นายจบคชประสิทธิ์

นายจบคชประสิทธิ์ เป็นกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขพระองค์แรกแห่งกรุงศรีอยุธยา

นายจบคชประสิทธิ์
กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข
รัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา
ก่อนหน้าตำแหน่งใหม่
ถัดไปเจ้าฟ้าพร (พระบัณฑูรน้อย)
พระชายาสตรีชาวบ้านสมอปรือ
พระธิดากรมหลวงอภัยนุชิต (พระพันวษาใหญ่)
กรมหลวงพิพิธมนตรี (พระพันวษาน้อย)

พระประวัติ แก้

กรมพระราชวังบวรสถานพิมุขพระองค์นี้ไม่ปรากฏพระนามเดิม ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเป็นขุนนางมีบรรดาศักดิ์เป็นนายจบคชประสิทธิ์ ตำแหน่งนายทรงบาศขวาในกรมช้าง[1] ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ฝึกสอนในการช้าง จึงมีอิทธิพลมาก และได้ร่วมกับพระเพทราชาชิงราชสมบัติ[2] เมื่อพระเพทราชาขึ้นครองราชย์ จึงทรงตั้งนายจบคชประสิทธิ์เป็นกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข รับพระบัญชา[1]

พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ระบุว่า ในเดือน 9 ปีมะโรง ถาดทองในพระราชวังหาย สมเด็จพระเพทราชาทรงให้สืบหาจนพบว่าอยู่ในพระราชวังหลัง กรมพระราชวังบวรสถานพิมุขจึงถูกลงพระราชอาญาจนทิวงคต[2] พระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่าสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงเห็นว่ากรมพระราชวังบวรสถานพิมุขกับเจ้าพระยาสุรสงครามมียศและบริวารมาก เกรงว่าภายหน้าจะเป็นศัตรู เมื่อกราบทูลสมเด็จพระเพทราชาแล้ว ทั้งสองพระองค์จึงออกอุบายให้นำถาดทองไปซ่อนในพระราชวังหลัง แล้วให้ลูกขุนพิจารณาสืบสวนจนพบ จึงให้ข้าหลวงไปจับกุมกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขมาไต่สวน บรรดาตุลาการพิพากษาตามพระราชอัธยาศัยว่ากรมพระราชวังหลังเป็นกบฏ ให้สำเร็จโทษเสีย[3]

พระธิดา แก้

บัญชีพระนามเจ้านาย ในคำให้การชาวกรุงเก่า (มีความเคลื่อนเคลื่อนว่านายทรงบาศคือเจ้าพระบำเรอภูธร) ระบุว่า พระชายาในกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขมีเชื้อพราหมณ์ เป็นชาวบ้านสมอปรือ เมืองเพชรบุรี มีพระธิดาด้วยกัน 2 พระองค์ คือ[4]

  1. พระองค์ขาว ภายหลังได้เป็นกรมหลวงอภัยนุชิต
  2. พระองค์พลับ ภายหลังได้เป็นกรมหลวงพิพิธมนตรี

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 ประชุมพงศาวดารภาคที่ 82, หน้า 263
  2. 2.0 2.1 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 333
  3. ประชุมพงศาวดารภาคที่ 82, หน้า 265
  4. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 623
บรรณานุกรม
  • ประชุมพงศาวดารภาคที่ 82 เรื่องพระราชพงศาวดารกรุงสยามจากต้นฉบับของบริติชมิวเซียมกรุงลอนดอน. กรุงเทพฯ : พิมพ์ครั้งที่ 2, กรมศิลปากร, 2537. 423 หน้า. ISBN 974-419-025-6
  • พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ตรวจสอบชำระจากเอกสารตัวเขียน. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง, 2558. 558 หน้า. ISBN 978-616-92351-0-1 [จัดพิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในการพระราชทานเพลิงศพพระธรรมปัญญาบดี (ถาวร ติสฺสานุกโร ป.ธ.๔)]
  • พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9


ก่อนหน้า นายจบคชประสิทธิ์ ถัดไป
สถาปนาตำแหน่ง
กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข
  กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข
(อาณาจักรอยุธยา)

  เจ้าฟ้าพร