วัดพระเขี้ยวแก้ว

วัดในประเทศศรีลังกา

วัดศรีทัลฒามัลลิกาววิหาร (สิงหล: ශ්‍රී දළදා මාළිගාව) หรือวัดพระเขี้ยวแก้วเมืองกัณฏิ เป็นวัดในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (สยามวงศ์) ตั้งอยู่ริมทะเลสาบกัณฏิ เมืองกัณฏิ ประเทศศรีลังกา เป็นวัดที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำขวาของพระพุทธเจ้า และมีส่วนให้เมืองกัณฏิได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก[1]

วัดพระเขี้ยวแก้ว
หน้าหมู่พระวิหารประดิษฐานพระเขี้ยวแก้ว วัดศรีทัลฒามัลลิกาววิหาร
แผนที่
ชื่อสามัญวัดพระเขี้ยวแก้ว
ที่ตั้งกัณฏิ ประเทศศรีลังกา
นิกายเถรวาท มหานิกาย (นิกายสยามวงศ์)
เจ้าอาวาสพระมหาสังฆนายกสยามวงศ์ ฝ่ายมัลวัตตะ, และพระมหาสังฆนายกสยามวงศ์ ฝ่ายอัสคิริยะ (เป็นผู้ดูแลสลับกันทุกปี)
ความพิเศษเป็นวัดที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำขวาของพระพุทธเจ้า
การถ่ายภาพห้ามถ่ายภาพองค์พระสถูปประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วภายในพระคันธกุฎีวิหาร, ห้ามถ่ายภาพหันหลังให้พระพุทธรูป
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดพระเขี้ยวแก้ว สร้างโดยพระเจ้าวิมลธรรมสุริยะที่ 1 พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์สุดท้ายของประเทศศรีลังกา[1] ในปี พ.ศ. 2138 โดยตัววัดตั้งอยู่ในพื้นที่ ๆ เคยเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังโบราณ เนื่องจากความเชื่อของชาวสิงหลที่เชื่อว่าผู้ที่รักษาพระเขี้ยวแก้วไว้ย่อมถือว่ามีสิทธิชอบธรรมในการเป็นปกครองอาณาจักรมาแต่โบราณ

ปัจจุบันวัดพระเขี้ยวแก้ว เป็นวัดที่อยู่ในความดูแลของพระมหาสังฆนายก สยามวงศ์ ซึ่งมีอยู่สองฝ่าย คือ ฝ่ายมัลลวัตตะ (คามวาสี) และอัสคิริยะ (อรัญวาสี) ซึ่งจะแบ่งกันปกครองรักษาพระเขี้ยวแก้วสลับกันทุกปี โดยพระเขี้ยวแก้วประดิษฐานในพระสถูปประดับอัญมณีขนาดใหญ่ซ้อนกันหลายชั้น ภายในพระคันธกุฎีวิหารที่มีการป้องกันรักษาเข้มงวดทั้งจากกองกำลังทหารซึ่งประจำการที่วัดและพระสงฆ์ ซึ่งพระสงฆ์จะกระทำพุทธบูชาเป็นประจำทุก ๆ วันในช่วงเช้า เที่ยง และเย็น[2]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 © UNESCO World Heritage Centre. (2012). Sacred City of Kandy. [on-line]. Available : http://whc.unesco.org/en/list/450
  2. พระธรรมโกศาจารย์. (2550). เยือนสยามนิกายในศรีลังกา. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=626&articlegroup_id=21 เก็บถาวร 2012-04-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เข้าถึงเมื่อ 3-4-55

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้