ไทรบุรี[1] (หมายถึง "เมืองแห่งต้นไทร") เป็นชื่อของรัฐเกอดะฮ์เมื่อถูกยกคืนให้ประเทศไทยในช่วงที่ญี่ปุ่นครอบครองบริติชมาลายาในสงครามโลกครั้งที่สอง

รัฐไทรบุรี
รัฐ
พ.ศ. 2486 – 2488

รัฐไทรบุรี (KEDAH สีแดง)
ยุคทางประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2
• ญี่ปุ่นส่งมอบดินแดนให้
18 ตุลาคม พ.ศ. 2486
• คืนดินแดนให้สหราชอาณาจักร
2 กันยายน พ.ศ. 2488
ก่อนหน้า
ถัดไป
การครอบครองมาลายาของญี่ปุ่น
การปกครองมาลายาของทหารบริเตน
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย

ประวัติ แก้

จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ได้ลงนามข้อตกลงลับกับจักรวรรดิญี่ปุ่นในวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2484 และส่งกองทัพไทยไปมีส่วนร่วมในการทัพมาลายาและการทัพพม่า มีการลงนามการเป็นพันธมิตรระหว่างไทยกับญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 รัฐบาลไทย (ซึ่งเชื่อว่าฝ่ายสัมพันธมิตรจะเป็นฝ่ายแพ้) ประกาศสงครามกับสหรัฐและสหราชอาณาจักร เพื่อเป็นรางวัลในการเป็นพันธมิตรทางทหารกับญี่ปุ่น ฝ่ายญี่ปุ่นจึงยินยอมที่จะคืนสี่รัฐมาลัย (รัฐเกอดะฮ์, รัฐปะลิส, รัฐกลันตัน และรัฐตรังกานู) ที่อังกฤษได้ไปจากไทยใน พ.ศ. 2452 เช่นเดียวกันกับพื้นที่บางส่วนของรัฐชานในพม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร[2][3] ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2486 ฮิเดกิ โทโจ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้ประกาศว่ารัฐเกอดะฮ์ (พร้อมกับรัฐปะลิส, รัฐกลันตัน และรัฐตรังกานู) จะถูกมอบคืนให้แก่ไทยในฐานะส่วนหนึ่งของพันธมิตรทางทหารที่ลงนามไปเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2484

ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2486 จนกระทั่งญี่ปุ่นยอมแพ้จากสงคราม กลันตัน, ตรังกานู, ไทรบุรี (เกอดะฮ์) และปะลิส อยู่ภายใต้การปกครองของไทย แต่เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2488 ไทรบุรีกับอีกสามรัฐก็ถูกมอบคืนให้แก่อังกฤษ

ผู้คนจากไทรบุรีได้ติดต่อกับผู้คนจากภูเก็ตและนครศรีธรรมราช และทำให้เกิดการแต่งงานระหว่างชาวพุทธกับมุสลิมเป็นจำนวนมาก[4]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "ประกาศราชบัณฑิตยสถาน เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง (พ.ศ. 2544)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 118 (ตอนพิเศษ 117ง): 2. 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-11-28. สืบค้นเมื่อ 2021-01-07. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. Thailand in Malaya เก็บถาวร 2014-08-28 ที่ archive.today
  3. "สงครามมหาเอเซียบูรพา - จากวันวีรไทย ถึง วันประกาศสงคราม". samphan. I See History dot com. September 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-25. สืบค้นเมื่อ 8 August 2010.
  4. Gavin W. Jones, Chee Heng Leng, Maznah Mohamad eds. Muslim-Non-Muslim Marriage: Political and Cultural Contestations in Southeast Asia. Institute of Southeast Asian Studies, 2009. p. 197

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

6°7′N 100°21′E / 6.117°N 100.350°E / 6.117; 100.350