ศรีอโยธยา ภาพยนตร์ซีรีส์อิงประวัติศาสตร์ ออกอากาศทางทรูวิชั่นส์ และ ทรูโฟร์ยู สร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพครบ 90 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2560 และเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าแห่งแผ่นดินสยาม กำกับภาพยนตร์ซีรีส์โดยหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล ออกอากาศทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 20.30 – 22.00 น. เริ่มออกอากาศตอนแรกวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2560 และออกอากาศตอนสุดท้ายในภาค 1 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 โดยได้เปิดกล้องถ่ายทำภาค 2 เมื่อวันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2561 และออกอากาศตอนแรกของภาค 2 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ศรีอโยธยา
ประเภทอิงประวัติศาสตร์
กำกับโดยหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล
แสดงนำ
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย
ภาษาต้นฉบับไทย
จำนวนตอน20 ตอน (ภาค 1)
20 ตอน (ภาค 2)
การผลิต
ความยาวตอน90 นาที (ภาค 1)
60 นาที (ภาค 2)
ออกอากาศ
เครือข่ายทรูวิชั่นส์, ทรูโฟร์ยู
ออกอากาศ5 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (ภาค 1)
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 (ภาค 2) –
19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 (ภาค 1)
28 มกราคม พ.ศ. 2563 (ภาค 2)

สำหรับในภาค 2 ได้มีการเปลี่ยนตัวนักแสดงในบท สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจาก ศรราม เทพพิทักษ์ ซึ่งรับบทในช่วงวัยหนุ่มมาเป็น พันเอกวันชนะ สวัสดี

นักแสดง แก้

ภาพยนตร์ซีรีส์ศรีอโยธยา ภาค 1

รายนามนักแสดงในบทยุคอยุธยา
นักแสดงหลัก รับบท
อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม พระพิมานสถานมงคล (พิมาน) บุตรชายคนเดียวของเจ้าพระยาจักรีผู้วายชนม์ตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จึงเติบโตจากการเลี้ยงดูของพระยาพลเทพผู้เป็นอา เป็นมหาดเล็กประจำพระองค์เจ้าฟ้าสุทัศน์ขัติยราชกุมาร
เขมนิจ จามิกรณ์ บุษบาบรรณ์ นางอัปสรสวรรค์จากสวรรค์ชั้นจตุมมหาราชิกา ผู้จุติมาเป็นข้าหลวงในกรมหลวงพิพิธมนตรี นางเป็นผู้รับหน้าที่สืบทอดขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม เป็นบุตรีคนเดียวของเจ้าพระยาพิชัยชาญฤทธิ์ นางได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ส่งสาส์นไปยังชนรุ่นหลัง
นพชัย ชัยนาม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศ พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่ประสูติแด่กรมหลวงพิพิธมนตรี (พระพันวัสสาน้อย) เป็นพระเชษฐาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพรและเป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา
สินจัย เปล่งพานิช กรมหลวงพิพิธมนตรี (พระพันวัสสาน้อย) พระอัครมเหสีในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระขนิษฐาของ กรมหลวงอภัยนุชิต (พระพันวัสสาใหญ่) และเป็นพระราชมารดาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศน์และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร
จิรวิชญ์ พงษ์ไพจิตร เจ้าฟ้าสุทัศขัติยราชกุมาร พระราชโอรสพระองค์เดียวในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศ ทรงดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชโปรดการเสด็จติดตามพระบรมชนกไปทุกแห่งหนด้วยทรงตระหนักว่าจะต้องทรงขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ต่อไป
ศรราม เทพพิทักษ์ (ภาค 1) /พ.อ.วันชนะ สวัสดี (ภาค 2) หลวงยกกระบัตรเมืองตาก (สิน) ได้รับการนำขึ้นถวายตัวเป็นมหาดเล็กห้องพระบรรทมในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ตั้งแต่ยังเยาว์ พร้อมกับทองด้วง และ บุนนาค จนกลายเป็นสหายสนิทกัน หลังเสร็จศึกพระเจ้าอลองพญา ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระยาตาก
ธีรภัทร์ สัจจกุล คุณทองด้วงเป็นมหาดเล็กในกรมขุนพรพินิต (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร) ครั้งเมื่อทรงดำรงตำแหน่งกรมพระวังบวรสถานมงคล พร้อมกับคุณบุนนาค หลังเสร็จศึกพระเจ้าอลองพญา ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี
เพ็ญเพชร เพ็ญกุล สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่ประสูติแด่กรมหลวงพิพิธมนตรี (พระพันวัสสาน้อย) มีพระนามเดิมว่าเจ้าฟ้าดอกมะเดื่อได้ทรงกรมเป็นกรมขุนพรพินิต ครองราชย์ราว 2 เดือน ก็สละราชสมบัติให้พระเชษฐาคือ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศ แล้วผนวชจนได้พระนาม"ขุนหลวงหาวัด"
อาณัตพล ศิริชุมแสง หลวงไกรชาญฤทธิ์ บุตรชายคนโตของเจ้าพระยาพิชัยชาญฤทธิ์ เป็นตัวแทนของนักรบกรุงศรีอยุธยาโดยสายเลือด สมรสกับนางทองประศรี และมีบุตรชายคือทองหยิบ
ชินมิษ บุนนาค คุณบุนนาคเป็นมหาดเล็กในกรมขุนพรพินิต (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร) ครั้งเมื่อทรงดำรงตำแหน่งกรมพระวังบวรสถานมงคล พร้อมกับคุณทองด้วง หลังเสร็จศึกพระเจ้าอลองพญา ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุทุมพรบริบาล
ศรัณยู วงษ์กระจ่าง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงเป็น พระบรมกษัตราธิราชองค์ที่ ๓๑ แห่งราชอาณาจักรอยุธยา

