กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์

กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ มีพระนามเดิมว่า เจ้าหญิงฉิม เป็นพระธิดาของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู) เจ้าผู้ครองนครศรีธรรมราช และเป็นพระมเหสีฝ่ายซ้ายในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์
พระมเหสีฝ่ายซ้าย
ก่อนหน้าเจ้าฟ้าสังวาลย์
ถัดไปสิ้นสุด
พระสวามีสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
พระบุตร
ราชวงศ์ธนบุรี (เสกสมรส)
พระบิดาเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู)
พระมารดาหม่อมทองเหนี่ยว
ศาสนาพุทธ

พระประวัติ แก้

กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ หรือพระนามเดิมว่าเจ้าหญิงฉิม เป็นพระธิดาในเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู) เจ้าผู้ครองนครศรีธรรมราชซึ่งตั้งตนเป็นรัฐอิสระหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองเรียกว่าก๊กเจ้าเมืองนคร และมิได้มีพื้นเพเป็นชาวนครศรีธรรมราช[1] เจ้านครศรีธรรมราชมีพระธิดาสามองค์ที่ประสูติแต่หม่อมทองเหนี่ยว พระชายา[2][3] ผู้มีเชื้อสายจีนในเมืองนครศรีธรรมราช[4] ได้แก่ เจ้าหญิงชุ่ม (หรือนวล), เจ้าหญิงฉิม และเจ้าหญิงปราง (หรือ หนูเล็ก)[5] ในราชสำนักนครศรีธรรมราชออกพระนามว่า ทูลกระหม่อมฟ้าหญิงใหญ่, ทูลกระหม่อมฟ้าหญิงกลาง และทูลกระหม่อมฟ้าหญิงเล็กตามลำดับ[6][7][8] และมีพระขนิษฐาต่างมารดาอีกองค์หนึ่งคือเจ้าหญิงยวน (หรือจวน)[9][10] นิธิ เอียวศรีวงศ์สันนิษฐานว่ากรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์น่าจะประสูติใน พ.ศ. 2302 ขึ้นไปเป็นอย่างช้า[11]

เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงปราบปรามชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชได้เมื่อปี พ.ศ. 2312 เจ้านครศรีธรรมราชยอมสวามิภักดิ์ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ไม่ทรงถือว่าเจ้านครศรีธรรมราชเป็นกบฏ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เข้าไปรับราชการในกรุงธนบุรี และทรงแต่งตั้งเจ้านราสุริวงษ์ พระเจ้าหลานเธอครองนครศรีธรรมราชแทน[12] ด้วยเหตุนี้เจ้านครจึงถวายธิดาคือเจ้าหญิงฉิมเป็นพระสนมสนองพระเดชพระคุณโดยมีเจ้าหญิงปรางติดตามไปด้วย[13]

ขณะที่เจ้าหญิงฉิมรับราชการเป็นพระสนมนั้น ได้สนองพระเดชพระคุณประสูติกาลพระโอรสคือเจ้าฟ้าทัศพงษ์ (ราว พ.ศ. 2319)[11] ปีต่อมาจึงประสูติกาลพระโอรสอีกคือเจ้าฟ้าทัศไพ จึงมีนามเป็นเจ้าจอมมารดาฉิม ตำแหน่งพระสนมเอก[14] หลังการประสูติกาลพระโอรสเป็นมารดาเจ้า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกเจ้าจอมมารดาฉิมขึ้นเป็นกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ เป็นมเหสีฝ่ายซ้าย[6][8][15] มีพระราชโอรส-ธิดาด้วยกัน 4 พระองค์ ได้แก่[9]

  1. เจ้าฟ้าทัศพงษ์ (ต่อมาถูกถอดพระยศเป็นพระพงษ์นรินทร์) เป็นต้นสกุลพงษ์สิน
  2. เจ้าฟ้าทัศไพ (ต่อมาถูกถอดพระยศเป็นพระอินทร์อภัย) เป็นบิดาของเจ้าจอมมารดาน้อย ในรัชกาลที่ 4 ต้นราชสกุลนพวงศ์และสุประดิษฐ์
  3. เจ้าฟ้านเรนทรราชกุมาร (ต่อมาถูกถอดพระยศเป็นพระนเรนทรราชา) เป็นต้นสกุลรุ่งไพโรจน์
  4. เจ้าฟ้าปัญจปาปี (ต่อมาถูกลดพระยศเป็นหม่อมปัญจปาปี) เป็นหม่อมในสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ ต้นราชสกุลอิศรางกูร

กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์สิ้นพระชนม์เมื่อใดไม่เป็นที่ปรากฏ

อ้างอิง แก้

  1. นิธิ เอียวศรีวงศ์. การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ : มติชน, 2559, หน้า 160
  2. วันพระ สืบสกุลจินดา (4 พฤศจิกายน 2560). "โขนละคร วังพระเจ้านครศรีธรรมราช". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "บัวในเก๋งจีน วัดแจ้ง นครศรีธรรมราช". ฐานข้อมูลศิลปกรรมในภาคใต้ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-09. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "บทที่ ๑ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู)". มูลนิธิสกุล ณ นคร และสายสัมพันธ์. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  5. เทวะวงศ์วโรปการ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา (2465). พระราชหัดถเลขาในพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมครั้งที่ 3 (PDF). พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร. p. 25.[ลิงก์เสีย]
  6. 6.0 6.1 จุลลดา ภักดีภูมินทร์. "เจ้าจอมมารดาฉิม". เด็กดีดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. จุลลดา ภักดีภูมินทร์. "พระบรมราชอนุสรณ์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช". เด็กดีดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. 8.0 8.1 "พระราชวงศ์และต้นตระกูลอันเป็นเชื้อพระวงศ์ (หน้า 2)". สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. 9.0 9.1 สุดารา สุจฉายา. ประวัติศาสตร์สมัยธนบุรี. นนทบุรี : สารคดี, 2560, หน้า 113
  10. "พระราชวงศ์และต้นตระกูลอันเป็นเชื้อพระวงศ์ (หน้า 3)". สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. 11.0 11.1 นิธิ เอียวศรีวงศ์. การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ : มติชน, 2559, หน้า 161
  12. สุดารา สุจฉายา. ประวัติศาสตร์สมัยธนบุรี. นนทบุรี : สารคดี, 2560, หน้า 58
  13. โรม บุนนาค (7 กันยายน 2558). "โอรสลับในพงศาวดารกระซิบ! จากพระเอกาทศรถ พระนารายณ์ ถึงพระเจ้าตากสิน!!". ผู้จัดการออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-22. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชวิจารณ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายความทรงจำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์). กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา, 2562, หน้า 81
  15. จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชวิจารณ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายความทรงจำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์). กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา, 2562, หน้า 36, 86