เจ้าฟ้าสังวาลย์

เจ้าฟ้าสังวาลย์[1] หรือ อินทสุชาเทวี[2] บางแห่งออกพระนามว่าเจ้าฟ้านิ่ม[3] หรือนวน[4] เป็นพระมเหสีฝ่ายซ้าย[1]ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และเป็นพระชนนีของเจ้าฟ้ากุณฑล และเจ้าฟ้ามงกุฎ ซึ่งทั้งสองพระองค์ได้พระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง ดาหลัง และ อิเหนา[5][6]

เจ้าฟ้าสังวาลย์
เจ้าฟ้าชั้นตรี
พระมเหสีฝ่ายซ้าย
ก่อนหน้าพระกรัดนางกัลยาณี
ถัดไปกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์
พิราลัยพ.ศ. 2298
พระสวามีสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
พระบุตรเจ้าฟ้ากุณฑล
เจ้าฟ้าอาภรณ์
เจ้าฟ้ามงกุฎ
เจ้าฟ้าสังคีต
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
พระบิดาพระองค์เจ้าแก้ว
พระมารดาเจ้าฟ้าเทพ
ศาสนาพุทธ

เจ้าฟ้าสังวาลย์ทรงคบชู้กับเจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ จึงต้องพระอาญาเฆี่ยนจนกระทั่งพิราลัย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจึงให้นำพระศพของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศและเจ้าฟ้าสังวาลย์ไปฝัง ณ วัดไชยวัฒนาราม[7]

พระนาม แก้

พระประวัติ แก้

"บาญชีพระนามเจ้านาย" ที่มีอยู่ใน คำให้การชาวกรุงเก่า ระบุว่าเจ้าฟ้าสังวาลย์หรือเจ้าฟ้านวนเป็นพระธิดาของพระองค์เจ้าแก้วในสมเด็จพระเพทราชา ประสูติแต่เจ้าฟ้าเทพในสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงมีฐานันดรศักดิ์เป็นเจ้าฟ้าตามพระชนนี[9][10] มีพระเชษฐาพระองค์หนึ่งคือเจ้าฟ้าจีด ซึ่งเป็นพระชนกของหม่อมฉิม บาทบริจาริกาในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี[11][12]

พระองค์เข้ารับราชการเป็นพระมเหสีฝ่ายซ้ายในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ[1] คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ระบุว่าเจ้าฟ้าสังวาลย์มีพระราชโอรส-ธิดาทั้งหมดสี่พระองค์ได้แก่ เจ้าฟ้ากุณฑล, เจ้าฟ้าอาภรณ์, เจ้าฟ้ามงกุฎ และเจ้าฟ้าสังคีต[13] ส่วน "บาญชีพระนามเจ้านาย" ที่มีอยู่ใน คำให้การชาวกรุงเก่า ระบุว่าเจ้าฟ้าสังวาลย์ประสูติกาลพระราชโอรส-ธิดาสามพระองค์ คือ เจ้าฟ้าขวันตง (คือเจ้าฟ้ากุณฑล), เจ้าฟ้าอัมพร (คือเจ้าฟ้าอาภรณ์) และเจ้าฟ้าหญิงไม่ทราบพระนาม (คือเจ้าฟ้ามงกุฎ)[4]

พ.ศ. 2298 เจ้าฟ้าสังวาลย์ถูกควบคุมตัวเนื่องจากถูกจับได้ว่าทรงคบชู้กับเจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ จึงต้องพระอาญาเฆี่ยนหนึ่งยก จำนวนสามสิบครั้งจนกระทั่งพิราลัยในสามวันหลังการลงทัณฑ์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจึงให้นำพระศพของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศและเจ้าฟ้าสังวาลย์ไปฝัง ณ วัดไชยวัฒนาราม[3][7]

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 คำให้การขุนหลวง วัดประดู่ทรงธรรม, ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง, หน้า 285
  2. 2.0 2.1 คำให้การชาวกรุงเก่า, ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง, หน้า 116
  3. 3.0 3.1 3.2 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 366-367
  4. 4.0 4.1 4.2 คำให้การชาวกรุงเก่า, ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง, หน้า 175
  5. "บทละครเรื่อง อิเหนา". ฐานข้อมูลนามานุกรมวรรณคดีไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. บุหงาปัตตานี คติชนมุสลิมชายแดนภาคใต้, หน้า 174-175
  7. 7.0 7.1 คำให้การขุนหลวงหาวัด (ฉบับหลวง), ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง, หน้า 488
  8. คำให้การชาวกรุงเก่า, ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง, หน้า 117
  9. คำให้การชาวกรุงเก่า, ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง, หน้า 174
  10. จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1, หน้า 2
  11. พระเจ้าตาก เบื้องต้น, หน้า 176
  12. พระราชวิจารณ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายความทรงจำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์) ตั้งแต่ จ.ศ. 1129 ถึง 1182 เป็นเวลา 53 ปี, หน้า 58, 60
  13. คำให้การขุนหลวง วัดประดู่ทรงธรรม, ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง, หน้า 286
บรรณานุกรม