เป็นพระโอรส สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองและศาสนา จนกล่าวได้ว่าเป็นยุคที่ บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองที่สุด ทั้งด้านศิลปะ วัฒนธรรม และการศาสนา อันเป็นต้นแบบอารยธรรมแก่กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

รัดเกล้า อามระดิษ กรมหมื่นพิมลภักดี (พระองค์เจ้าแมงเม่า) ทรงเป็นพระอัครมเหสีพระองค์เดียวในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศที่ทรงกรม ทรงเป็นพระราชมารดาของเจ้าฟ้าสุทัศขัติยราชกุมาร และเจ้าฟ้ารุจจาเทวี
รฐา โพธิ์งาม เจ้าจอมราตรี เป็นพระสนมในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และเป็นพระญาติของสมเด็จพระพันวัสสา ได้รับหน้าที่ดูแลบุษบาบรรณ์มาตั้งแต่เด็กๆ คอยอบรมสั่งสอนหญิงสาวทั้งในเรื่องหน้าที่ที่มีต่อบ้านเมือง และวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ
พิมดาว พานิชสมัย เจ้าฟ้ารุจจาเทวีทรงเป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศ ทรงเป็นพระเชษฐภคินีของเจ้าฟ้าสุทัศน์ฯ ประสูติแต่กรมหมื่นพิมลภักดี ทรงมีจิตปฏิพัทธ์ในตัวพระพิมานสถานมงคล
นิภาภรณ์ ฐิติธนการ เจ้าจอมแขเป็นญาติห่างๆ ของพระยาพลเทพ และพระกำนัลนารีสังข์ที่ถูกนำเข้ามาถวายตัว เพื่อให้ใช้มนตร์ดำในการครอบงำพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศ นางยอมทำทุกอย่างด้วยความกตัญญูที่มีต่อพระยาพลเทพ เจ้าจอมแขลักลอบมีความสัมพันธ์กับสนิทเสน่ห์ก่อนจะถวายตัว
ปิยะ เศวตพิกุล พระกำนัลนารีสังข์ น้องชายของพระยาพลเทพ อาของพิมาน เป็นขันทีข้าราชสำนักฝ่ายใน ทำหน้าที่อัญเชิญพระสุพรรณ์ภาชน์ และเป็นผู้นำนางบำเรอมาถวายตัวแก่พระเจ้าอยู่หัว
ศักราช ฤกษ์ธำรงค์ พระยาพิชัยชาญฤทธิ์ พระญาติในองค์สมเด็จพระพันวัสสา สืบเชื้อสายมาจากกรมพระราชบวรบพิตรพิมุข ในแผ่นดินสมเด็จพระเพทราชา ท่านเป็นผู้ถวายการสอนยุทธศาสตร์และยุทธวิธีการรบแด่เจ้าฟ้าสุทัศ และบรรดาขุนพลของกรุงศรี
ภาวิดา มอริจจิ นางทองประศรี ภรรยาเอกของหลวงไกรชาญฤทธิ์ มีบุตรชายคือทองหยิบ
ภคพล ตัณฑ์พาณิชย์ ทองหยิบ เป็นบุตรของคุณไกรกับนางทองประศรี ที่เกิดและเติบโตมาในเรือนพระยาพิชัย หลังจากทองหยิบเกิดได้ครบเดือน ก็เกิดศึกพระเจ้าอลองพญาขึ้น ทองหยิบได้พบกับวายุและได้มอบกำไลให้ เป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ทั้งหมด
สุรพล พูนพิริยะ พระยาพลเทพ อาของพิมานเป็นผู้ดูแลควบคุมการค้าในท่าเรือนานาชาติของกรุงศรีอยุธยา

