สมเด็จพระเจ้าขุนรามณรงค์
สมเด็จพระเจ้าขุนรามณรงค์[2] หรือ พระเจ้าขุนเณรรามณรงค์[3] เป็นพระเชษฐาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
สมเด็จพระเจ้าขุนรามณรงค์ | |
---|---|
เจ้าฟ้าชั้นโท[1] | |
พระบุตร | กรมขุนรามินทรสุดา |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก |
พระมารดา | พระอัครชายา (หยก) |
ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระเจ้าขุนรามณรงค์ | |
---|---|
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
สมเด็จพระเจ้าขุนรามณรงค์เป็นพระโอรสองค์ใหญ่ในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก กับพระอัครชายา (หยก หรือ ดาวเรือง) ไม่ปรากฏพระนามเดิม[3][4] ปรากฏราชทินนามก่อนการมรณกรรมที่ ขุนรามณรงค์[5] และสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังไม่สิ้นกรุงศรีอยุธยา[3] นิธิ เอียวศรีวงศ์ได้ทำการตรวจสอบไม่พบราชทินนามดังกล่าวในทำเนียบ พบชื่อที่ใกล้เคียงคือ ขุนรามรณฤทธิ์ ข้าราชการล้อมพระราชวัง หรืออาสาวิเศษซ้าย และขุนรามโยธี ปลัดกรมทวนทองขวา และยังให้ข้อสังเกตว่าราชทินนามที่ขึ้นต้นว่า "ราม" เป็นราชทินนามของชาวมอญจำนวนมาก[6]
พระองค์มีพระธิดาเพียงพระองค์เดียวคือกรมขุนรามินทรสุดา หรือ "เจ้าครอกชี" ซึ่งถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาแตก และได้ผนวชเป็นแม่ชีอยู่ทวาย เป็นเวลา 25 ปี[5] ก่อนนิวัตกลับสยามในเวลาต่อมา[7]
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของสมเด็จพระเจ้าขุนรามณรงค์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 226. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2014-02-23.
- ↑ ประชุมพงศาวดารภาคที่ 33 บุรพภาคพระธรรมเทศนาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระนคร : หอพระสมุดวชิรญาณ, 2465, หน้า 30
- ↑ 3.0 3.1 3.2 กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2014-02-23.
- ↑ ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ภาคต้น). ธนบุรี : สำนักพิมพ์อโยธยา, ม.ม.ป., หน้า 20
- ↑ 5.0 5.1 จุลลดา ภักดีภูมินทร์ (13 มีนาคม 2544). "พระสัมพันธวงศ์เธอ". สกุลไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-13. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ นิธิ เอียวศรีวงศ์. การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : มติชน, 2548, หน้า 407
- ↑ องค์ บรรจุน. สยามหลากเผ่าหลายพันธุ์. กรุงเทพฯ : มติชน, 2553, หน้า 189-190