบล็อก Arabic Presentation Forms-A
ชื่อ
แก้คำว่า บัสมะละฮ์ เป็นรากจากพยัญชนะสี่ตัวของคำว่า บิสมิลลาฮิ... ได้แก่:[16] บ-ซ-ม-ล (ب س م ل) รากศัพท์พยัญชนะนี้มาจากคำนามว่า บัสมะละ และรูปกริยา หมายถึง "เพื่ออ่าน บัสมะละฮ์" การอ่าน บัสมะละฮ์ คือ ตัสมียะฮ์ (تسمية)
การใช้งานและความสำคัญ
แก้ในอัลกุรอาน บัสมะละฮ์ มักอยู่ในโองการแรกของซูเราะฮ์ แรก แต่รายงานตามมุมมองของอัฏเฏาะบะรี ประโยคนี้ขึ้นต้นอยู่ทุกซูเราะฮ์ ยกเว้น ซูเราะฮ์ ที่ 9 ("อัตเตาบะฮ์") อัลกุรตุบี รายงานว่า สาเหตุที่ไม่มีบัสมะละฮ์ในตอนต้นของซูเราะฮ์อัตเตาบะฮ์ เพราะว่าญิบรีลไม่ได้กล่าวถึง บัสมะละฮ์ ใน ซูเราะฮ์ นี้ ส่วนอีกมุมมองหนึ่งกล่าวว่า ท่านศาสดาเสียชีวิตก่อนประกาศยืนยันว่า อัตเตาบะฮ์ เป็นส่วนหนึ่งของซูเราะฮ์ ที่ 8 (อัลอันฟาล) หรือไม่[17][Notes 1] มันไม่ค่อยปรากฏในตำแหน่งอื่น นอกจากตอนต้นของซูเราะฮ์ คำว่า บัสมะละฮ์ ปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของ ซูเราะฮ์ ในอายะฮ์ที่ 30 ของ ซูเราะฮ์ ที่ 27 ("อันนัมล์") โดยเป็นบนนำของจดหมายจากสุลัยมานที่ส่งให้บิลกิส พระราชินีแห่งชีบา
บัสมะละฮ์ ถูกใช้บ่อยมากในชีวิตมุสลิมทุกวัน โดยจะอ่านก่อนทำสิ่งใด เพื่อได้รับความกรุณาจากอัลลอฮ์[18]การอ่าน บัสมะละฮ์ เป็นสิ่งที่จำเป็นในการเตรียมอาหารฮะลาล
บัสมะละฮ์มีคำนามอยู่สามคำ—อัลลอฮ์, อัรเราะฮ์มาน และ อัรเราะฮีม—เป็นสามคำแรกจาก 99 พระนามของอัลลอฮ์ในศาสนาอิสลาม ทั้ง อัรเราะฮ์มาน กับ อัรเราะฮีม มาจากรากอักษรสามคำเดียวกันว่า ร-ฮ-ม หมายถึง "รู้สึกเห็นอกเห็นใจ หรือสงสาร"
ฮะดีษ
แก้มีบางฮะดีษส่งเสริมให้มุสลิมอ่านบิสมิลลอฮ์ก่อนกินหรือดื่ม เช่น:
อาอิชะฮ์รายงานว่า: "ท่านศาสดากล่าวว่า “เมื่อพวกท่านคนใดจะรับประทานอาหาร เขาก็จงกล่าวพระนามของอัลลอฮ์ (บิสมิลลาฮ์) แต่หากเขาลืมกล่าวพระนามของอัลลอฮฺในตอนแรก ก็ให้เขากล่าวว่า บิสมิลลาฮิเอาวะละฮุ วะอาคิเราะฮู (ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ทั้งเริ่มแรกและสุดท้ายล้วนเป็นของพระองค์)"
- — บันทึกโดยอัตติรมิซีและอบูดาวูด
อุมัยยะฮ์ อิบน์ มักชี รายงานว่า: "ท่านศาสดานั่งอยู่ในตอนที่ชายคนหนึ่งกำลังกินอาหาร เขาไม่ได้กล่าวพระนามอัลลอฮ์จนเหลืออาหารแค่คำเดียว เมื่อเขายกมันมาที่ปาก เขากล่าวว่า บิสมิลลาฮิเอาวะละฮุ วะอาคิเราะฮู ท่านศาสดายิ้มและกล่าวว่า "ชัยฏอนได้กินพร้อมกับเขา แต่ในตอนที่เขากล่าวพระนามอัลลอฮ์ ชัยฏอนได้สำลักอาหารออกจากท้องจนหมด".
