กรมขุนยี่สารเสนีย์

กรมขุนยี่สารเสนีย์[ก] หรือ พิศาลเสนี[1][2] มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้านวน[3] หรือนุ่ม[2][4] เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กับกรมหลวงพิพิธมนตรี และเป็นพระเชษฐภคินีในสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร และสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์[3]

กรมขุนยี่สารเสนีย์
เจ้าฟ้าต่างกรม
พระสวามีเจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
พระมารดากรมหลวงพิพิธมนตรี
ศาสนาพุทธ

ใน คำให้การชาวกรุงเก่า, คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม และ คำให้การขุนหลวงหาวัด ระบุว่าพระองค์เป็นพระมเหสีในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์[4][5][6][7]

พระประวัติ แก้

กรมขุนยี่สารเสนีย์ มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้านุ่ม[2][4] แต่ใน คำให้การชาวกรุงเก่า ระบุพระนามว่า เจ้าฟ้านวน[3] เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ประสูติแต่กรมหลวงพิพิธมนตรี คำให้การขุนหลวงหาวัด ระบุว่าพระชนนีสืบเชื้อสายพราหมณ์จากเมืองเพชรบุรี[8] พระองค์มีพระพี่น้องร่วมพระชนกชนนีแปดพระองค์ ได้แก่ เจ้าฟ้าสิริประชา (หรือประชาวดี), เจ้าฟ้าสิริประภา (หรือประภาวดี), เจ้าฟ้าอินทวดี (หรือพินทวดี), เจ้าฟ้ากษัตรีย์, สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์, เจ้าฟ้าบัวจัน (หรือจันทรวดี), และสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร[3]

เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงตั้งเจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์เป็นพระมหาอุปราช จึงพระราชทานเจ้าฟ้านุ่มเป็นพระมเหสี[9] และโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระนามกรมว่า กรมขุนยิสารเสนีย์[10] หรือ ยี่สารเสนีย์[11] เข้าใจว่า "ยี่สาร" เป็นคำยืมจากภาษาเปอร์เซีย แปลว่า "ตลาดขายของแห้ง" ปรากฏในเอกสารเก่าต่าง ๆ แต่ในกฎหมายตราสามดวงพบว่าเป็นชื่อตำแหน่งข้าราชการต่าง ๆ และไม่เกี่ยวข้องกับตลาด[12] อย่างไรก็ตามเจ้าฟ้านุ่มก็มิได้ประสูติการพระโอรสธิดา[9]

หลังพระสวามีถูกสำเร็จโทษไปแล้ว กรมขุนยี่สารเสนีย์ปรากฏในเอกสารไทยอีกครั้งในปลายรัชกาล เมื่อวันแรม 5 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2301 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระบิดา ประชวรหนักจวนสวรรคต กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (เจ้าฟ้าอุทุมพร) โปรดให้ทูลเชิญกรมหลวงพิพิธมนตรี เจ้าฟ้าจันทวดี และกรมขุนยี่สารเสนี ไปประทับ ณ พระตำหนักสวนกระต่าย[1][13]

พงศาวลี แก้

เชิงอรรถ แก้

หมายเหตุ

บางแห่งสะกดว่า ยิสารเสนีย์[4]

อ้างอิง
  1. 1.0 1.1 ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง, หน้า 490
  2. 2.0 2.1 2.2 จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1, หน้า 9
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 624
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "คำให้การขุนหลวงวัดประดูทรงธรรม เอกสารจากหอหลวง ความแทรก "คำให้การ" เกี่ยวกับสมัยพระนครศรีอยุธยาตอนปลาย". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 626
  6. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 747
  7. ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง, หน้า 176
  8. ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง, หน้า 478
  9. 9.0 9.1 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 551
  10. ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง, หน้า 285
  11. ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง, หน้า 286
  12. วลัยลักษณ์ ทรงศิริ (21 สิงหาคม 2561). "ยี่สาร : ย่านตลาดกลางป่าชายเลน". ประวัติศาสตร์ของคนกลุ่มเล็ก ๆ. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 368
บรรณานุกรม