และได้ใช้โอกาสในการหาประโยชน์ด้วยการทำการค้าของตน สั่งสมอิทธิพลและความมั่งคั่งส่วนตัวควบคู่กันไปด้วย เป็นคนที่เห็นประโยชน์ส่วนตัวมาก่อนประเทศชาติ

พรเลิศ พิพัฒน์รุ่งเรือง นายชอบ ขุนศึกแห่งเรือนพระยาพิชัย เป็นคนสนิทของหลวงไกรชาญฤทธิ์หลังจากเสียชีวิตแล้ว วิญญาณของนายชอบก็ยังคงคอยปกปักษ์เรือนพระยาพิชัยไม่ให้คนภายนอกกล้ำกรายเข้าไปได้
นางฉิม เมียของนายชอบ เป็นคนเข้มแข็ง ช่วยเหลือนางทองประศรีในการดูแลบ่าวไพร่ในเรือน
อาทิตยา บุญยะเลี้ยง ลูกจันทน์ นางพี่เลี้ยงของบุษบาบรรณ์ เป็นบุตรสาวของนายชอบ ขุนศึกแห่งเรือนพระยาพิชัยเติบโตมากับบุษบาบรรณ์ นางคอยดูแลและปกป้องบุษบาบรรณ์ รวมถึงแอบคอยเป็นแม่สื่อส่งเพลงยาวจากพระพิมานให้อีกด้วย
นักแสดงรับเชิญกิตติมศักดิ์ รับบท
หม่อมราชวงศ์มงคลชาย ยุคล สมเด็จพระเพทราชา ปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์บ้านพลูหลวง ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2231-2246
เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) พระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๒ แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ชื่นชอบการเสด็จประพาส โดยแต่งกายแบบสามัญชน เพื่อเรียนรู้ทุกข์สุขของราษฎร
วฤธ หงสนันทน์ พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ครองราชย์สมบัติระหว่าง พ.ศ. 2251-2275 ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ใน สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 พระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าเพชร ส่วนพระนาม “พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ” มาจากนาม พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ ซึ่งพระองค์ใช้เป็นประทับอันอยู่ข้างสระน้ำท้ายพระราชวัง
หม่อมหลวงสราลี กิติยากร กรมหลวงอภัยนุชิตหรือ พระพันวัสสาใหญ่ พระมเหสีฝ่ายขวาใน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นพระธิดาในกรมพระราชวังหลังในรัชสมัย สมเด็จพระเพทราชา พระบิดาเป็นเชื้อสายอินเดีย วรรณะพราหมณ์ จากเมืองรามนคร รัฐมัชฌิมประเทศ และตั้งรกรากอยู่บ้านสมอพลือ จังหวัดเพชรบุรี
ปกรณ์ ลัม เจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และทรงเป็นกวีที่โดดเด่นแห่งยุค นอกจากพระปรีชาทางด้านวรรณศิลป์แล้วยังทรงเป็นองค์อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดภายในเขตพระราชฐาน
วรนุช ภิรมย์ภักดี เจ้าฟ้าสังวาล ทรงเป็นพระธิดาของพระองค์เจ้าแก้วลูกเธอในสมเด็จพระเพทราชา และเจ้าฟ้าเทพลูกเธอในสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระมเหสีฝ่ายซ้าย ในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แต่กลับฝ่าฝืนกฎมณเฑียรบาล จนต้องพระราชอาญา
นายจบคชประสิทธิ์ รับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้รับการแต่งตั้งเป็นหลวงคชบาท