ตัฟซีร
แก้คำอธิบายของบัสมะละฮ์ในตัฟซีร อัฏเฏาะบะรี, อัฏเฏาะบะรีเขียนว่า:
- “ศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ขอความโปรดปรานแห่งอัลลอฮฺ และความสันติจงมีแด่ท่าน) กล่าวว่าเมื่อมัรยัมส่งอีซาไปที่โรงเรียน [คุณครู] พูดกับท่านว่า: ‘จงเขียน “บิสม์ (ด้วนพระนามของ)”’ และอีซาถามเขาว่า: ‘“บิสม์”คืออะไร?’ ครูตอบว่า: ‘ฉันไม่รู้’ อีซาตอบว่า: ‘ตรง “บาอ์” คือบะฮาอุลลอฮ์ (ความรุ่งโรจน์ของอัลลอฮ์) ตัว “ซีน” คือ ซะนาอ์ของพระองค์ (รัศมี) และตัว “มีม” คือมัมละกะฮ์ของพระองค์ (อำนาจอธิปไตย)”[19]
ความหมายในศาสนาคริสต์
แก้บางครั้ง ชาวคริสต์ที่พูดภาษาอาหรับใช้คำว่า บัสมะละฮ์ เพื่ออิงถึงการกล่าวถึงพระตรีเอกภาพว่า "ในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์" (باسم الآب والابن والروح القدس บิสมิลอาบิวัลอิบนิวัรรูฮิลกุดุส) จากมัทธิว 28:19.[20]
ในวัฒนธรรมร่วมสมัย
แก้เจ้าหน้าที่อิหร่านอนุญาตให้อัลบั้มเพลงร็อกของวงควีน เผยแพร่ในประเทศอิหร่านเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2004 เพราะในเพลง "โบฮีเมียนแรปโซดี" มีการเน้นคำว่า บิสมิลลาฮ์[21]
ดูเพิ่ม
แก้หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Shelquist, Richard (2008-01-03). "Bismillah al rahman al rahim". Living from the Heart. Wahiduddin. สืบค้นเมื่อ 2009-06-21.
- ↑ Ali, Kecia; Leaman, Oliver (2008). Islam: the key concepts (Repr. ed.). London: Routledge. ISBN 0-415-39638-7.
- ↑ "Afghanistan Constitution". International Constitutional Law Project. สืบค้นเมื่อ 5 January 2016.
- ↑ "Constitution of the State of Bahrain" (PDF). Constitution Finder. University of Richmond. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-06-16. สืบค้นเมื่อ 5 January 2016.
- ↑ "The Constitution of the People's Republic of Bangladesh". Laws of Bangladesh. Ministry of Law, Justice and Parliamentary Affairs. สืบค้นเมื่อ 5 January 2016.
- ↑ "Constitution of Brunei Darussalam (as revised 1984)" (PDF). Constitution Finder. University of Richmond. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 5 January 2016.
- ↑ "Constitution of the Arab Republic of Egypt 2014" (PDF). Egypt State Information Service. Egypt State Information Service. สืบค้นเมื่อ 5 January 2016.
- ↑ "Constitution of the Islamic Republic of Iran". International Constitutional Law Project. สืบค้นเมื่อ 5 January 2016.
- ↑ "Iraqi Constitution" (PDF). Republic of Iran - Ministry of Interior - General Directorate of Nationality. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 November 2016. สืบค้นเมื่อ 5 January 2016.
- ↑ "Kuwait Constitution". International Constitutional Law Project. สืบค้นเมื่อ 5 January 2016.
- ↑ "Libya's Constitution of 2011" (PDF). Constitute Project. สืบค้นเมื่อ 5 January 2016.
- ↑ "Constitution of the Republic of Maldives 2008" (PDF). Republic of Maldives Ministry of Tourism. สืบค้นเมื่อ 5 January 2016.
- ↑ "The Constitution of the Islamic Republic of Pakistan" (PDF). National Assembly of Pakistan. สืบค้นเมื่อ 5 January 2016.
- ↑ "The Constitution of the Republic of Tunisia" (PDF). Venice Commission. Council of Europe. สืบค้นเมื่อ 5 January 2016.
- ↑ "Constitution of the United Arab Emirates" (PDF). Refworld The Leader in Refugee Decision Support. United Nations High Commissioner for Refugees. สืบค้นเมื่อ 5 January 2016.
- ↑ A New Arabic Grammar of the Written Language by J.A. Haywood and H.M. Nahmad (London: Lund Humphries, 1965), ISBN 0-85331-585-X, p. 263.
- ↑ "The reason behind that At-Tawbah is the only Surah without Basmala". quranonline.net. สืบค้นเมื่อ 2020-06-23.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Islamic-Dictionary.com Definition". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-08. สืบค้นเมื่อ 2011-11-18.
- ↑ Momen, M. (2000). Islam and the Bahá'í Faith. Oxford, UK: George Ronald. p. 242. ISBN 0-85398-446-8. In note 330 on page 274 of the same book Dr. Momen states the following: "At-Tabarí, Jámi’-al-Bayán, vol. 1, p.40. Some of the abbreviated editions of this work (such as the Mu’assasah ar-Risálah, Beirut, 1994 edition) omit this passage as does the translation by J. Cooper (Oxford University Press, 1987). Ibn kathír records this tradition, Tafsír, vol. 1, p. 17. As-Suyútí in ad-Durr al-Manthúr, vol. 1, p. 8, also records this tradition and gives a list of other scholars who have cited it including Abú Na’ím al-Isfahání in Hilyat al-Awliya’ and Ibn ‘Asákir in Taríkh Dimashq."
- ↑ Dictionary of Modern Written Arabic by Hans Wehr, edited by J.M. Cowan, 4th edition 1979 (ISBN 0-87950-003-4), p. 73. C.f. Matthew 28:19 (Arabic) เก็บถาวร กุมภาพันธ์ 12, 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved 2011-07-25.
- ↑ "Queen album brings rock to Iran". BBC News. 2004-08-24. สืบค้นเมื่อ 2007-03-04.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Bismillah Samples, a collection of bismillah art-forms.
- Bismallah in Tadabbur-i-Qur'an.
- Meaning of Bismillah
- Beyond Probability, God's Message in Mathematics. Series 1: The Opening Statement of the Quran (The Basmalah).
- The Blessed Basmala เก็บถาวร 2020-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Seeking a healing cure by means of Basmala, the pure