นิธิ เอียวศรีวงศ์
ศาสตราจารย์ นิธิ เอียวศรีวงศ์ (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2566) เป็นนักคิด นักเขียน และศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ชาวไทย ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นจากสภาวิจัยแห่งชาติ, รางวัลฟูกูโอกะ และรางวัลศรีบูรพา อดีตศาตราจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นิธิ เอียวศรีวงศ์ | |
---|---|
อาจารย์นิธิ เมื่อปี 2563 | |
เกิด | 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 7 สิงหาคม พ.ศ. 2566 (83 ปี) โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย |
สัญชาติ | ไทย |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมิชิแกน |
อาชีพ | ศาสตราจารย์ประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
มีชื่อเสียงจาก | นักประวัติศาสตร์, ผู้ได้รับรางวัลรางวัลศรีบูรพา |
ประวัติ
แก้ศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 ย่านสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร ในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาวิชาประวัติศาสตร์ จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หลังจบการศึกษาปริญญาตรี นิธิได้เข้าเป็นครูที่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ก่อนจะศึกษาต่อระดับปริญญาโทด้านประวัติศาสตร์ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2509 จากนั้นเข้ารับราชการในตำแหน่งอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และลาศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกด้านประวัติศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐอเมริกา จนสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2519 และกลับเข้ารับราชการตามเดิม โดยรับตำแหน่งกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อีกตำแหน่งหนึ่ง
ในปี พ.ศ. 2555 นิธิได้รับปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศ.ดร.นิธิ เกษียณตามอายุราชการใน พ.ศ. 2543[1] หลังจากสิ้นภาระการสอนในระบบมหาวิทยาลัยปกติ เขายังคงเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการแสดงความคิดสู่สังคมผ่านมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งได้บุกเบิกมาตั้งแต่ปี 2541 และผ่านรูปแบบบทความทางหนังสือพิมพ์ นิตยสารอยู่เป็นประจำ ในการออกเสียงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 นิธิยังเป็นผู้หนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว
ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคมะเร็งปอด เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เวลา 11:47 น. ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ สิริรวมอายุ 83 ปี ทั้งนี้ ได้บริจาคร่างกายให้โรงพยาบาลดังกล่าวด้วย[2]
การทำงานในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ
แก้นิธิ ได้เข้ามารับหน้าที่เป็นคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ภายหลังการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติยุติลง ในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 โดยทำหน้าที่ยกร่างแผนปฏิบัติการที่สามารถนำไปปฏิบัติแก้ไขปัญหาความอยุติธรรมและความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยคณะกรรมการ จำนวน 19 คน ทำงานคู่ขนานไปกับคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ [3]
ผลงาน
แก้หนังสือ
แก้- อิสลามสมัยแรก (2511)
- ประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตก (2521)
- การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์ (2523)
- ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารอยุธยา (2523)
- วัฒนธรรมกระฎุมพีกับวรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์ (2525)
- หลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย (2521) / นิธิ เอียวศรีวงศ์ และอาคม พัฒิยะ (2525)
- ปากไก่และใบเรือ : รวมความเรียงว่าด้วยวรรณกรรม และประวัติศาสตร์ต้นรัตนโกสินทร์ (2527)
- ศรีรามเทพนคร : รวมความเรียงว่าด้วยประวัติศาสตร์อยุธยาตอนต้น / อาคม พัฒิยะ และนิธิ เอียวศรีวงศ์ (2527)
- สุนทรภู่ : มหากวีกระฎุมพี (2528)
- การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี (2529)
- สุนทรภู่ดูโลกและสังคม / นิธิ เอียวศรีวงศ์ และสมบัติ จันทรวงศ์ (2529)
- เกียวโต ใต้ชะเงื้อมดอยสุเทพ (2532)
