บงกช คงมาลัย

(เปลี่ยนทางจาก บงกช เบญจรงคกุล)

บงกช เบญจรงคกุล (สกุลเดิม คงมาลัย; เกิด 15 เมษายน พ.ศ. 2528) ชื่อเล่น ตั๊ก เป็นนักแสดงและพิธีกรชาวไทย

บงกช เบญจรงคกุล
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด15 เมษายน พ.ศ. 2528 (38 ปี)
บงกช คงมาลัย
คู่สมรสบุญชัย เบญจรงคกุล (2556–ปัจจุบัน)
บุตร1 คน
อาชีพ
  • นักแสดง
  • นางแบบ
  • ผู้กำกับ
  • พิธีกร
  • นักธุรกิจ
ปีที่แสดงพ.ศ. 2540–ปัจจุบัน
ผลงานเด่นสา – บางระจัน (2543)
บัวบุษยา – นิราศสองภพ (2545)
สมทรง – ไอ้ฟัก (2547)
ปลา – ต้มยำกุ้ง (2548)
กุหลาบ – ไฉไล (2549)
มารศรี – สาวน้อย (2555)
รางวัล
พระสุรัสวดีรางวัลตุ๊กตาเงินดาวรุ่งฝ่ายหญิง
บางระจัน (2543)
โทรทัศน์ทองคำรางวัลนักเเสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม
สาวน้อย (2555)

ประวัติ แก้

บงกช เป็นบุตรสาวของศิริชัย คงมาลัย กับธนาภา ชีพนุรักษ์ เป็นชาวสุพรรณบุรี[1] ครอบครัวฝ่ายบิดามีเชื้อสายจีนและอินเดีย ส่วนครอบครัวฝั่งมารดามีเชื้อสายลาวโซ่งและมอญ[2] บงกชสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคม จากนั้นพักการเรียนมหาวิทยาลัยรามคำแหง เข้าวงการบันเทิงเพื่อต้องการหาเงินเลี้ยงครอบครัว มีผลงานแจ้งเกิดด้วยวัยเพียง 15 ปี จากบท "อีสา" ในภาพยนตร์ย้อนยุคเรื่อง บางระจัน ต่อมามีผลงานภาพยนตร์เรื่อง ขุนแผน แล้วมาพลิกบทบาทเป็น "สมทรง" ในเรื่อง ไอ้ฟัก ตามด้วย อำมหิตพิศวาส รับบทเป็น แพรว[3]

ทางด้านผลงานละครแสดงละครเรื่อง ซุ้มสะบันงา, ลูกแม่ ทางช่อง 7 นิราศสองภพ, รักแผลงฤทธิ์ ทางช่อง 3 เสน่ห์จันทร์ ทางช่อง 5 และยังเคยเป็นพิธีกรรายการ "ตอกไข่ใส่จอ" ทางไอทีวี[4]

ชีวิตส่วนตัวและชีวิตครอบครัว แก้

คุณแม่ของบงกช คงมาลัยได้กล่าวในรายการชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ว่าได้ตั้งชื่อเล่น "ตั๊ก" ตามมยุรา เศวตศิลา ซึ่งมีชื่อเล่นเดียวกัน เคยเปลี่ยนชื่อจริงเป็น อจลา คงมาลัย เนื่องในโอกาสอายุครอบเบญจเพส[5] นอกจากนี้แล้วยังมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับอาทิวราห์ คงมาลัย นักร้องนำวงบอดี้สแลม เป็นหลานของยืนยง โอภากุล และยิ่งยง โอภากุล สมาชิกวงคาราบาว[6]

และได้สร้างความฮือฮาในสังคมเมื่อปลายปี พ.ศ. 2555 เมื่อจู่ ๆ ก็ได้ประกาศหมั้นและแต่งงานกับบุญชัย เบญจรงคกุล นักธุรกิจสื่อสารที่มีชื่อเสียง ประธานบริษัทดีแทค ซึ่งมีอายุมากกว่าคราวพ่อ อย่างกะทันหัน แม้กระทั่งแอ๊ด คาราบาว ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุง ก็ยังเพิ่งทราบ[6] โดยทั้งสองได้เข้าสู่พิธีสมรสที่โรงแรมโอเรียลเต็ล เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556[7] และได้ให้กำเนิดบุตรชายเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2556 เวลา 9:49 น.ด้วยวิธีการผ่าคลอดโดยตั้งชื่อว่า ด.ช.ชีวกิตติ์ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) ตั้งชื่อให้โดยมีความหมายว่า "ผู้ทรงเกียรติ" และมีชื่อเล่นว่า ข้าวหอม[8]

กระแสการถูกวิจารณ์ แก้

เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2555 บงกช ได้ลงข้อความบนเฟซบุ๊กของเธอ แสดงความชื่นชมยินดีต่อการเสียชีวิตของนายอำพล ตั้งนพกุล[9] เป็นเหตุให้ต่อมาในวันที่ 12 พฤษภาคม ขณะที่เธอจะเดินทางเข้าเมืองพัทยา เพื่อถ่ายทำภาพยนตร์ เธอถูกคนเสื้อแดงจำนวนมาก ชุมนุมร้องขับไล่ตลอดทาง จนต้องยกเลิกการถ่ายทำในวันนั้น[10]

