ข้อห้าม[1] (อังกฤษ: taboo) เป็นการห้ามไม่ให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (มักจะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการพูดหรือพฤติกรรม) บนพื้นฐานของความรู้สึกทางวัฒนธรรมซึ่งคนทั่วไปมองว่าสิ่งดังกล่าวน่ารังเกียจหรือเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ[2][3] โดยข้อห้ามแต่ละอย่างปรากฏอยู่ในทุกสังคม[2]

ในเชิงเปรียบเทียบ ข้อห้ามที่เกี่ยวข้องกับรายการอาหารดูเหมือนจะไม่สมเหตุสมผลเลย เนื่องจากสิ่งที่อาจถูกมองว่าไม่เหมาะสำหรับบุคคลบางกลุ่มที่ยึดหลักตามธรรมเนียมหรือศาสนา ก็อาจเป็นที่ยอมรับอย่างสมบูรณ์ต่อกลุ่มอื่น ๆ ได้เช่นกัน

ข้อห้ามมักจะมีจุดประสงค์เพื่อปกป้องมนุษย์ให้อยู่รอดได้ในสังคมนั้น ๆ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการแพทย์หรือระบบนิเวศซึ่งมีความชัดเจนในหลาย ๆ ด้าน รวมถึงศาสนาหรือจิตวิญญาณ หรืออาจมีจุดประสงค์อื่น ๆ ด้วย ข้อห้ามที่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มหรือชนเผ่าใดกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต มักช่วยในเรื่องการติดต่อกัน รวมไปถึงการรักษาเอกลักษณ์ของชนเผ่าตนต่อหน้าชนเผ่าอื่น ๆ ด้วย[4]

อ้างอิง แก้

  1. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรมศัพท์มานุษยวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2561, หน้า 345.
  2. 2.0 2.1 Encyclopædia Britannica Online. "Taboo." Encyclopædia Britannica Inc., 2012. Retrieved 21 Mar. 2012
  3. Merriam-Webster's Online Dictionary, 11th Edition. "Taboo."
  4. Meyer-Rochow, Victor Benno (2009). "Food taboos: their origins and purposes". Journal of Ethnobiology and Ethnomedicine. 5-18:: 18. doi:10.1186/1746-4269-5-18. PMC 2711054. PMID 19563636.{{cite journal}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)   This article contains quotations from this source, which is available under the Creative Commons Attribution 2.0 Generic (CC by 2.0) license.