เจ้าฟ้าสุริยา[1] พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกับกรมหลวงอภัยนุชิต เป็นพระเชษฐภคินีในสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรและสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์[2]

เจ้าฟ้าสุริยา
เจ้าฟ้า
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
พระมารดากรมหลวงอภัยนุชิต
ศาสนาพุทธ

พระประวัติ แก้

เจ้าฟ้าสุริยา เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ประสูติแต่กรมหลวงอภัยนุชิต คำให้การขุนหลวงหาวัด ระบุว่าพระชนนีสืบเชื้อสายพราหมณ์จากเมืองเพชรบุรี[3] พระองค์มีพระโสทรเชษฐาและพระโสทรภคินีรวมเจ็ดพระองค์ ได้แก่ เจ้าฟ้าหญิงบรม (ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น กรมขุนเสนีนุรักษ์),[4] เจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์, เจ้าฟ้าหญิงสุริยวงศ์, เจ้าฟ้าหญิงสุริยา, เจ้าฟ้าหญิงธิดา, เจ้าฟ้าหญิงรัศมี, เจ้าฟ้าหญิงอินทสุดาวดี [2]

หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พม่าได้ทำการกวาดต้อนเจ้านายอยุธยา 869 องค์ และผู้สืบเชื้อสายพระราชวงศ์อีก 2,000 คนเศษ แต่ปรากฏว่าเหลือเจ้านายบางส่วนตกค้างที่ค่ายโพธิ์สามต้น และบางส่วนหนีรอดออกไป[5] เจ้าฟ้าสุริยาถูกกุมขังในค่ายโพธิ์สามต้นไม่ได้ถูกกวาดไปพม่า โดยถูกจองจำพร้อมกับเจ้านายฝ่ายในจำนวนหนึ่ง[6] ดังปรากฏใน พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ความว่า[7]

"...ในเขตแดนแว่นแคว้นสยามประเทศ เหตุว่าหาเจ้าแผ่นดินจะปกครองบมิได้ เหมือนดุจสัตถันดรกัล์ปและทุพภิกขันดรกัล์ป และพระราชวงศานุวงศ์ ซึ่งเหลืออยู่พม่ามิได้เอาไปนั้น ตกอยู่ ณ ค่ายโพธิ์สามต้นก็มีบ้าง ที่หนีไปเมืองอื่นนั้นก็มีบ้าง และเจ้าฟ้าสุริยา 1 เจ้าฟ้าพินทวดี 1 เจ้าฟ้าจันทวดี 1 พระองค์เจ้าฟักทอง 1 ทั้ง 4 พระองค์นี้ เป็นราชบุตรีพระพุทธเจ้าหลวงในพระบรมโกศ และเจ้ามิตรบุตรีกรมพระราชวัง 1 หม่อมเจ้ากระจาดบุตรีกรมหมื่นจิตรสุนทร 1 หม่อมเจ้ามณีบุตรีกรมหมื่นเสพภักดี 1 หม่อมเจ้าฉิมบุตรีเจ้าฟ้าจีด 1 เจ้าทั้งนี้ตกอยู่กับพระนายกอง ณ ค่ายโพธิ์สามต้น อนึ่งพระองค์เจ้าทับทิมบุตรีสมเด็จพระอัยกานั้น พวกข้าไทพาหนีออกไป ณ เมืองจันทบูร เจ้าตากก็สงเคราะห์รับเลี้ยงดูไว้..."

ภายหลังสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียกทัพตีค่ายโพธิ์สามต้นแตก อันเป็นที่สิ้นสุดสงครามกู้กรุงศรีอยุธยา พระองค์ก็ทรงอุปการะเจ้าหญิงอยุธยามาไว้ในราชสำนักธนบุรี แต่เจ้าฟ้าสุริยา สิ้นพระชนม์ไปก่อนหน้านั้นแล้ว ดังปรากฏใน พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ความว่า[7]

"...อนึ่ง ซึ่งพระขัตติยวงศ์ครั้งกรุงเก่านั้น บรรดาเจ้าหญิงทรงพระกรุณาโปรดเลี้ยงไว้ในพระราชวัง และเจ้าฟ้าสุริยา เจ้าฟ้าจันทวดี สองพระองค์นั้นดับสูญสิ้นพระชนม์ ยังอยู่แต่เจ้าฟ้าพินทวดี พระองค์เจ้าฟักทอง พระองค์เจ้าทับทิม ซึ่งเรียกว่าเจ้าครอกจันทบูรนั้น และเจ้ามิตร บุตรีกรมพระราชวัง โปรดให้ชื่อ เจ้าประทุม หม่อมเจ้ากระจาด บุตรีกรมหมื่นจิตรสุนทร โปรดให้ชื่อ เจ้าบุปผา กับหม่อมเจ้าอุบล บุตรีกรมหมื่นเทพพิพิธ หม่อมเจ้าฉิม บุตรีเจ้าฟ้าจีด ทั้งสี่องค์นี้ทรงพระกรุณาเลี้ยงเป็นห้าม..."

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

  1. คำให้การชาวกรุงเก่า/ภาคที่-๒-ว่าด้วยตำนานแลทำเนียบต่างๆ/บาญชีพระนามเจ้านาย
  2. 2.0 2.1 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 624
  3. ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง, หน้า 478
  4. "กวีเอกสมัยอยุธยา: เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร" (PDF). วารสารราชบัณฑิตยสถาน. ปีที่ 32 เล่ม 2: 414. เม.ย.-มิ.ย. พ.ศ. 2550. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  5. "ชะตากรรมเจ้าหญิงอยุธยาหลังกรุงแตก ย้อนบันทึกพม่าที่น่าสลดใจ". ศิลปวัฒนธรรม. 7 เมษายน 2563. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "สงครามกู้อิสรภาพจากพม่า". สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 7.0 7.1 ปรามินทร์ เครือทอง (7 มกราคม 2563). ""ท้องกับเจ๊ก" การเมืองราชสำนักฝ่ายใน เรื่องซุบซิบเจ้าหญิงอยุธยาในพระเจ้าตากสินฯ". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)