ซูเราะฮ์ อัลฟาติฮะฮ์ (อาหรับ: سُورَةُ الْفَاتِحَة) เป็นบทที่หนึ่ง (ซูเราะฮ์) ของอัลกุรอ่าน มีเจ็ดโองการ (อายะฮ์) เป็นบทที่จำเป็นต่อการละหมาดเพื่อชี้แนวทางของอัลลอฮ์[1]  และเป็นซูเราะฮ์แรกที่ต้องอ่านทุกครั้งในทุกๆ ตักบีร์[2]

ปกกุรอ่านศตวรรษที่ 14 หรือ 15

ชื่อ

แก้

ชื่ออัลฟาติฮะฮ์  ("บทนำ") หมายถึงเปิดสิ่งของหรือหนังสือและอื่นๆ

คำว่า الفاتحة มีรากมาจากคำว่า فتح ที่หมายถึงเปิด, อธิบาย, ไม่ปิด, กุญแจสมบัติ ฯลฯ หมายความว่าซูเราะฮ์ อัล-ฟาติฮะฮ์เป็นบทสรุปทั้งอัลกุรอ่านและเป็นเหตุผลว่าทำไมต้องอ่านซูเราะฮ์อัล-ฟาติฮะฮ์ในการละหมาดทุกครั้ง

ซูเราะฮ์นี้มีชื่อต่างๆ เช่น อุมมุลกิตาบ ("มารดาแห่งหนังสือ") อุมมุลกุรอ่าน ("มารดาแห่งอัลกุรอ่าน")[3][4] ซะบาอะ อัล-มะซานี ("โองการทั้งเจ็ดที่อ่านซ้ำ") อัล-ฮัมด์ ("สรรเสริญ")[5] อัล-ชิฟาอฺ ("การรักษา")[6][7] อัล-รุกยะฮ์ ("การรักษาทางจิตวิญญาณ"),[4] และอัล-อะซาส ("การก่อตั้ง")[8]

ตัวอ่านและทับศัพท์อักษรโรมัน

แก้

1. بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ
(Bismillāhi r-raḥmāni r-raḥīm)

2. الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
(Al ḥamdu lillāhi rabbi l-’ālamīn)

3. الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ
(Ar raḥmāni r-raḥīm)

4. مَالِكِ يَوْمِ الدِّينِ
(Māliki yawmi d-dīn)

5. إِيَّاكَ نَعْبُدُ وَإِيَّاكَ نَسْتَعِينُ
(Iyyāka na’budu wa iyyāka nasta’īn)

6. اهْدِنَا الصِّرَاطَ الْمُسْتَقِيمَ
(Ihdinā ṣ-ṣirāṭ al-mustaqīm)

7. صِرَاطَ الَّذِينَ أَنْعَمْتَ عَلَيْهِمْ غَيْرِ الْمَغْضُوبِ عَلَيْهِمْ وَلَا الضَّالِّينَ
(Ṣirāṭ al-laḏīna an’amta ‘alayhim, ġayril maġḍūbi ‘alayhim walāḍ ḍāllīn)

แปลความหมาย

แก้

(1) ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปราณี ผู้ทรงเมตตาเสมอ

(2) การสรรเสริญทั้งหลายนั้น เป็นสิทธิของอัลลอฮฺผู้เป็นพระเจ้าแห่งสากลโลก

(3) ผู้ทรงกรุณาปราณี ผู้ทรงเมตตาเสมอ

(4) ผู้ทรงอภิสิทธิ์แห่งวันตอบแทน

(5) เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่พวกข้าพระองค์เคารพอิบาดะฮฺ และเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่พวกข้าพระองค์ขอความช่วยเหลือ

(6) ขอพระองค์ทรงแนะนำพวกข้าพระองค์ซึ่งทางอันเที่ยงตรง

(7) (คือ) ทางของบรรดาผู้ที่พระองค์ได้ทรงโปรดปราณแก่พวกเขา มิใช่ในทางของพวกที่ถูกกริ้ว และมิใช่ทางของพวกที่หลงผิด

เบี้องหลัง

แก้

รายงานจากอับดุลลอฮ์ อิบนุ อับบาส และคนอื่นๆ ว่า อัลฟาติฮะฮ์เป็นซูเราะฮ์มักกียะฮ์ ในขณะที่บางคนรายงานว่าเป็นซูเราะฮ์มะดานียะฮ์ บางคนเชื่อว่าเป็นทั้งซูเราะฮ์มักกียะฮ์และมะดานียะฮ์[9][10] ในกุรอ่านมีซูเราะฮ์แรกๆที่ถูกประทานให้กับมุฮัมหมัดแค่บางอายะฮ์ของซูเราะฮ์ อัล-อะลัก, มุซซัมมิล, อัล-มุดัสซิรฺ ฯลฯ รายงานส่วนใหญ่ได้บอกว่าซูเราะฮ์อัล-ฟาติฮะฮ์เป็นซูเราะที่สมบูรณ์อันแรกที่ถูกประทานให้กับนบีมุฮัมหมัด

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Maududi, Sayyid Abul Ala. Tafhim Al Quran.
  2. Joseph E. B. Lumbard "Commentary on Sūrat al-Fātiḥah," The Study Quran. ed. Seyyed Hossein Nasr, Caner Dagli, Maria Dakake, Joseph Lumbard, Muhammad Rustom (San Francisco: Harper One, 2015), p. 3.
  3. Mulla Sadra. Tafsir al-Quran al-Karim. pp. 1:163–164.
  4. 4.0 4.1 Ibn Kathir. Tafsir Ibn Kathir.
  5. Abu al-Qasim al-Khoei. Al-Bayan Fi Tafsir al-Quran. p. 446.
  6. Muhammad Baqir Majlisi. Bihar al-Anwar. pp. 89:238.
  7. Al-Hurr al-Aamili. Wasā'il al-Shīʿa. pp. 6:232.
  8. Joseph E. B. Lumbard, "Introduction to Sūrat al-Fātiḥah," The Study Quran. ed. Seyyed Hossein Nasr, Caner Dagli, Maria Dakake, Joseph Lumbard, Muhammad Rustom (San Francisco: Harper One, 2015), p. 3.
  9. Ahmad, Mirza Bahir Ud-Din (1988). The Quran with English Translation and Commentary. Islam International Publications Ltd. p. 1. ISBN 1-85372-045-3.
  10. English Translation and Commentary 5 Volumes

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้