สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (พ.ศ. 2254 – 2311) พระนามเดิม ทองดี เป็นสมเด็จพระบรมอรรคราชบรรพบุรุษแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เนื่องด้วยทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชชนกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก | |||||
---|---|---|---|---|---|
พระราชานุสาวรีย์ ณ เขาสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี | |||||
สมุหนายกเมืองพิษณุโลก | |||||
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2310 – 2311 | |||||
กษัตริย์ | พระเจ้าพิศณุโลก (เรือง) พระเจ้าพิศณุโลก (จัน) | ||||
พระราชสมภพ | พ.ศ. 2254 บ้านสะแกกรัง เมืองอุทัยธานี อาณาจักรอยุธยา ทองดี | ||||
สวรรคต | พ.ศ. 2311 (57 ปี)[1]: 110 เมืองพิษณุโลก ชุมนุมพิษณุโลก | ||||
ถวายพระเพลิง | พ.ศ. 2339 พระเมรุมาศ ทุ่งพระเมรุ | ||||
บรรจุพระอัฐิ | หอพระธาตุมณเฑียร | ||||
พระชายา | พระอัครชายา พระน้องนางของพระอัครชายา เจ้าจอมมารดามา | ||||
พระราชบุตร | |||||
| |||||
ราชวงศ์ | จักรี | ||||
พระราชบิดา | พระยาราชนิกูล | ||||
ศาสนา | เถรวาท |
พระราชประวัติ
แก้สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก เสด็จพระราชสมภพที่บ้านสะแกกรัง เมืองอุทัยธานี เป็นบุตรพระองค์ใหญ่ของพระยาราชนิกูล (ทองคำ)[3]: 118, 134 [1]: 102–103 ปลัดทูลฉลองกรมมหาดไทย[4]: 13 (บ้างก็ว่า กรมนา[ใคร?][ต้องการอ้างอิง]) ในรัชกาลสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เสนาบดีพระคลังในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นออกพระวิสุทธสุนทร และได้เดินทางไปถวายพระราชสาส์นของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ยังราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2228
สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ทรงรับราชการในกรมมหาดไทย รับบรรดาศักดิ์เป็นที่ หลวงพินิจอักษร และ พระอักษรสุนทรศาสตร์ ในตำแหน่งเสมียนตรากรมมหาดไทย มีหน้าที่ร่างพระราชสาส์นโต้ตอบกับหัวเมืองฝ่ายเหนือ และเก็บรักษาพระราชลัญจกร และทรงรับบรรดาศักดิ์ครั้งสุดท้ายเป็น เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ ที่เมืองพิษณุโลก ได้รับสถาปนาบรรดาศักดิ์โดยเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) พระบุตร ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงนำนามตำแหน่ง เจ้าพระยาจักรี ของพระราชบิดา และตำแหน่ง เจ้าพระยาจักรี ของพระองค์ซึ่งรับราชกาลมาแต่ครั้งกรุงธนบุรีมาตั้งเป็นนามราชวงศ์จักรี[1]: 13
สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก เสกสมรสกับสองพี่น้องบุตรีของคหบดีชาวจีน คนพี่ชื่อว่า ดาวเรือง[5] (หรือ หยก) ส่วนคนน้อง ไม่ทราบนาม ตั้งบ้านเรือนอยู่ภายในกำแพงพระนคร ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณป้อมเพชร ซึ่งเป็นย่านอาศัยของชาวจีน
พระราชโอรส-ธิดา
แก้สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก มีพระโอรส-ธิดา กับพระอัครชายา (หยก) 5 พระองค์ คือ[6]
- สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี (พ.ศ. 2272 – 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2342)
- สมเด็จพระเจ้าขุนรามณรงค์
- สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ (สิ้นพระชนม์ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2342)
- พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (20 มีนาคม พ.ศ. 2280 – 7 กันยายน พ.ศ. 2352)
- สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (19 กันยายน พ.ศ. 2286 – 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2346)
มีพระธิดาอีก 1 พระองค์ ที่ประสูติแต่พระน้องนางของพระอัครชายา คือ
- พระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (สิ้นพระชนม์ราว พ.ศ. 2370)
และมีพระโอรสอีก 1 พระองค์ เกิดแต่บาทบริจาริกาชื่อว่า มา คือ
- สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา (พ.ศ. 2303 – 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2350)
สวรรคต
