มัสยิดต้นสน
มัสยิดต้นสน หรือ กุฎีบางกอกใหญ่ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า กุฎีใหญ่[3] และเคยถูกเรียกว่า สุเหร่าคลองนางหงษ์[4] เป็นมัสยิดซุนนีที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร ประมาณกันว่าเป็นมัสยิดที่เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ก่อนสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. 2153–2171) ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา[5]
มัสยิดต้นสน | |
---|---|
Tonson Mosque | |
มัสยิดต้นสน มุมมองจากสะพานอนุทินสวัสดิ์ | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ประเภท | มัสยิด |
สถาปัตยกรรม | สถาปัตยกรรมอิสลาม แบบประเทศอิหร่านและประเทศอียิปต์[1] |
เมือง | 447 ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร |
ประเทศ | ประเทศไทย |
เริ่มสร้าง | พ.ศ. 2211 (พื้นที่มัสยิด) พ.ศ. 2495 (อาคารมัสยิดต้นสน) |
ผู้สร้าง | เจ้าพระยาราชวังสันเสนีย์ (ม๊ะหมูด) (พ.ศ. 2211) |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
โครงสร้าง | ก่ออิฐถือปูน |
ชื่อกุฎีบางกอกใหญ่ หรือกุฎีใหญ่นั้น ก็เพราะมัสยิดตั้งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ ส่วนชื่อมัสยิดต้นสนนั้น ได้มาจากต้นสนคู่ที่ปลูกใหม่ในสมัย รัชกาลที่ 3 หน้าประตูกำแพงหลังเสร็จสิ้นการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ จึงเรียกชื่อดังกล่าวสืบมา[6]
ประวัติ
แก้มัสยิดต้นสน เป็นศาสนสถานที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีศาสนกิจฝังศพ เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ (หมุด) นายทหารคู่พระทัยและโปรดเกล้าฯให้ปฏิสังขรณ์และพระราชทานที่ดินขยายพื้นที่จากเดิมที่เจ้าพระยาราชวังสันเสนีย์ (ม๊ะหมูด) บุตรเจ้าพระยารามเดโชชัยสร้างไว้ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ในอดีตมุสลิมชีอะฮ์ไม่มีมัสยิดสำหรับประกอบศาสนกิจ ก็ได้ใช้มัสยิดต้นสนในการปฏิบัติศาสนกิจทั่วไป รวมทั้งกิจในเดือนมะหะหร่ำของชีอะฮ์ หรือแม้แต่การใช้กุโบร์ร่วมกัน[7]
นอกจากการปฏิบัติศาสนกิจแล้ว มัสยิดต้นสนยังเปิดสอนวิชาศาสนาและภาษาอาหรับสำหรับเยาวชนช่วงวันหยุด[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ รูปแบบทางสถาปัตยกรรมของมิหร็อบของมัสยิดต้น .เว็บไซด์: http://www.damrong-journal.su.ac.th/
- ↑ มัสยิดต้นสน เก็บถาวร 2019-10-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ท่องผ่านเว็บ .สืบค้นเมื่อ 4/11/2562
- ↑ "ศาสนสถานนาม "กุฎี" ในฝั่งธนบุรีและกรุงเก่า". อาลีเสือสมิงดอตคอม. 10 พฤศจิกายน 2553. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-29. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ เสาวนีย์ จิตต์หมวด, ผศ. (2531). กลุ่มชาติพันธุ์ : ชาวไทยมุสลิม (PDF). กรุงเทพฯ: กองทุนสง่ารุจิระอัมพร. p. 112.
- ↑ "เครือข่ายกาญจนาภิเษก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-10. สืบค้นเมื่อ 2008-02-01.
- ↑ 6.0 6.1 สุภาวดี เจ๊ะหมวก (18 สิงหาคม 2558). "กุฎีเจริญพาศน์และมัสยิดต้นสน : โรงเรียนกวดศรัทธาของบรรดามุสลิมรุ่นเยาว์". สารคดี. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ เสาวนีย์ จิตต์หมวด, รศ. (6 สิงหาคม 2548). "มุสลิมในธนบุรี". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ มัสยิดต้นสน
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์