เจ้าฟ้ามงกุฎ (พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)

เจ้าฟ้ามงกุฎ[1] เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กับเจ้าฟ้าสังวาลย์ พระองค์เป็นพระขนิษฐาร่วมพระชนกชนนีกับเจ้าฟ้ากุณฑล และเป็นพระขนิษฐาต่างพระมารดาของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ โดยเจ้าฟ้ามงกุฎทรงพระนิพนธ์ อิเหนา (อิเหนาเล็ก) โดยดัดแปลงจากนิทานอิงพงศาวดารชวา[2]

เจ้าฟ้ามงกุฎ
เจ้าฟ้า
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
พระมารดาเจ้าฟ้าสังวาลย์
ศาสนาพุทธ

พระประวัติ

แก้

เจ้าฟ้ามงกุฎเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ประสูติแต่เจ้าฟ้าสังวาลย์พระมเหสีฝ่ายซ้าย[1] คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ระบุว่าเจ้าฟ้ามงกุฎมีพระเชษฐภคินี พระเชษฐา และพระอนุชาได้แก่ เจ้าฟ้ากุณฑล เจ้าฟ้าอาภรณ์ และเจ้าฟ้าสังคีต[3] ส่วน "บาญชีพระนามเจ้านาย" ที่มีอยู่ใน คำให้การชาวกรุงเก่า มิได้ระบุพระนามของพระองค์ แต่ระบุพระนามของพระเชษฐภคินี และพระเชษฐา คือ เจ้าฟ้าขวันตง (คือเจ้าฟ้ากุณฑล) และเจ้าฟ้าอัมพร (คือเจ้าฟ้าอาภรณ์)[4]

เจ้าฟ้ามงกุฎและเจ้าฟ้ากุณฑลพระพี่นาง มักจะฟังนิทานปรัมปราหรือเรื่องเล่าจากยายยะโว (ยะโวคือคำว่ายาวอหรือยะวาแปลว่าชาวชวา) นางพระกำนัลซึ่งเป็นเชลยจากเมืองปัตตานี[5] ซึ่งยายยะโวได้เล่านิทานอิงพงศาวดารชวาถวายเจ้าฟ้าทั้งสอง เจ้าฟ้ากุณฑลทรงพระนิพนธ์บทละคร ดาหลัง หรืออิเหนาใหญ่ ส่วนเจ้าฟ้ามงกุฎทรงพระนิพนธ์บทละคร อิเหนาเล็ก มาตั้งแต่นั้น[2] ซึ่งคำชวาและมลายูที่ปรากฏมักลงท้ายด้วยเสียงสูงอันแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลจากผู้เล่าที่มีสำเนียงใต้เป็นสำคัญ[5] หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ต้นฉบับของวรรณคดีก็สูญหายไปบางส่วน[6] เจ้าฟ้ามงกุฎและเจ้าฟ้ากุณฑลถูกกวาดต้อนไปยังกรุงอังวะ ในขณะที่ทั้งสองพระองค์นิราศในต่างแดน ก็ทรงเผยแพร่นาฏศิลป์อย่างอยุธยาให้แก่ราชสำนักพม่า และส่งอิทธิพลตกทอดถึงนาฏศิลป์พม่าในยุคปัจจุบัน[7]

หลังการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชซึ่งเป็นยุคฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม พระองค์จึงทรงรวบรวมบทละครเรื่อง ดาหลัง และ อิเหนาเล็ก พระนิพนธ์เดิมของเจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎมาเรียบเรียงใหม่[2] โดยมีเนื้อหาในพระราชนิพนธ์ อิเหนา ฉบับรัชกาลที่ 1 อธิบายไว้ความว่า[8]

อันอิเหนาเอามาทำเป็นคำร้อง สำหรับงานการฉลองกองกุศล
ครั้งกรุงเก่าเจ้าสตรีเธอนิพนธ์ แต่เรื่องต้นตกหายพลัดพรายไป

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

แก้

ละครโทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์เรื่อง จากเจ้าพระยาสู่อิรวดี ออกฉายครั้งแรกทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส มีตัวละครหนึ่งชื่อ "เจ้าฟ้ามงกุฎ" รับบทโดยดวงใจ หิรัญศรี[9]

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 คำให้การขุนหลวง วัดประดู่ทรงธรรม, ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง, หน้า 285
  2. 2.0 2.1 2.2 "บทละครเรื่อง อิเหนา". ฐานข้อมูลนามานุกรมวรรณคดีไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. คำให้การขุนหลวง วัดประดู่ทรงธรรม, ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง, หน้า 286
  4. คำให้การชาวกรุงเก่า, ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง, หน้า 175
  5. 5.0 5.1 บุหงาปัตตานี คติชนมุสลิมชายแดนภาคใต้, หน้า 174-175
  6. "เมื่อนักประวัติศาสตร์ตั้งคำถาม: "วงศาวิทยาของอิเหนา" กับความท้าทายประวัติวรรณคดีไทย". มติชนออนไลน์. 11 กุมภาพันธ์ 2561. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ (31 สิงหาคม 2560). "'เพลงโยทยา' นาฏศิลป์อิงเมือง อีกจิตวิญญาณอยุธยาในเมียนมา". เดลินิวส์. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. ทองแถม นาถจำนง. "กลอนบทละคร (๒)". ทางอีศาน. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. ละคร จากเจ้าพระยาสู่อิรวดี
บรรณานุกรม
  • ประพนธ์ เรืองณรงค์. บุหงาปัตตานี คติชนมุสลิมชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊คส์, 2554. 276 หน้า. ISBN 978-616-00-0087-6
  • ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง. กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2553. 536 หน้า. ISBN 978-616-508-073-6
  • พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9