ภาษาอูรดู

(เปลี่ยนทางจาก ภาษาอุรดู)

ภาษาอูรดู (อูรดู: اردو) (รู้จักกันในชื่อภาษาว่า Lashkari لشکری[1]) เป็นภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-อารยัน ซึ่งพัฒนามาจากหลายภาษารวมกันคือ ภาษาเปอร์เซีย ตุรกี อาหรับ ฮินดี และสันสกฤต นิยมใช้กันมากในช่วงสมัยรัฐสุลต่านเดลี และจักรวรรดิโมกุล (ค.ศ. 1200-1800)

ภาษาอูรดู
اردو
ออกเสียง[ˈʊrduː]  ( ฟัง)
ประเทศที่มีการพูดประเทศอินเดีย ประเทศปากีสถาน และประชากรอย่างน้อย 1% ของประเทศบาห์เรน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประเทศโอมาน ประเทศกาตาร์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย
ชาติพันธุ์ชาวอูรดู, ชาวเดกกัน
จำนวนผู้พูด61 ล้านคน (ภาษาแม่)
104 ล้านคน (ทั้งหมด)  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ระบบการเขียนอักษรอูรดู
อักษรละติน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ ปากีสถาน
 อินเดีย
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน แอฟริกาใต้
รหัสภาษา
ISO 639-1ur
ISO 639-2urd
ISO 639-3urd

ภาษาอูรดู อยู่ในอันดับที่ 20 ของภาษาที่มีคนใช้เป็นภาษาแม่ และเป็นภาษาราชการของประเทศปากีสถาน นอกจากนี้ยังเป็นภาษาหนึ่งในภาษาราชการ 23 ภาษา ของประเทศอินเดีย

ไวยากรณ์ แก้

ไวยากรณ์ของภาษาอูรดูใกล้เคียงกับภาษาฮินดีมาก คำนามแบ่งเป็นปุลลึงค์ (ชาย) และสตรีลึงค์ (หญิง) มีการกำหนดเพศให้กับคำนามที่เป็นคำยืมจากภาษาอื่นเช่นภาษาอังกฤษด้วย คำนามแบ่งเป็นนามเอกพจน์และพหูพจน์

ระดับความสุภาพ แก้

ภาษาอูรดูมีการแบ่งระดับความสุภาพ คำหลายคำมีความหมายเหมือนกัน แต่ใช้ในสถานการณ์ที่ต่างกัน คำที่มาจากภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับมักได้รับการยอมรับว่าเป็นทางการ ตัวอย่างเช่นคำว่า "คุณ" ในภาษาอูรดูมี 3 คำ คือ "ตู" (ไม่เป็นทางการมาก) "ตุม" (ไม่เป็นทางการ) และ "อาป" (แสดงการยกย่อง) คำว่า "มา" มี 3 คำเช่นเดียวกันคือ "ไอเย" หรือ "อาเอ็น" (ทางการ แสดงความยกย่อง) "เอา" (ไม่เป็นทางการ) และ "อา" (ไม่เป็นทางการอย่างมาก)

คำศัพท์ แก้

ส่วนใหญ่มีที่มาจากอินเดียและตะวันออกกลาง ทั้งที่ยืมมาจากภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ ภาษาสันสกฤต ภาษาภาษาเคิร์ดภาษาโปรตุเกส และภาษาอังกฤษ คำที่มาจากภาษาอาหรับจะมีความหมายต่างไปจากเดิมบ้างเล็กน้อยและการใช้ต่างจากในภาษาเดิม

ระบบการเขียน แก้

ภาษาอูรดูเขียนด้วยอักษรอาหรับ-เปอร์เซีย เขียนจากขวาไปซ้าย การเขียนต่างจากภาษาอาหรับที่ว่า ภาษาอูรดูเขียนแบบ Nasta'liq ซึ่งจัดตัวพิมพ์ยาก ส่วนภาษาอาหรับเขียนแบบ Naskh หนังสือพิมพ์ภาษาอูรดูจึงพิมพ์จากแท่นพิมพ์ที่ทำมาจากลายมือเขียน จนถึงราว พ.ศ. 2523 หนังสือพิมพ์ เดลลี่ จัง จึงเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาอูรดูฉบับแรกที่พิมพ์ในแบบ Nasta'liq ด้วยคอมพิวเตอร์ หนังสือที่เขียนด้วยภาษาอูรดูในปัจจุบัน ใช้คอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมภาษาอูรดูต่าง ๆ กันไป

