สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หรือ พระมหาธรรมราชา เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 31 แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระองค์ที่ 4 ในราชวงศ์บ้านพลูหลวง
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ | |
---|---|
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา | |
ครองราชย์ | พ.ศ. 2275-2301 (26 ปี) |
ก่อนหน้า | สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ |
ถัดไป | สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร |
มเหสี | กรมหลวงอภัยนุชิต กรมหลวงพิพิธมนตรี[1] |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์บ้านพลูหลวง |
พระราชบิดา | สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 |
พระราชสมภพ | พ.ศ. 2223 |
สวรรคต | พ.ศ. 2301 (78 พรรษา) |
พระราชประวัติแก้ไข
ก่อนครองราชย์แก้ไข
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีพระนามเดิมว่าเจ้าฟ้าพร เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) มีพระเชษฐาคือเจ้าฟ้าเพชร พระองค์ได้รับการสถาปนาเป็นพระบัณฑูรน้อยในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 และเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (พระเจ้าท้ายสระ)
ปราบดาภิเษกแก้ไข
ภายหลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 ได้เกิดการสู้รบกันระหว่างพระองค์กับพระราชโอรสของพระะเจ้าท้ายสระคือเจ้าฟ้าอภัยและเจ้าฟ้าปรเมศร์ อันเนื่องมาจากพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศในขณะนั้นทรงดำรงพระอิสริยยศที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล มีสิทธิที่จะขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อพระเชษฐาอย่างถูกต้อง แต่เมื่อพระเจ้าท้ายสระใกล้สวรรคตกลับตัดสินพระทัยยกราชสมบัติให้แก่เจ้าฟ้านเรนทร พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ แต่เจ้าฟ้านเรนทรไม่รับสืบราชสมบัติเพราะเห็นว่ามีกรมพระราชวังบวรฯ ซึ่งสมควรได้สืบราชสมบัติมากกว่า พระเจ้าท้ายสระจึงยกราชสมบัติให้แก่เจ้าฟ้าอภัย (พระราชโอรสองค์รอง) เป็นเหตุให้เกิดการต่อสู้แย่งชิงราชบัลลังก์จนกลายเป็นสงครามกลางเมือง กินระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี
คำให้การชาวกรุงเก่า ระบุว่าภายหลังเหตุการณ์สงบแล้ว กรมพระราชวังบวรสถานมงคลจึงได้ขึ้นครองราชย์เฉลิมพระนามว่าพระมหาธรรมราชา[2] (แต่ในบัญชีพระนามเจ้านายว่าพระเจ้าบรมราชา[3]) และสำเร็จโทษเจ้าฟ้าอภัย และ เจ้าฟ้าปรเมศร์
พระมหากษัตริย์แก้ไข
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองและพระศาสนาจนกล่าวได้ว่ากรุงศรีอยุธยาในสมัยพระองค์นั้นเป็นยุคที่บ้านเมืองดี มีขุนนางคนสำคัญที่เติบโตในเวลาต่อมา ในรัชกาลของพระองค์หลายคน เช่น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นต้น ในทางด้านวรรณคดี ก็มีกวีคนสำคัญ เช่น เจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ กรมขุนเสนาพิทักษ์ (หรือเจ้าฟ้ากุ้ง) ซึ่งเป็นพระราชโอรส เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2296 พระเจ้ากีรติสิริราชสิงห์ กษัตริย์ลังกา ได้ส่งราชทูตมาขอพระมหาเถระ และคณะสงฆ์ไปช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกา ซึ่งเสื่อมโทรมลงไป สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จึงโปรดให้ส่งคณะสมณทูตประกอบด้วยพระราชาคณะสองรูปคือพระอุบาฬีและพระอริยมุนี พร้อมคณะสงฆ์อีก 12 รูป ไปลังกา เพื่อประกอบพิธีบรรพชา อุปสมบท ให้กับชาวลังกา คณะสงฆ์คณะนี้ได้ไปตั้งสยามนิกายขึ้นในลังกา
พระอัครมเหสีและพระราชโอรสธิดาแก้ไข
คำให้การชาวกรุงเก่า ระบุว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศมีพระอัครมเหสี 3 พระองค์ พระนามพระราชโอรสธิดาที่ประสูติจากพระอัครมเหสีทั้งสามดังนี้[4]
|
นอกจากนั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศยังมีพระราชโอรสธิดาที่ประสูติแต่พระสนมอีกรวมทั้งสิ้น 108 พระองค์ เช่น[6]
|
ส่วน บัญชีรายพระนามพระราชวงศ์และข้าราชการสยามที่พม่าว่าจับไปได้จากกรุงศรีอยุธยา เมื่อกรุงเสียในปี พ.ศ. 2310 ระบุรายพระนามเจ้านายว่ามีพระราชโอรส-ธิดา 24 พระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศถูกจับไปยังพม่า ได้แก่[8]
|
|
พงศาวลีแก้ไข
พระราชตระกูลในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
สมเด็จพระเพทราชา | ||||||||||||||||
พระนมเปรม | ||||||||||||||||
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) | ||||||||||||||||
พระแสนเมือง (พระเจ้าเชียงใหม่) | ||||||||||||||||
นางกุสาวดี | ||||||||||||||||
ไม่ทราบ | ||||||||||||||||
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ | ||||||||||||||||
ไม่ทราบ | ||||||||||||||||
อ้างอิงแก้ไข
- เชิงอรรถ
- ↑ เล็ก พงษ์สมัครไทย. เฉลิมพระยศ เจ้านายฝ่ายในในรัชกาลที่ ๑-๙. กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์, 2552. หน้า 16
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 550
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 623
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 551
- ↑ "กวีเอกสมัยอยุธยา: เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร" (PDF). วารสารราชบัณฑิตยสถาน. ปีที่ 32 เล่ม 2: 414. เม.ย.-มิ.ย. พ.ศ. 2550. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง, หน้า 174-176
- ↑ พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ (บรรณาธิการ). เล่าเรื่อง...เฉกอะหมัด ต้นสกุลบุนนาค. กรุงเทพฯ : บันทึกสยาม, 2553, หน้า 95
- ↑ นราธิปประพันธ์พงศ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. พระราชพงศาวดารพม่า. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2550, หน้า 1135
- บรรณานุกรม
- มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554. 264 หน้า. ISBN 978-616-7308-25-8[ลิงก์เสีย]
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9
- ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง. กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2553. 536 หน้า. ISBN 978-616-508-073-6
ดูเพิ่มแก้ไข
ก่อนหน้า | สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เจ้าฟ้าเพชร | กรมพระราชวังบวรสถานมงคลแห่งอาณาจักรอยุธยา (ราชวงศ์บ้านพลูหลวง) |
เจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ | ||
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (ราชวงศ์บ้านพลูหลวง) (พ.ศ. 2251-2275) |
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา (ราชวงศ์บ้านพลูหลวง) (พ.ศ. 2275-2301) |
สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ราชวงศ์บ้านพลูหลวง) (พ.ศ. 2301) |