เจ้าฟ้าอภัย เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 กับกรมหลวงราชานุรักษ์ ภายหลังได้ทำสงครามแย่งชิงราชบัลลังก์กับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) ที่สุดกรมพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นฝ่ายชนะ ทรงถูกสำเร็จโทษ[1]

เจ้าฟ้าอภัย
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
(อ้างสิทธิ)
ระยะเวลาอ้างสิทธิพ.ศ. 2275
ก่อนหน้าสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ
ถัดไปสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
สิ้นพระชนม์พ.ศ. 2275
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
พระบิดาสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ
พระมารดากรมหลวงราชานุรักษ์

พระประวัติ แก้

เจ้าฟ้าอภัย เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 กับกรมหลวงราชานุรักษ์ มีพระเชษฐภคินี พระเชษฐา พระอนุชาร่วมพระมารดา 6 พระองค์ คือ

ในขณะที่สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 ทรงพระประชวรหนักนั้น พระองค์ตัดสินพระทัยยกราชสมบัติให้แก่เจ้าฟ้านเรนทร พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ แต่เจ้าฟ้านเรนทรไม่รับสืบราชสมบัติเพราะเห็นว่ามีกรมพระราชวังบวรฯ ซึ่งสมควรได้สืบราชสมบัติมากกว่าจึงทรงผนวช พระเจ้าท้ายสระจึงยกราชสมบัติให้แก่เจ้าฟ้าอภัย พระราชโอรสองค์รอง ภายหลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 จึงได้เกิดการสู้รบกันระหว่างกรมพระราชวังบวรสถานมงคลกับพระราชโอรสของพระเจ้าท้ายสระคือเจ้าฟ้าอภัยและเจ้าฟ้าปรเมศร์ อันเนื่องมาจากพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศในขณะนั้นทรงดำรงพระอิสริยยศที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล มีสิทธิที่จะขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อพระเชษฐาอย่างถูกต้อง แต่เมื่อพระเจ้าท้ายสระใกล้สวรรคตกลับยกราชสมบัติให้แก่เจ้าฟ้าอภัย เป็นเหตุให้เกิดการต่อสู้แย่งชิงราชบัลลังก์จนกลายเป็นสงครามกลางเมือง กินระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี

คำให้การชาวกรุงเก่า ระบุว่าภายหลังเหตุการณ์สงบแล้ว กรมพระราชวังบวรสถานมงคลจึงได้ขึ้นครองราชย์เฉลิมพระนามว่าพระมหาธรรมราชา[2] (แต่ในบัญชีพระนามเจ้านายว่าพระเจ้าบรมราชา[3]) และสำเร็จโทษเจ้าฟ้าอภัย และ เจ้าฟ้าปรเมศร์

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

  1. ศิลปากร, กรม. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2542
  2. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 550
  3. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 623