พระยาจุฬาราชมนตรี (เถื่อน)

พระยาจุฬาราชมนตรี นามเดิม เถื่อน มีศาสนนามว่า อามิรระชามุฮัมหมัด เกิดในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นบุตรของพระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) ท่านถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาขณะอายุเพียง 13 -14 ปี ต่อมาได้บวชเป็นสามเณรเรียนวิชาไสยศาสตร์กับอาจารย์ชาวเขมรอยู่พม่า 7 ปี จนอายุ 19 ปีจึงหนีกลับเข้าไทยทางแม่สอดไปหาบิดาที่ขณะนั้นไปราชการทัพที่เชียงใหม่และเชียงแสน

พระยาจุฬาราชมนตรี (เถื่อน)
จุฬาราชมนตรี คนที่ 7
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าพระยาจุฬาราชมนตรี (อากายี)
ถัดไปพระยาจุฬาราชมนตรี (น้อย)
ข้อมูลส่วนบุคคล
ศาสนาอิสลามนิกายชีอะฮ์ (เดิมศาสนาพุทธ)
คู่สมรสคุณหญิงนก
บุตร4 คน
บุพการี

เมื่อกลับมา ท่านได้เรียนวิชาทางศาสนาอิสลามใหม่ และได้เข้ารับราชการในกรมทหารอาทมาตในสมัยรัชกาลที่ 1 ในสมัยรัชกาลที่ 2ได้เป็นหลวงภักดีสุนทร ได้ร่วมรบในสงครามตีเมืองถลางและไทรบุรี เมื่อเสร็จศึกได้เป็นพระยาวรเชษฐ์ภักดีศรีวรข่าน ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นจุฬาราชมนตรี ถึงแก่อนิจกรรมในสมัยรัชกาลที่ 3 ศพของท่านฝังอยู่ที่มัสยิดต้นสน

พระยาจุฬาราชมนตรีสมรสกับคุณหญิงนก มีบุตรธิดา 4 คน หนึ่งในนั้นคือ เจ้าจอมจีบ หรือจิตร ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย[1]

พระยาจุฬาราชมนตรีถึงแก่อสัญกรรมในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 3

อ้างอิง แก้

  1. จักรพันธ์ กังวาฬ. และคนอื่น ๆ. กรุ่นกลิ่นอารยธรรมเปอร์เซียในเมืองสยาม. กรุงเทพฯ : มติชน. 2550, หน้า 162
  • ภัทระ คาน. สุสานประวัติศาสตร์ 3 สมัย ใน มุสลิมมัสยิดตนสนกับบรรพชนสามสมัย. กทม. จิรรัชการพิมพ์. 2544
  • เอกราช มูเก็ม. จุฬาราชมนตรี ประวัติศาสตร์ผู้นำไทยมุสลิมจากสมัยอยุธยาถึงยุคทักษิณ. กทม. ร่วมด้วยช่วยกัน. 2549. หน้า 30-32
ก่อนหน้า พระยาจุฬาราชมนตรี (เถื่อน) ถัดไป
พระยาจุฬาราชมนตรี (อากายี)   พระยาจุฬาราชมนตรี คนที่ 7
  พระยาจุฬาราชมนตรี (น้อย)