อะบูดาวูด
อะบูดาวูด สุลัยมาน อิบน์ อัลอัชอัษ อัลอัซดี อัซซิญิสตานี (อาหรับ: أبو داود سليمان بن الأشعث الأزدي السجستاني) มักเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อะบูดาวูด เป็นนักปราชญ์ชาวเปอร์เซียที่สะสมฮะดีษ โดยที่หนังสือ ซุนันอะบูดาวูด ของเขาอยู่ในลำดับที่สามของหกชุดสะสมฮะดีษที่ดีของชาวมุสลิมนิกายซุนนี
อะบูดาวูด สุลัยมาน อิบน์ อัลอัชอัษ อัลอัซดี อัซซิญิสตานี | |
---|---|
ส่วนบุคคล | |
เกิด | ค.ศ.817–18 Sigistan |
มรณภาพ | ค.ศ.889 |
ศาสนา | อิสลาม |
ชาติพันธุ์ | ชาวเปอร์เซีย |
ยุค | ยุคทองของอิสลาม |
นิกาย | ซุนนี |
สำนักคิด | ฮัมบาลี |
ความสนใจหลัก | ฮะดีษ และ ฟิกฮ์ |
ผลงานโดดเด่น | ซุนัน อะบูดาวูด |
อาชีพ | มุฮัดดิษ |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ประวัติ
แก้อะบูดาวูดถือกำเนิดในซิสถาน, ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของประเทศอิหร่าน และเสียชีวิตในปีค.ศ.889 ที่เมืองบัสเราะฮ์. นักวิชาการบางคนกล่าวว่าอะบูดาวูดเกิดในแคว้นบาโลชิสถาน (ปัจจุบันคือส่วนของอิหร่านกับปากีสถาน) แล้วย้ายไปที่คุรอซาน. มีหลักฐานว่าเขาเดินทางไปประเทศอิรัก, อียิปต์, ซีเรีย, แคว้นฮิญาซ, ติฮามะฮ์, นิชาปูร และเมิร์ฟ เพื่อเก็บข้อมูลฮะดีษที่เขาคิดว่าดี นั่นทำให้จำนวนฮะดีษที่มีทั้งหมด 500,000 รายงาน จึงเหลือแค่ 4,800 รายงานในหนังสือฮะดีษของเขา
ผลงาน
แก้เขาแต่งหนังสือทั้งหมด 21 เล่ม หนังสือบางเล่ม เป็นหนังสือที่สำคัญ เช่น:
- ซุนัน อะบูดาวูด เป็นหนังสือที่มีฮะดีษกว่า 4,800 รายงาน.
- กิตาบ อัล-มารอซีล เป็นหนังสือที่มีฮะดีษประมาณ 600 รายงาน
- ริซาลัต อะบูดาวูด อิลา อะฮ์ลี มักกะฮ์ เป็นจดหมายที่เกียวกับมักกะฮ์ ตามข้อมูลในซุนัน อะบูดาวูด.[2]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Al-Bastawī, ʻAbd al-ʻAlīm ʻAbd al-ʻAẓīm (1990). Al-Imām al-Jūzajānī wa-manhajuhu fi al-jarḥ wa-al-taʻdīl. Maktabat Dār al-Ṭaḥāwī. p. 9.
- ↑ Translation of the Risālah by Abū Dāwūd เก็บถาวร สิงหาคม 19, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน