ทฤษฎี ณ พัทลุง ชื่อเล่น พิซซ่า เกิด 9 มีนาคม พ.ศ. 2529 เป็นนักประพันธ์ดนตรี และวาทยกรที่ได้รับการยอมรับในประเทศไทยที่และมีชื่อเสียงในระดับโลก[ต้องการอ้างอิง] ปัจจุบันทำงานเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยเพลงของวงบางกอกโอเปร่า นับเป็นคนไทยคนแรกที่บรรเลงผลงานของบาคได้ครบถ้วน[ต้องการอ้างอิง] Goldberg Variations ปัจจุบันได้ก่อตั้งวง Bangkok Baroque Ensemble[1] นับเป็นนักดนตรีกลุ่มแรกในภูมิภาคนี้[ไหน?] ที่มีความเชี่ยวชาญดนตรีสไตล์บาโรกเป็นอย่างดี[ต้องการอ้างอิง] เป็นการผสม

ทฤษฎี ณ พัทลุง
เกิด9 มีนาคม พ.ศ. 2529 (38 ปี)
ไทย
สัญชาติไทย
อาชีพวาทยกร นักประพันธ์ดนตรี

ประวัติ แก้

ทฤษฎี ณ พัทลุง เป็นนักประพันธ์ดนตรีและวาทยกรไทย ที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับโลกอย่างต่อเนื่อง เป็นวาทยกรไทยคนเดียวที่ได้รับเกียรติไปอำนวยเพลงให้กับ Royal Scottish National Orchestra (วงออร์เคสตราแห่งชาติสก็อตแลนด์), Orchestra Sinfonica Nazionale della RAI (วงออร์เคสตราแห่งชาติอิตาลี) และยังเป็นศิลปินชาวไทยคนแรกที่ได้เซ็นสัญญากับสังกัด Columbia Artists Management Inc. นิวยอร์ก (CAMI) ซึ่งดูแลงานให้กับวาทยกรระดับโลกอื่นๆอีกมากมาย

ในปี 2554 ทฤษฎีได้รับการกล่าวถึงโดยนิตยสาร Class Filosofia แห่งประเทศอิตาลี ว่าเป็นหนึ่งในวาทยกรอายุต่ำกว่า 30 ปีที่มีความสามารถที่สุดในโลก ในปีต่อมา ได้ควบคุมวง Siam Sinfonietta ร่วมกับอาจารย์สมเถา สุจริตกุล ในการแข่งขันวงดุริยางค์เยาวชนระดับโลก Summa Cum Laude International Youth Music Festival Vienna นำรางวัลชนะเลิศกลับมาสู่ประเทศไทย หนังสือพิมพ์ Bangkok Post เลือกทฤษฎีเป็นหนึ่งใน "66 Young Leaders Shaping Thailand's Future" และนอกจากนั้นยังได้รับคัดเลือกเป็น ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชน สาขาสื่อมวลชนเพื่อเด็กและเยาวชนที่ป้องกันปัญหาสังคม จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยเข้ารับพระราชทานโล่เกียรติคุณในวันเยาวชนแห่งชาติ ประจำปี 2555

ทฤษฎีรับตำแหน่งโค้ชนักร้องโอเปร่าที่สถาบัน Opera Studio Nederland แห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ตั้งแต่อายุ 18 ปี และเป็นวาทยกรไทยคนแรกที่ได้อำนวยเพลง ณ Concertgebouw ประเทศเนเธอร์แลนด์ หนึ่งในหอแสดงดนตรีคลาสสิคที่สำคัญที่สุดของโลก  จากนั้นได้รับเชิญจาก Dutch National Touring Opera ไปอำนวยเพลงในมหาอุปรากร La Cenerentola (ซินเดอเรลลา) ใน 12 เมืองทั่วประเทศเนเธอร์แลนด์ และยังได้รับเชิญไปอำนวยเพลงในเทศกาลโอเปร่าระดับโลก Rossini Opera Festival ณ เมือง Pesaro ประเทศอิตาลีในปี 2552-2553 โดยถือเป็นวาทยกรรับเชิญที่อายุน้อยที่สุดในเทศกาลเป็นเวลา 2 ปีซ้อน นอกจากนี้ ทฤษฎียังเป็นวาทยกรไทยเพียงคนเดียวที่ได้ร่วมงานใกล้ชิดกับผู้กำกับการแสดงอุปรากรที่มีชื่อเสียงระดับโลก อาทิ Sir David McVicar, Harry Kupfer และ Pierre Audi

ในฐานะนักประพันธ์เพลง ทฤษฎีได้ประพันธ์เพลง Eternity (นิรันดร์) คีตาลัยถวายแด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งได้รับการบรรเลง ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง และเมื่อสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงเจริญพระชนมายุ 7 รอบ ทฤษฎีได้ประพันธ์บทเพลงเฉลิมพระขวัญ "พระหน่อนาถ" โดยนำบทกล่อมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มาประพันธ์ทำนองสากล ออกอากาศทางช่อง Modernine TV ต่อมาได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายโดยสื่อโทรทัศน์ในช่วงพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ และบรรเลงสดในมณฑลพิธี พระเมรุ ท้องสนามหลวง 

ในปี 2555 ทฤษฎี ได้รับเลือกเป็นผู้บรรเลงเปียโนเดี่ยวกับวงสยามฟิลฮาร์โมนิคออร์เคสตราในเพลง คอนแชร์โตมหาราชินี โดย สมเถา สุจริตกุล ในคอนเสิร์ตเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และรับตำแหน่งวาทยกรในมหาอุปรากรเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง เตมีย์ใบ้ จัดแสดงขึ้นในวันที่ 5 ธันวาคม 2555 เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นำเสนอโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม นอกจากนั้น ทฤษฎียังมีประสบการณ์นอกเหนือจากมหาอุปรากร ในฐานะผู้เรียบเรียงและกำกับดนตรีใน "เรยา เดอะมิวสิคัล" 