หรือ นายทรงบาทขวาช้างทรง และเป็นกำลังแก่สมเด็จพระเพทราชา ปราบกบฏเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ จึงได้รับการสถาปนาเป็นกรมพระราชวังหลังในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา

ทิน โชคกมลกิจ พระเจ้าอลองพญา กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์โก้นบอง มีพระราชประสงค์จะรวบรวมแผ่นดิน และเผยแผ่พุทธศาสนา สิ้นพระชนม์ระหว่างการรบที่อยุธยา เจ้าฟ้ามังระได้อัญเชิญพระบรมศพกลับกรุงอังวะ
วิวิศน์ บวรกีรติขจร กรมหมื่นจิตสุนทร เป็นพระโอรสในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงประสูติจากเจ้าจอมมารดา จึงไม่มีสิทธิ์ในการสืบราชบัลลังก์ ภายหลังจึงก่อกบฏเพื่อชิงราชบัลลังก์ แต่ถูกพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพรประหารชีวิต
อภิสร สุขวัฒนาศัย กรมหมื่นสุนทรเทพ เป็นพระพระโอรสในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงประสูติจากเจ้าจอมมารดา ภายหลังได้ร่วมกับกรมหมื่นจิตสุนทรก่อกบฏ จึงถูกพระราชอาญาให้ประหารชีวิต
สรวิศน์ ทองมาก กรมหมื่นเสพภักดี เป็นพระพระโอรสในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงประสูติจากเจ้าจอมมารดา ภายหลังได้ร่วมกับกรมหมื่นจิตสุนทรก่อกบฏ จึงถูกพระราชอาญาให้ประหารชีวิต
ทุงโกโก พระเจ้ามังลอก พระโอรสของพระเจ้าอลองพญา ขึ้นครองราชย์ต่อเจ้าพระเจ้าอลองพญา เป็นกษัตริย์ที่ส่งเสริมพระพุทธศาสนา
ทองเอก ปิยะวาท เจ้าฟ้ามังระ พระโอรสของพระเจ้าอลองพญา เมื่อพระเจ้าอลองพญาเสด็จสวรรคตที่กรุงศรีอยุธยา ทำให้มีพระราชประสงค์ที่จะยกกองทัพมาแก้แค้น
โจนาธาน โฮลแมน มหานรธา แม่ทัพคู่พระทัยของพระเจ้าอลองพญา ซึ่งได้เป็นแม่ทัพฝ่ายใต้ใน สงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2
ทวีศักดิ์ อเล็กซานเดอร์ ธนานันท์ เนเมียวสีหบดี 1 ใน 68 แม่ทัพคู่พระทัยของ พระเจ้าอลองพญา และเป็นแม่ทัพฝ่ายเหนือใน สงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2
อรุณพงศ์ ชัยวินิตย์ มหาดเล็กในเจ้าฟ้าสุทัศขัติยราชกุมาร
นักแสดงเด็ก รับบท
กรณิศ เล้าสุบินประเสริฐ บุษบาบรรณ์
ณัฐิดา รัตนภิรมย์ เจ้าฟ้ารุจจาเทวี
รภัสสิทธิ์ สุวิวัฒน์ชัย เจ้าฟ้าสุทัศขัติยราชกุมาร
กันตพงศ์ เจริญสุข พิมาน มหาดเล็กประจำพระองค์เจ้าฟ้าสุทัศ
รายนามนักแสดงในบทยุคปัจจุบัน
นักแสดงหลัก รับบท
อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม ดร.พิมาน อุทัยวงศ์
จิรวิชญ์ พงษ์ไพจิตร วายุ เกรียงไกรฤทธิ์
รัดเกล้า อามระดิษ ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงพวงแก้ว อุทัยวงศ์
พิมดาว พานิชสมัย พลอยนภา
อาณัตพล ศิริชุมแสง ดร.อาคม พงษ์อยุธย์
นิภาภรณ์ ฐิติธนการ นรี ไตรรัตนดำรงค์
ทองภูมิ สิริพิพัฒน์ นายเชิด
รายนามนักแสดงสมทบในภาคที่ 2
สาวิกา ไชยเดช สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี / สมเด็จกรมพระอมรินทรามาตย์
มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล คุณหญิงบัว (รับเชิญกิตติมศักดิ์)
ชยุต โชติวิจักขณ์ พระยาอักษรสุนทรศาสตร์ / สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (รับเชิญกิตติมศักดิ์)
สกรรจ์รณ เชาว์รัตน์ (โอ๊ค Dragon Five) ผู้กำกับเอ็มวี
ทุงโกโก พระเจ้ามังลอก
นพดล บัณฑิตย์ นายก่าย
หม่อมหลวง บวรนวเทพ เทวกุล พระยาจ่าแสนยากร
ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ กรมหลวงบาทบริจา
บงกช เบญจรงคกุล เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงปราง
สราวุธ มาตรทอง สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (คุณบุญมา)
ชาคริต แย้มนาม ขุนพัฒน์/ไหฮอง แซ่แต้/หยง แซ่แต้
พิยดา จุฑารัตนกุล (วัยสาว)/ภราไดย สุวรรณรัฐ ท่านนกเอี้ยง/กรมพระเทพามาตย์
ศุภรดา เต็มปรีชา เจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล พระขนิษฐาของ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี และภรรยาของ เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค)
โสตถิพันธุ์ คำลือชา เจ้าคุณชายพู พระอนุชาของ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
ชลิดา ตันติพิภพ กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์
สุรพล เศวตเศรนี พระเจ้าขัตติยราชนิคม สมมติมไหสวรรค์/เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู) (รับเชิญกิตติมศักดิ์)
อติรุจ กิตติพัฒนะ มหาดเล็กคนสนิทเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร (รับเชิญ)
ธีธัช จรรยาศิริกุล ไอ้ชุ่ม
สันติสุข พรหมศิริ พระชนกทอง ณ บางช้าง พระบิดาของ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
ปานเลขา ว่านม่วง สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี พระมารดาของ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
ธนโชติ กุสุมรสนานันท์ ราชทูตกรุงศรีอยุธยา
จันทรจิรา เทวกุล ณ อยุธยา กรมขุนยิสารเสนี
พุฒิพงศ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร
ชัยวัฒน์ ทองแสง สนิทเสน่ห์