แก้ช่วงการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2310 ก่อนที่จะเสียกรุง[7] พระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) พร้อมด้วยคุณมา ภรรยา (ต่อมาคือ เจ้าจอมมารดามา) และนายลา (ต่อมาสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา) บุตรคนสุดท้องลี้ภัยออกจากกรุงศรีอยุธยาไปรับราชการกับเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง)[8] ซึ่งตั้งตนเป็นกษัตริย์อยู่ทางเหนือ ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ สมุหนายกเสนาบดี[9] ที่เมืองพิษณุโลก รับราชการกระทั่งชุมนุมพิษณุโลก (เรือง) ตกไปเป็นของชุมนุมเจ้าพระฝาง (เรือน) ไม่นานนักเจ้าพระยาจักรี (ทองดี) จึงได้ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. 2311[1]: 110 นายลาและมารดา จึงได้ทำการฌาปนกิจศพตามสมควรในเวลานั้น ต่อมาจึงเชิญอัฐิบรรจุในมหาสังข์ มามอบแด่พระยาอไภยรณฤทธิ์ (รัชกาลที่ 1) ที่กรุงธนบุรี
พระมหาสังข์องค์นี้เป็นสังข์เวียนซ้าย ความยาว 20 เซนติเมตร ริ้วเวียนรอบหัวสังข์และปากสังข์เลี่ยมทองคำสลักลายฝังพลอย ข้างในท้องสังข์มีดอกมะเขือฝังนพเก้า ร่องปลายปากสังข์จารึกอักขระ อุมีมังสีทองคำลงยารองรับ ถือเป็นพระมหาสังข์คู่บ้านคู่เมือง ใช้หลั่งน้ำพระราชทานแก่ราชสกุล ในงานสมรสพระราชทาน กราบถวายบังคมลาไปปฏิบัติราชการต่างประเทศ ในรัชกาลต่อมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน
พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิ
แก้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้จัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิของพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนีขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2338 เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 60 พรรษา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สร้างพระเมรุมาศขนาดใหญ่ และมีเครื่องมหรสพสมโภช เหมือนอย่างงานพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดินในสมัยกรุงศรีอยุธยา
พระเมรุมาศก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2339 ได้มีพิธีแห่พระบรมอัฐิออกสู่พระเมรุมาศ มีมหรสพสมโภชเป็นเวลา 7 วัน เมื่อถวายพระเพลิง ไม่ได้ถวายพระเพลิงมากจะถวายพระเพลิงแต่พอควรเพราะแต่เดิมแล้วเป็นพระบรมอัฐิ เมื่อเสร็จพระราชพิธีถวายพระเพลิงแล้วได้อญเชิญพระบรมอัฐิกลับมาประดิษฐาน ณ หอพระสุราลัยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชยังได้โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธปฏิมากรปางห้ามสมุทร หุ้มทองคำประดับเนาวรัตน์ขึ้นองค์หนึ่ง ถวายพระนามว่าพระพุทธจักรพรรดิ ทรงอุทิศส่วนพระราชกุศลถวายแด่สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระพุทธรูปพระองค์นี้ประดิษฐานไว้ ณ หอพระสุราลัยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง
พระราชานุสาวรีย์
แก้จังหวัดอุทัยธานี ได้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ประดิษฐานอยู่ ณ เขาแก้ว (เขาสะแกกรัง-ปัจจุบัน) ซึ่งเป็นเทือกเขาที่ทอดขนานกับแม่น้ำสะแกกรัง เมื่อ พ.ศ. 2514 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2522
ในวัฒนธรรมสมัยนิยม
แก้มีนักแสดงผู้รับบท สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ได้แก่
- ชยุต โชติวิจักษณ์ จากละครเรื่อง ศรีอโยธยา 2 (2562)
พระอิสริยยศ
แก้ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก | |
---|---|
การทูล | ใต้ฝ่าละอองพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ |
บรรดาศักดิ์
แก้- สมัยกรุงศรีอยุธยา
- ทองดี (พ.ศ. 2254 – พ.ศ. 2275)
- หลวงพินิจอักษร[1]: 103 (รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)
- พระพินิจอักษร[10]: 8 หรือ พระอักษรสมบูรณ์[11]: 41 (รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)
- พระอักษรสุนทรศาสตร์[1]: 103 (พ.ศ. 2301 – พ.ศ. 2310)
- สมัยกรุงธนบุรี
ระหว่างการจลาจลหลังเสียงกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พ.ศ. 2310–11
- เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ สมุหนายกอัครมหาเสนาบดี อภัยพิริยบรากรมภาหุ[12]: 144 (พ.ศ. 2310 – พ.ศ. 2311) ที่เมืองพิษณุโลก
พระอิสริยยศ
แก้- สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ภายหลังการสวรรคตในรัชกาลที่ 1
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ. (2564). สมเด็จพระชนกาธิบดี พระปฐมราชวงศ์จักรี. กรุงเทพฯ : บันทึกสยาม. 360 หน้า. ISBN 978-616-4418-16-5
- ↑ "วัดหัวเมืองแขวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา", ใน ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๑๕ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๒๕-๒๗). พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา, 2508. 322 หน้า.
