วัดพระศรีสรรเพชญ์

วัดร้างในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

วัดพระศรีสรรเพชญ์ หรือ วัดพระศรีสรรเพชญ เป็นอดีตวัดหลวงประจำพระราชวังโบราณ อยุธยา ตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทางทิศเหนือของวิหารพระมงคลบพิตรในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา[1] สร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2035 โดยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2

วัดพระศรีสรรเพชญ์
องค์พระเจดีย์ประธาน 3 องค์ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566
วัดพระศรีสรรเพชญ์ตั้งอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วัดพระศรีสรรเพชญ์
ที่ตั้งของวัดพระศรีสรรเพชญ์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วัดพระศรีสรรเพชญ์ตั้งอยู่ในประเทศไทย
วัดพระศรีสรรเพชญ์
วัดพระศรีสรรเพชญ์ (ประเทศไทย)
ที่ตั้งตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประเภทวัดหลวงประจำพระราชวังโบราณ อยุธยา
ส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
ความเป็นมา
ผู้สร้างสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
สร้างพ.ศ. 1991
ละทิ้งพ.ศ. 2310
สมัยอยุธยา
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
ผู้ขุดค้นกรมศิลปากร
สภาพหลงเหลือเพียงเจดีย์ประธาน 3 องค์และเจดีย์รายบางส่วน
ผู้บริหารจัดการกรมศิลปากร
การเปิดให้เข้าชมทุกวัน 08.00-18.30 น.
สถาปัตยกรรม
รูปแบบสถาปัตยกรรมอยุธยา
เกณฑ์วัฒนธรรม: (iii)
ขึ้นเมื่อ1991
เป็นส่วนหนึ่งของนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
เลขอ้างอิง576
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนวัดพระศรีสรรเพชญ์
ขึ้นเมื่อ8 มีนาคม พ.ศ. 2478
เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
เลขอ้างอิง0000325

วัดพระศรีสรรเพชญ์ มีจุดที่น่าสนใจที่สำคัญคือเจดีย์ทรงลังกา จำนวนสามองค์ที่วางตัวเรียงยาวตลอดทิศตะวันออกและทิศตะวันตก สร้างขึ้นเป็นองค์แรกทางฝั่งตะวันออก เมื่อปี พ.ศ. 2035 โดยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พระราชบิดา) ต่อมาในปี พ.ศ. 2042 ก็ทรงให้สร้างเจดีย์องค์ต่อมา (องค์กลาง) ของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (พระเชษฐาต่างพระมารดาของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2)และในรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 ก็ทรงสร้างเจดีย์อีกองค์ในฝั่งทิศตะวันตกให้ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระราชบิดาของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (พระหน่อพุทธางกูร)) รวมเป็นสามองค์ตามปัจจุบัน

วัดพระศรีสรรเพชญ์ เป็นวัดประจำวังที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา จึงกลายเป็นต้นแบบของ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ในเวลาต่อมา

ประวัติ แก้

 
วัดพระศรีสรรเพชญ์ เมื่อปี พ.ศ. 2508
ภาพพาโนรามิกตามเส้น (Linear panoramic) พระเจดีย์ประธาน 3 องค์ซึ่งบรรจุพระบรมอัฐิสามารถเรียงจากซ้ายมาขวาได้ดังนี้ (1) เจดีย์บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (2) เจดีย์บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 และ (3) เจดีย์บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

วัดพระศรีสรรเพชญ์ เดิมในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ใช้เป็นที่ประทับ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงสร้างพระราชมณเฑียรขึ้นใหม่ทางตอนเหนือ แล้วจึงโปรดฯให้ยกเป็นเขตพุทธาวาส เพื่อประกอบพิธีสำคัญต่าง ๆ ของบ้านเมือง จึงเป็นวัดในเขตพระราชวังที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ทั้งวัดพระศรีสรรเพชญ์ อยุธยา และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่างก็ถูกสถาปนาขึ้นในมูลเหตุการสร้างวัดเดียวกันนั่นคือสร้างเพื่อเป็นวัดประจำพระราชวัง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2035 รัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระสถูปเจดีย์องค์ตะวันออก เพื่อบรรจุพระอัฐิของพระราชบิดา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และพระสถูปเจดีย์องค์กลางเพื่อบรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ผู้เป็นพระเชษฐา

หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2042 พระองค์โปรดให้สร้างพระวิหารหลวงขึ้น

ในปีต่อมา พ.ศ. 2043 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสร้างพระวิหาร ทรงหล่อพระพุทธรูป ยืนสูง 8 วา (ประมาณ 16 เมตร) หุ้มด้วยทองคำหนัก 286 ชั่ง (ประมาณ 171 กิโลกรัม) ประดิษฐานไว้ในวิหาร ถวายพระนามว่า พระศรีสรรเพชญดาญาณ ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 1โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมาประดิษฐานวัดพระเชตุพน และบรรจุชิ้นส่วนซึ่งบูรณะไม่ได้เหล่านั้นไว้ในเจดีย์องค์ใหญ่ที่สร้างขึ้นแล้วพระราชทานชื่อเจดีย์ว่า เจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ เจดีย์องค์ที่ 3 ถัดมาจากด้านทิศตะวันตกเป็น เจดีย์บรรจุพระอัฐิ ของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ซึ่งสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4(พระหน่อพุทธางกูร) พระราชโอรสได้โปรดให้สร้างขึ้น เจดีย์ทั้งสามองค์นี้เป็นเจดีย์แบบลังกา

ในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรมพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง พระที่นั่งจอมทอง ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กำแพงทางด้านติดกับ วิหารพระมงคลบพิตร เพื่อให้เป็นสถานที่ให้พระสงฆ์บอกเล่าหนังสือพระสงฆ์

ราวรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดหลวงแห่งนี้เป็นครั้งแรก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยาโบราณราชธานินทร์ สมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่าได้ดำเนิน การขุดสมบัติจากกรุภายในเจดีย์ พบพระพุทธรูป เครื่องทอง มากมาย และในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้มีการบูรณะวัดนี้จนมีสภาพที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

ระเบียงภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  • วิไลรัตน์. 2546. กรุงศรีอยุธยา. อมรินทร์พริ้นติ้ง

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

พิกัดภูมิศาสตร์: 14°21′21″N 100°33′31″E / 14.355888°N 100.558609°E / 14.355888; 100.558609