รางวัลและการเสนอชื่อเข้าชิง แก้

งานประกาศรางวัล วันประกาศผล สาขารางวัล ผู้ได้รับการเสนอชื่อ ผลการตัดสิน
1 รางวัลคึกฤทธิ์ 20 เมษายน 2561 สาขาศิลปะการแสดง ม.ล.พันธ์เทวนพ เทวกุล ชนะ
2 รางวัล PRESS AWARDS เณศไอยรา 29 เมษายน 2561 ภาพยนตร์ซีรีส์ยอดเยี่ยมแห่งปี ภาพยนตร์ซีรีส์ศรีอโยธยา ชนะ
ผู้กำกับภาพยนตร์ซีรีส์ยอดเยี่ยมแห่งปี ม.ล.พันธ์เทวนพ เทวกุล ชนะ
นักแสดงนำชายจากภาพยนตร์ซีรีส์

ยอดเยี่ยมแห่งปี

อนันดา เอเวอริ่งแฮม ชนะ
นักแสดงนำหญิงจากภาพยนตร์ซีรีส์

ยอดเยี่ยมแห่งปี

เขมนิจ จามิกรณ์ ชนะ
3 รางวัล BAZARR x F.A.C.E Awards 12 พฤษภาคม 2561 สาขา Entertainment ม.ล.พันธ์เทวนพ เทวกุล ชนะ
4
งานประทานรางวัลวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ

ครั้งที่ 6 รางวัลพิฆเนศวร

5 สิงหาคม 2561 ผู้กำกับภาพยนตร์ซีรีส์ยอดเยี่ยมแห่งปี ม.ล.พันธ์เทวนพ เทวกุล ชนะ
นักแสดงนำชายจากภาพยนตร์ซีรีส์