- ท่องเที่ยวบุญบั้งไฟในอีสาน : บุญบั้งไฟต้องรับใช้ชาวยโสธรไม่ใช่ชาวยโสธรรับใช้บุญบั้งไฟ (2536)
- ลัทธิพิธีเสด็จพ่อ ร.5 (2536)
- วีรบุรุษในวัฒนธรรมไทย (2536)
- สภาพเศรษฐกิจสังคมไทยยุคใหม่ : จริยธรรมในการศึกษาสำหรับอนาคต (2536)
- สองหน้าสังคมไทย : บทวิพากษ์โครงสร้างอารยธรรมไทย (2539)
- การปฏิรูปพระพุทธศาสนาในประเทศไทย (2543)
รวมบทความ
แก้- เชิงอรรถสังคมไทยในสายตานักวิเคราะห์ (2532)
- กรุงแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย : ว่าด้วยประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์ (2538)
- โขน, คาราบาว, น้ำเน่า และหนังไทย : ว่าด้วยเพลง ภาษาและนานามหรสพ (2538)
- ชาติไทย เมืองไทย แบบเรียนและอนุสาวรีย์ : ว่าด้วยวัฒนธรรม, รัฐ และรูปการจิตสำนึก (2538)
- ผ้าขาวม้า ผ้าซิ่น กางเกงใน และฯลฯ : ว่าด้วยประเพณี ความเปลี่ยนแปลง และเรื่องสรรพสาระ (2538)
- สังคมไทยในกระแสการเปลี่ยนแปลง (2539)
- ยุคสมัยไม่เชื่ออย่าลบหลู่ (2541)
- วัฒนธรรมความจน (2541)
- เก็บที่โล่งแก่รากหญ้า : คัดสรรข้อเขียน 1 ทศวรรษว่าด้วยทรัพยากรดิน น้ำ ป่า และอื่นๆ (2543)
- คนจนกับนโยบายการทำให้จนของรัฐ : รวมบทความนิธิ เอียวศรีวงศ์ (2543)
- พุทธศาสนาในความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย (2543)
- ก่อนยุคพระศรีอาริย์ ว่าด้วย ศาสนา ความเชื่อ และศีลธรรม (2545)
- คำมีคม : ว่าด้วยภาษา วัฒนธรรมและอำนาจ (2545)
- ว่าด้วย "การเมือง" ของประวัติศาสตร์และความทรงจำ (2545)
- ว่าด้วย "เพศ" ความคิด ตัวตน และอคติทางเพศ ผู้หญิง เกย์ เพศศึกษา และกามารมณ์ (2545)
- (ต่าง) คิดในคอก (ตน) ว่าด้วยวัฒนธรรมและวิธีคิด (2546)
- นอกรั้วโรงเรียน (2546)
- ไฮเทคาถาปาฏิหาริย์ ว่าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสังคมไทย (2546)
- บริโภค/โพสต์โมเดิร์น (2547)
- อ่านวัฒนธรรมการเมืองไทย (2547)
- ความยุ่งของการอยู่ (2548)
- ประวัติศาสตร์ ชาติ ปัญญาชน (2548)
- วัฒนธรรมคนอย่างทักษิณ (2549)
- รากหญ้าสร้างบ้าน ชนชั้นกลางสร้างเมือง (2552)
- ความไม่ไทยของคนไทย (2559)
วิทยานิพนธ์
แก้- การปราบฮ่อและการเสียดินแดน พ.ศ. 2431 (Suppression of the Haw uprisings and loss of Thai territories in 1888) (วิทยานิพนธ์ (อ.ม.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2509)
- Fiction as history : a study of pre-war Indonesian novels and novelists (1920-1942) (Thesis (Ph.D.) University of Michigan, 1976) (2519)
หนังสือแปล
แก้- ประวัติศาสตร์เยอรมัน (2511) / ฮูแบร์ตุส เลอเวนสไตน์ เขียน; นิธิ เอียวศรีวงศ์, แปล
- พุทธศาสนา : สาระและพัฒนาการ (2514) (Buddhism, its essence and development, by Edward Conze)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[6]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ ชีวประวัติ นิธิ เอียวศรีวงศ์
- ↑ "สิ้น 'นิธิ เอียวศรีวงศ์' วงวิชาการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่". มติชน. 2023-08-07. สืบค้นเมื่อ 2023-08-07.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เปิดรายชื่อกรรมการ-สมัชชาปฏิรูปประเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-27. สืบค้นเมื่อ 2010-07-09.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๒๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗๕, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้เว็บไซต์
แก้- รวมบทความนิธิ เอียวศรีวงศ์ เก็บถาวร 2010-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ถึงปี 2551)
หนังสือและบทความ
แก้- ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล. (2546). ปรัชญาประวัติศาสตร์ของนิธิ เอียวศรีวงศ์. วารสารประวัติศาสตร์. น. 139-65.
- ธิกานต์ ศรีนารา. (2557, ม.ค.-มิ.ย.). ความคิดว่าด้วยรัฐและกษัตริย์ในสมัยศักดินาของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ กับความเปลี่ยนแปลงทางภูมิปัญญาของปัญญาชนฝ่ายค้านไทยในช่วงทศวรรษ 2520. มนุษยศาสตร์สาร. 15(1): 62-105. เก็บถาวร 2019-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- วรวรรณ อินทะรังสี. (2562 ส.ค.-2563 ก.ค.). การเคลื่อนไหวทางความคิดของนักวิชาการในนิตยสารข่าวรายสัปดาห์ต่อวิกฤตการณ์การเมืองไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2543-2553. วารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 44, น. 92-107.