ผลงาน แก้

ภาพยนตร์ แก้

ปีพ.ศ. เรื่อง รับบทเป็น แสดงคู่กับ
2543 บางระจัน อีสา วินัย ไกรบุตร
2545 ขุนแผน วันทอง/พิมพิลาไลย วัชระ ตังคะประเสริฐ
2547 ไอ้ฟัก สมทรง ปิติศักดิ์ เยาวนานนท์
เอ็กซ์แมน แฟนพันธุ์เอ็กซ์ จ๋า ลีโอ พุฒ
2548 ซุ้มมือปืน ชบา ฉัตรชัย เปล่งพานิช/ศรัณยู วงศ์กระจ่าง/สันติสุข พรหมศิริ/ปิติศักดิ์ เยาวนานนท์
คนเห็นผี 10 ผีหญิงสาว เรย์ แมคโดนัลด์
ต้มยำกุ้ง ปลา ทัชชกร (จา พนม) ยีรัมย์
2549 ไฉไล กุหลาบ กฤษณ์ ศรีภูมิเศรษฐ์
อำมหิต...พิศวาส แพรว ศรัณยู วงศ์กระจ่าง
2551 เทวดาท่าจะเท่ง ฟ้า เท่ง เถิดเทิง
คนไฟลุก โมนา ชลัฏ ณ สงขลา
2553 ดวงอันตราย นุ้ย มณฑล จิรา
2555 แม่นาค 3D นาค รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง
ปล้นนะยะ 2 อั๊ยยยย่ะ ปู ธนา สุทธิกมล/สมชาย เข็มกลัด
2556 จันดารา ปฐมบท วาด/วาด ทวีศักดิ์ ธนานันท์/ทวีศักดิ์ ธนานันท์
จันดารา ปัจฉิมบท
นางฟ้า เฟิร์น ชลัฏ ณ สงขลา

ละครโทรทัศน์ แก้

พ.ศ. เรื่อง บทบาท ออกอากาศ
2540 ซุ้มสะบันงา กุ้ง ช่อง 7
2542 ลูกแม่ ไหม
2545 นิราศสองภพ บัวบุษยา ช่อง 3
2547 เสน่ห์จันทร์ เสน่ห์จันทร์ นฤบดินทร์ ช่อง 5
รักแผลงฤทธิ์ พุก บายศรี ช่อง 3
2554 เฮฮาหน้าซอย แก้ว ช่อง 7
2555 สาวน้อย มารศรี ช่อง 9
2560 ศรีอโยธยา เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงปราง ช่อง TRUE4U
2562 ศรีอโยธยา 2
2565 เมียหลวง ดร.วิกันดา พันธ์ภากร (วิ) WeTV
ช่อง 8

มิวสิกวิดีโอ แก้

เพลง แก้

  • จะบอกก็ไม่บอก (ประกอบละครเรื่อง รักแผลงฤทธิ์)

ผลงานกำกับ แก้

ปีพ.ศ. ชื่อเรื่อง ร่วมด้วย
2552 ปายอินเลิฟ ปรัชญา ปิ่นแก้ว, ธนิตย์ จิตนุกูล, ศักดิ์ชาย ดีนาน, ดุลยสิทธิ์ นิยมกุล, บัณฑิต ทองดี, ฐิติพงษ์ใช้สติ
2556 นางฟ้า วิโรจน์ ศรีสิทธ์เสรีอมร
2561 "Sad Beauty" เพื่อนฉัน...ฝันสลาย

รางวัล แก้


เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "ตั๊ก บวชชีพราหมณ์อาการป่วยแม่ดีขึ้น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-08. สืบค้นเมื่อ 2012-01-26.
  2. "ตั๊ก บงกช เพิ่งรู้ 'ดีเอ็นเอ' ผสมหลายเชื้อชาติ ไม่แปลกใจที่สวยราวเทพปั้น". The Thaiger. 8 มกราคม 2567. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. อำมหิตพิศวาส เก็บถาวร 2008-10-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน deknang.com
  4. ชีวประวัติ บงกช คงมาลัย nangdee.com
  5. "อุ่นอิ่มรักหลากรสกับบรรยากาศเมืองหนาวใน ปายอินเลิฟ". SIAMZONE.COM. 10 Dec 2009.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. 6.0 6.1 "'แอ๊ด คาราบาว' ร่วมเป็นผู้ใหญ่ฝ่าย 'ตั๊ก' เชื่อโตแล้วไม่ขอยุ่ง". www.thairath.co.th. 2012-11-10.
  7. "งานแต่งงาน ตั๊ก บงกช-เจ้าสัวบุญชัย ยิ่งใหญ่อลังการ". kapook.com. 2013-03-28. สืบค้นเมื่อ 16 Jun 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "'ตั๊ก บงกช'ผ่าคลอด'น้องข้าวหอม'แล้วถือฤกษ์09.49น". www.thairath.co.th. 2013-09-08.
  9. "ตั๊ก บงกช วิจารณ์อากงเดือด". posttoday.com. 2012-05-10. สืบค้นเมื่อ 16 Jun 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "'แดง'โอดถูกต้านที่ภูเก็ตวอนใจกว้าง". คมชัดลึกออนไลน์. 2012-05-13. สืบค้นเมื่อ 16 Jun 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี 2564 เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 139 ตอนพิเศษ 2 ข หน้า 20, 14 กุมภาพันธ์ 2565