ยอดเยี่ยมแห่งปี

อนันดา เอเวอริ่งแฮม ชนะ
นักแสดงนำหญิงจากภาพยนตร์ซีรีส์

ยอดเยี่ยมแห่งปี

เขมนิจ จามิกรณ์ ชนะ
นักแสดงนำชายกิตติมศักดิ์จากภาพยนตร์ซีรีส์

ยอดเยี่ยมแห่งปี

นพชัย ชัยนาม ชนะ
นักแสดงนำหญิงกิตติมศักดิ์จากภาพยนตร์ซีรีส์

ยอดเยี่ยมแห่งปี

สินจัย เปล่งพานิช ชนะ
5 งานประทานรางวัลคเณศมยุเรศวรทองคำ

ครั้งที่ 1 ประจำปี 2561

19 สิงหาคม 2561 ภาพยนตร์ซีรีส์ยอดเยี่ยม ภาพยนตร์ซีรีส์ศรีอโยธยา ชนะ
ผู้กำกับภาพยนตร์ซีรีส์ยอดเยี่ยม ม.ล.พันธ์เทวนพ เทวกุล ชนะ
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม อนันดา เอเวอริ่งแฮม ชนะ
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม สินจัย เปล่งพานิช ชนะ
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม จิรวิชญ์ พงษ์ไพจิตร ชนะ
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม รัดเกล้า อามระดิษ ชนะ
ดาวรุ่งชายยอดเยี่ยม ภคพล ตัณฑ์พาณิชย์ ชนะ
6 คนดีรัตนโกสินทร์ - บุคคลต้นแบบ 2 กันยายน 2561 บุลคลต้นแบบศิลปิน-นักแสดงดีเด่น ม.ล.พันธ์เทวนพ เทวกุล ชนะ
บุลคลต้นแบบศิลปิน-นักแสดงดีเด่น สินจัย เปล่งพานิช ชนะ
บุลคลต้นแบบศิลปิน-นักแสดงดีเด่น รัดเกล้า อามระดิษ ชนะ
บุลคลต้นแบบศิลปิน-นักแสดงดีเด่น เขมนิจ จามิกรณ์ ชนะ
บุลคลต้นแบบตัวอย่างเยาวชนไทยดีเด่น ภคพล ตัณฑ์พาณิชย์ ชนะ
7 ราษฎร์บัณฑิต คนดี คนเก่ง ประเทศไทย 30 กันยายน 2561 รางวัลเกียรติคุณ

สาขา การแสดงและการละครดีเด่น

ชนะ
ผู้กำกับภาพยนตร์ซีรีส์เทิดพระเกียรติยอดเยี่ยม ม.ล.พันธ์เทวนพ เทวกุล ชนะ
ดารานำกิตติมศักดิ์ฝ่ายชายยอดเยี่ยม ศรัณยู วงษ์กระจ่าง ชนะ
ดารานำกิตติมศักดิ์ฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม สินจัย เปล่งพานิช ชนะ
ดารานำฝ่ายชายยอดเยี่ยม อนันดา เอเวอริ่งแฮม ชนะ
ดารานำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม รัดเกล้า อามระดิษ ชนะ
8 สังขเณศ รางวัลคนดีแห่งปี

รางวัลคุณภาพแห่งปี

25 พฤศจิกายน 2561 ภาพยนตร์ซีรีส์อิงประวัติศาสตร์ยอดเยี่ยม ภาพยนตร์ซีรีส์ศรีอโยธยา ชนะ
ผู้กำกับภาพยนตร์ซีรีส์ยอดเยี่ยมแห่งปี ม.ล.พันธ์เทวนพ เทวกุล ชนะ
นักแสดงนำชายภาพยนตร์ซีรีส์

อิงประวัติศาสตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี

อนันดา เอเวอริ่งแฮม ชนะ
นักแสดงนำหญิงภาพยนตร์ซีรีส์

อิงประวัติศาสตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี

เขมนิจ จามิกรณ์ ชนะ
นักแสดงนำชายกิตติมศักดิ์

จากภาพยนตร์ซีรีส์ยอดเยี่ยมแห่งปี

เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ ชนะ
9 ทีวีสีขาว 2 ธันวาคม 2561 นักแสดงนำชายดีเด่น อนันดา เอเวอริ่งแฮม ชนะ
ละครสร้างสรรค์ดีเด่น ภาพยนตร์ซีรีส์ศรีอโยธยา เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้กำกับการแสดงดีเด่น ม.ล.พันธ์เทวนพ เทวกุล เสนอชื่อเข้าชิง
นักแสดงนำหญิงดีเด่น เขมนิจ จามิกรณ์ เสนอชื่อเข้าชิง
นักแสดงสมทบชายดีเด่น นพชัย ชัยนาม เสนอชื่อเข้าชิง
นักแสดงสมทบหญิงดีเด่น สินจัย เปล่งพานิช เสนอชื่อเข้าชิง
10 23rd Asian TV Awards 11-12 มกราคม 2562 Best Direction (Fiction)

(รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม)

ม.ล.พันธ์เทวนพ เทวกุล เสนอชื่อเข้าชิง
Best  Actor In  A Leading Role

(รางวัลดารานำฝ่ายชายยอดเยี่ยม)

อนันดา เอเวอริ่งแฮม เสนอชื่อเข้าชิง
Best  Actress In  A Supporting Role

(รางวัลดาราสมทบฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม)

สินจัย เปล่งพานิช ชนะ
Best  Actor In  A Supporting Role

(รางวัลดาราสมทบฝ่ายชายยอดเยี่ยม)

นพชัย ชัยนาม เสนอชื่อเข้าชิง
เข้าชิง Best  Theme Song

(รางวัลดนตรีประกอบยอดเยี่ยม)

ทฤษฎี ณ พัทลุง เสนอชื่อเข้าชิง
11 รางวัลพระตรีมูรติทองคำ 20 มกราคม 2562 ภาพยนตร์ซีรีส์ส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมดีเด่น ภาพยนตร์ซีรีส์ศรีอโยธยา ชนะ
ผู้กำกับภาพยนตร์ส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมดีเด่น ม.ล.พันธ์เทวนพ เทวกุล ชนะ
ดาราชายส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมดีเด่น จิรวิชญ์ พงษ์ไพจิตร ชนะ
ดาราเยาวชนส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมดีเด่น ภคพล ตัณฑ์พาณิชย์ ชนะ
12 รางวัลบุคคลแห่งชาติ 3 กุมภาพันธ์ 2562 รางวัลบุคคลแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงละครโทรทัศน์ ม.ล.พันธ์เทวนพ เทวกุล ชนะ
13 New York FestivalsTV & Film Awards 9 เมษายน 2562 Best Performance by an Actor อนันดา เอเวอริ่งแฮม[1] Finalist Certificate
Best Performance by an Actress เขมนิจ จามิกรณ์[2] Finalist Certificate
Best Camerawork ตนัย นิ่มเจริญพงศ์

ศิวพล ประจักษ์บุญเจษฎา ธีรพงษ์ ทรงพระ

ชนะ
14 รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 10 21 กรกฎาคม 2562 ละครยอดเยี่ยม ภาพยนตร์ซีรีส์ศรีอโยธยา เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้กำกับยอดเยี่ยม ม.ล.พันธ์เทวนพ เทวกุล เสนอชื่อเข้าชิง
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม เขมนิจ จามิกรณ์ เสนอชื่อเข้าชิง
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม สินจัย เปล่งพานิช เสนอชื่อเข้าชิง
ทีมนักแสดงยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
กำกับภาพยอดเยี่ยม ดนัย​ นิ่มเจริญพงศ์​

ศิวพล​ ประจักษ์บุญเจษฎา ธีรพงษ์ ทรงพระ

เสนอชื่อเข้าชิง
ลำดับภาพยอดเยี่ยม สิริกัณณ์ ศรีจุฬาภรณ์ เสนอชื่อเข้าชิง
เพลงละครยอดเยี่ยม "ศรีอยุธยา" ขับร้องโดย ใจรัตน์ พิทักษ์เจริญ เสนอชื่อเข้าชิง
เครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม ปรางค์เพชร​ ตระกูล​เผด็จ​ไกร

ดร. สุรัตน์​ จงตา ดร.​ กิตติกรณ์​ นพอุดมพันธุ์

ชนะ
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม พัฒน์ฑริก มีสายญาติ

นพพร เกิดศิลป์

ชนะ

อ้างอิง แก้

  1. "Winners Gallery - New York Festivals". tvfilm.newyorkfestivals.com.
  2. "Winners Gallery - New York Festivals". tvfilm.newyorkfestivals.com.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้