- ↑ พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ. (2544). เกร็ดพงศาวดารสยาม (The Old Legend of Siam). กรุงเทพฯ: บันทึกสยาม. 135 หน้า. ISBN 974-883-063-2
- ↑ สุทธิ ภิบาลแทน, คม คำทัปน์ และรัศมี ภิบาลแทน. (2551). จ้าวแผ่นดินไทย ราชันแห่งโลก. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์. 309 หน้า. ISBN 978-974-0-50512-9
- ↑ มีหลักฐานว่า ท่านทั้งสองได้บริจาคเงินสร้างวัดชื่อวัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร จึงสันนิษฐานว่า คนพี่ชื่อดาวเรือง
- ↑ กรมศิลปากร สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 1-4. ISBN 978-974-417-594-6
- ↑ เชาวน์ รูปเทวินทร์. ย่ำอดีต ชุด ๓ : พระราชวีรกรรมอันหาญกล้า ท่านบุญมาพระยาเสือ เล่ม ๑ ภาคกรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ : ทิพย์อักษร, 2523. 380 หน้า. หน้า 164.
- ↑ วิลาวัณย์ หอประสาทสุข, เพ็ญพรรษ์ ดำรงศิริ และคณะ, สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. สมเด็จพระนารายณ์ และพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔: บทวิเคราะห์ทางวิชาการเกี่ยวกับสัมพันธภาพไทย-ฝรั่งเศส รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2530. 133 หน้า. หน้า 54. ISBN 978-974-8356-67-9
- ↑ พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ. มรดกใหม่จากลุ่มน้ำสะแกกรัง. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ, 2534. 160 หน้า. หน้า 105-108. ISBN 978-974-5164-83-3
- ↑ ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม. (2533). สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาถ. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน. 231 หน้า. ISBN 978-974-8-12237-3
- ↑ กีรติ เกียรติยากร. (2544). มหากษัตราธิราช: จากวันพระราชสมภพถึงสวรรคต. กรุงเทพฯ: จดหมายเหตุ. 544 หน้า. ISBN 978-974-9-09174-6
- ↑ บุญเตือน ศรีวรพจน์. (2545). อภินิหารบรรพบุรุษและปฐมวงศ์. กรุงเทพฯ: มติชน. 183 หน้า. ISBN 978-974-3-22594-9
- ↑ สมบัติ พลายน้อย. (2533). กวีสยาม. กรุงเทพฯ: บํารุงสาส์น. 228 หน้า. ISBN 978-974-3-60193-4
- ↑ พระเทพปัญญามุนี. (2517). "ลำดับปฐมราชจักรีวงษ์ โดยสังเขป", ใน อนุสรณ์พระราชทานเพลิง หม่อมหลวงต่วนศรี วรวรรณ ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันจันทร์ที่ ๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๑๗. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย. 102 หน้า.
- บรรณานุกรม
- พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปฐมวงศ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย, 2470. 75 หน้า.
- สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. ISBN 978-974-417-594-6