กรมหลวงพิพิธมนตรี

กรมพระเทพามาตุ มีพระอิสริยยศเดิมว่า กรมหลวงพิพิธมนตรี[1] หรือ กรมหลวงพิจิตรมนตรี[2] เป็นพระอัครมเหสีน้อย[3]ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และเป็นสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงในสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรและสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์

กรมพระเทพามาตุ (พลับ)
กรมพระเทพามาตุ
ครองราชย์12 พฤษภาคม พ.ศ. 2301
ก่อนหน้ากรมพระเทพามาตย์ (กัน)
ถัดไปกรมพระเทพามาตย์ (นกเอี้ยง)
พระอัครมเหสีกรุงศรีอยุธยา
ครองราชย์พ.ศ. 2280 - พ.ศ. 2301
ก่อนหน้ากรมหลวงอภัยนุชิต
ถัดไปกรมขุนวิมลพัตร
สวรรคตประมาณตั้งเเต่ 31 ตุลาคม-29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2301
ถวายพระเพลิง7 เมษายน พ.ศ. 2302
พระราชสวามีสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
พระราชบุตร8 พระองค์
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
พระราชบิดานายจบคชประสิทธิ์

พระราชประวัติ แก้

พระพันวษาน้อย เป็นบุตรีของนายช้างทรงบาศในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยพระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ระบุว่าเมื่อสมเด็จพระเพทราชาปราบดาภิเษก พระบิดานั้นได้รับแต่งตั้งเป็นกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข[4] แต่บัญชีพระนามเจ้านายในคำให้การชาวกรุงเก่าระบุว่า พระบิดาได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพระบำเรอภูธร ส่วนมารดาเป็นสตรีเชื้อสายพราหมณ์บ้านสมอปลือ เมืองเพชรบุรี พระองค์มีพระนามเดิมว่าพลับ มีพระเชษฐภคินีพระองค์หนึ่งคือพระองค์ขาว ซึ่งได้เป็นพระชายาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นพระบัณฑูรน้อย ส่วนพระองค์พลับต่อมาก็ได้เป็นพระชายารองในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเช่นกัน ในระหว่างดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระองค์พลับมีพระราชโอรส 2 พระองค์ และพระราชธิดา 6 พระองค์ ตามลำดับดังนี้[5]

  1. เจ้าฟ้าหญิงสิริประชา (หรือเจ้าฟ้าประชาวดี)
  2. เจ้าฟ้าหญิงสิริประภา (หรือเจ้าฟ้าประภาวดี)
  3. เจ้าฟ้าหญิงอินทวดี (หรือเจ้าฟ้าพินทวดี)
  4. เจ้าฟ้าหญิงกษัตรีย์
  5. เจ้าฟ้าชายเอกทัศน์ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี (คือสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์)
  6. เจ้าฟ้าหญิงบัวจัน (หรือเจ้าฟ้าจันทรวดี)
  7. เจ้าฟ้าหญิงนวน (หรือเจ้าฟ้านุ่ม)
  8. เจ้าฟ้าชายอุทุมพรราชกุมาร กรมขุนพรพินิต (สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร)

พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ระบุว่าเมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศปราบดาภิเษกในปี พ.ศ. 2275 ได้แต่งตั้งพระชายารองเป็นกรมหลวงพิพิธมนตรี[6] ในตำแหน่งพระอัครมเหสีน้อย จึงออกพระนามว่าพระพันวษาน้อย

แรม 5 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2301 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศประชวรหนักใกล้สวรรคต กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (เจ้าฟ้าชายอุทุมพร) โปรดให้ทูลเชิญกรมหลวงพิพิธมนตรี เจ้าฟ้าจันทวดี และกรมขุนยี่สารเสนี ไปประทับ ณ พระตำหนักสวนกระต่าย[7] เมื่อสวรรคตแล้ว กรมพระราชวังบวรสถานมงคลจึงขึ้นสืบราชสมบัติ แต่ได้เพียง 10 วัน ก็ถวายราชสมบัติแก่กรมขุนอนุรักษ์มนตรี แล้วเสด็จออกผนวช ส่วนกรมขุนอนุรักษ์มนตรีขึ้นครองราชย์เฉลิมพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชา แล้วโปรดให้ตั้งพระบรมราชชนนีเป็น กรมพระเทพามาตุ แต่เมื่อถึงเดือน 12 พระบรมราชชนนีก็เสด็จสวรรคต จึงโปรดให้ตั้งพระบรมโกศไว้คู่กับพระบรมโกศพระบรมราชชนก ณ พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ แล้วถวายพระเพลิงทั้งสองพระองค์พร้อมกันในวันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 5 พ.ศ. 2303[8]

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย แก้

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถ
  1. ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง, หน้า 174
  2. ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง, หน้า 116
  3. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 172
  4. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 318
  5. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 623-624
  6. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 356
  7. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 368
  8. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 371
บรรณานุกรม
  • มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554. 264 หน้า. ISBN 978-616-7308-25-8
  • พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9
  • ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง. กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2553. 536 หน้า. ISBN 978-616-508-073-6


ก่อนหน้า กรมหลวงพิพิธมนตรี ถัดไป
กรมหลวงอภัยนุชิต   พระอัครมเหสีกรุงศรีอยุธยา
(2280 – 2301)
  กรมขุนวิมลพัตร