ต่อไปนี้เป็นตารางแสดงอักษรสำหรับภาษาอูรดู

อักษร ชื่ออักษร การออกเสียงแสดงด้วยสัทอักษร
ا alif [ə, ɑ] หลังพยัญชนะ; ไม่ออกเสียงเมื่อเป็นตัวแรก
ب be [b]
پ pe [p]
ت te [t̪] ต วางลิ้นหว่างไรฟัน
ٹ ṭe [ʈ] ต ลิ้นแตะเพดาลบน
ث se [s]
ج jīm [dʒ] จ ก้อง คล้าย j ในภาษาอังกฤษ
چ cīm/ce [tʃ]
ح baṛī he [h]
خ khe [x] ค กดเพดาลลงกั้นลม คล้าย h ใน pinyin จีน
د dāl [d̪] ด วางลิ้นหว่างไรฟัน
ڈ ḍāl [ɖ] ด ลิ้นแตะเพดาลบน
ذ zāl [z] ซ ก้อง คล้าย z ในภาษาอังกฤษ
ر re [r]
ڑ ṛe [ɽ] ร ลิ้นแตะเพดาลบน
ز ze [z] ซ ก้อง คล้าย z ในภาษาอังกฤษ
ژ zhe [ʒ] ช ลิ้นแตะหลังเหงือก ก้อง คล้าย j ในภาษาฝรั่งเศส
س sīn [s]
ش shīn [ʃ] ช ลิ้นแตะหลังเหงือก คล้าย sh ในภาษาอังกฤษ
ص su'ād [s]
ض zu'ād [z] ซ ก้อง คล้าย z ในภาษาอังกฤษ
ط to'e [t]
ظ zo'e [z] ซ ก้อง คล้าย z ในภาษาอังกฤษ
ع ‘ain [ɑ] หลังพยัญชนะ; ที่อื่นเป็น [ʔ], [ə], หรือไม่ออกเสียง
غ ghain [ɣ] ค กดเพดาลลงกั้นลม ก้อง คล้าย g ในภาษาเวียดนาม
ف fe [f]
ق qāf [q] ก ลิ้นไก่
ک kāf [k]
گ gāf [g] ก ก้อง คล้าย g ในภาษาอังกฤษ
ل lām [l]
م mīm [m]
ن nūn [n] น หรือ สระนาสิก อํ
و vā'o [w, u, o, ɔ] ว~อู~โอ~ออ
ہ, ﮩ, ﮨ choṭī he [ɑ] ที่ท้ายคำ, ที่อื่นเป็น [h] หรือไม่ออกเสียง
ھ do cashmī he [ʰ~ʱ] สัญลักษณ์ ออกเสียงพ่นลม เช่น ก>ค จ>ช ต>ท ป>พ เป็นต้น
ی choṭī ye [j, i, e, ɛ] ย~อี~เอ~แอ
ے baṛī ye [eː] เอ
ء hamzah [ʔ] หรือไม่ออกเสียง

ในปัจจุบันมีการเขียนภาษาอูรดูด้วยอักษรโรมัน และเป็นที่นิยมในหมู่เยาวชนโดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต มีเว็บไซต์ที่เป็นภาษาอูรดูเขียนด้วยอักษรโรมัน คนรุ่นใหม่จำนวนหนึ่งที่พูดภาษาอูรดู แต่อ่านภาษาอูรดูที่เขียนด้วยอักษรอาหรับไม่ได้

ตัวอย่าง แก้

ภาษาไทย ภาษาอูรดู คำอ่าน หมายเหตุ
สวัสดี السلام علیکم assalāmu ‘alaikum ตรงตัว "สันติภาพมาถึงคุณ"
اداب [aˈdaːb] ใช้ทั่วไป
ใช้เพื่อแสดงความนับถือ
و علیکم السلام [ˈwaɭikum ˈaʔsaɭam]
เป็นการตอบรับที่ถูกต้อง.
สวัสดี آداب عرض ہے ādāb arz hai "ด้วยความนับถือ"
(ตรงตัว แสดงความนับถือ),
เป็นการทักทายที่เป็นทางการมากสำหรับคนทั่วไป
ลาก่อน خدا حافظ khudā hāfiz คุดา เป็น ภาษาเปอร์เซีย หมายถึงพระเจ้า,
และ hāfiz มาจากภาษาอาหรับhifz "การป้องกัน".
ดังนั้น ตรงตัว "พระเจ้าคุ้มครองคุณ"
ใช้เป็นมาตรฐานทั่วไป
ทั้งผู้เป็นและไม่เป็นมุสลิมหรือ al vida คำพูดที่เป็นทางการโดยทั่วไป
ใช่ ہاں n ไม่เป็นทางการ
ใช่ جی เป็นทางการ
ใช่ جی ہاں jī hān เป็นทางการมาก
ไม่ نا ไม่เป็นทางการ
ไม่ نہیں، جی نہیں nahīn, jī nahīn เป็นทางการ;jī nahīn เป็นทางการมากกว่า
ได้โปรด مہربانی meharbānī
ขอบคุณ شکریہ shukrīā
เข้ามาข้างในเถอะ تشریف لائیے tashrīf laīe ตรงตัว นำความซื่อสัตย์ของคุณเข้ามา
นั่งลงเถอะ تشریف رکھیئے tashrīf rakhīe ตรงตัว วางความซื่อสัตย์ของคุณลง
ฉันดีใจที่ได้พบคุณ اپ سے مل کر خوشی ہوئی āp se mil kar khvushī (khushī) hūye ตรงตัว การพบคุณทำให้ฉันมีความสุข
คุณพูดภาษาอังกฤษได้ไหม کیا اپ انگریزی بولتے ہیں؟ kya āp angrezī bolte hain?
ฉันพูดภาษาอูรดูไม่ได้ میں اردو نہیں بولتا/بولتی main urdū nahīn boltā/boltī boltā เป็นปุลลึงค์, boltī เป็นสตรีลึงค์
ฉันชื่อ... میرا نام ۔۔۔ ہے merā nām .... hai
ทางไหนไปลาฮอร์ لاھور کس طرف ہے؟ lāhaur kis taraf hai?
ลัคเนาอยู่ที่ไหน? لکھنئو کہاں ہے؟ lakhnau kahān hai
ภาษาอูรดูเป็นภาษาที่ดี اردو اچھی زبان ہے urdū acchī zabān hai

การอ้างอิง แก้

  1. 1. Khadija Shakeel, Ghulam Rasool Tahir, Irsha Tehseen, Mubashir Ali, "A framework of Urdu topic modeling using latent dirichlet allocation (LDA)", Computing and Communication Workshop and Conference (CCWC) 2018 IEEE 8th Annual, pp. 117-123, 2018.