ทฤษฎี เกิดในกรุงเทพมหานครเมื่อปี 2529 เริ่มศึกษาดนตรีเมื่ออายุ 13 ปี โดยเรียนเปียโนกับ อาจารย์วรพร ณ พัทลุง, อาจารย์จามร ศุภผล และ อาจารย์เอริ นาคากาวา ต่อมาได้รับการสนับสนุนจากอาจารย์สมเถา สุจริตกุล และรับหน้าที่ผู้ฝึกสอนนักร้องโอเปร่าประจำคณะมหาอุปรากรกรุงเทพตั้งแต่อายุ 15 ปี ปัจจุบันนอกจากการเดินทางไปเป็นวาทยกรรับเชิญกับวงออร์เคสตราในต่างประเทศนั้น ทฤษฎียังดำรงตำแหน่งเป็นวาทยกรประจำวงดุริยางค์สยามฟิลฮาร์โมนิค 

จากการอำนวยเพลงของทฤษฎีในมหาอุปรากรเรื่อง The Magic Flute ของ Mozart ในปี 2549 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นิตยสาร 'OPERA' แห่งกรุงลอนดอนได้กล่าวถึงการแสดงครั้งนั้นในบทวิจารณ์ว่า: "หากคำว่า 'อัจฉริยะ' ยังเหลือความหมายใดๆอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยคำกล่าวอ้างเกินจริงนี้ ทฤษฎี นับเป็นตัวอย่างที่แท้จริงแห่งยุคปัจจุบัน" ("If the word 'genius' still has any meaning in this age of rampant hyperbole, Trisdee ... is truly a living example.")

ความสามารถทางด้านดนตรี แก้

ทฤษฎีมีโอกาสประพันธ์เพลง Eternity (นิรันดร์) คีตาลัยถวายแด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์[2] ซึ่งเพลงดังกล่าวได้นำไปบรรเลงในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ณ ท้องสนามหลวง และถูกบันทึกลงแผ่นซีดีในชุด "ประโคมเพลง ประเลงถวาย" เพื่อเป็นของที่ระลึกสำหรับผู้มาร่วมในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่จัดขึ้น ณ เรือนจุฬานฤมิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[3] และเมื่อสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงเจริญพระชนมายุ 7 รอบ ทฤษฎีได้ประพันธ์เพลง "พระหน่อนาถ" เฉลิมพระขวัญ โดยนำบทกล่อมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมาบรรจุทำนองสากล[2] ออกอากาศทางช่องโมเดิร์นไนน์ทีวี

ในฐานะผู้อำนวยเพลง ทฤษฎีได้ก้าวไปขั้นสูงสุดคือการอำนวยเพลงที่ Concertgebouw ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นหนึ่งในหอแสดงดนตรีที่สำคัญที่สุดในโลก[ต้องการอ้างอิง] ที่ศิลปินอมตะ เช่น Gustav mahler และ Richard Strauss ได้อำนวยเพลง และจัดเป็นคนไทยคนแรกและคนเดียวที่ได้รับเกียรตินี้ [ต้องการอ้างอิง]ช่วงปี พ.ศ. 2552-2554 ทฤษฎีได้รับเชิญจาก Nationale Reisopera (Dutch National Touring Opera) ไปอำนวยเพลงในมหาอุปรากรของ Rossini เรื่อง La Cenerentola (ซินเดอเรลลา) ใน 12 เมืองทั่วประเทศเนเธอร์แลนด์ และยังได้รับเชิญกลับไปอำนวยเพลงในเทศกาล Rossini Opera Festival ณ เมือง Pesaro ประเทศอิตาลีในปี 2552 และ 2553 จึงถือเป็นวาทยกรรับเชิญที่อายุน้อยที่สุดในเทศกาลเป็นเวลา 2 ปีซ้อน[ต้องการอ้างอิง] นอกจากนี้ เขาได้มีโอกาสให้อำนวยการเพลงให้กับวงออเคสตราอีกหลายวง เช่น yal Scottish Nation Orchestra, Orchestra Sanfonica Nazionale della RAI (วงออเคสตร้าแห่งชาติอิตาลี)[4]

ผลงานด้านการอำนวยเพลงของทฤษฎียังได้รับชื่นชมจากนักวิจารณ์ที่ได้เห็นผลงานการอำนวยเพลงของเขาในการแสดงชุด The Magic Flute ของ Mozart เมื่อปี พ.ศ. 2549ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยได้เขียนลงในนิตยสารโอเปร่า (OPERA) แห่งกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ตอนหนึ่งว่า "หากคำว่า “อัจฉริยะ” ยังเหลือความหมายใด ๆ อยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยคำกล่าวอ้างเกินจริงนี้ “ทฤษฎี” นับเป็นตัวอย่างที่แท้จริงแห่งยุคปัจจุบัน” [4]

ผลงาน แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Contacts". Bangkok Opera website. สืบค้นเมื่อ August 20, 2011.
  2. 2.0 2.1 เส้นทางฝัน ของ วาทยกรหนุ่ม ทฤษฎี ณ พัทลุง ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน พ.ศ. 2556
  3. จุฬาฯประโคมเพลง ประเลงถวายพระพี่นาง, สืบคืนวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
  4. 4.0 4.1 ทฤษฎี ณ พัทลุง อัจฉริยะแห่งวาทยกรไทย[ลิงก์เสีย], เดลินิวส์ออนไลน์, สืบคืนวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
  5. Opera Siam Presents: Mae Naak, a UK Premiere[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น แก้