สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1

พระมหากษัตริย์ไทย

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1[1] หรือ พระเจ้าอู่ทอง (3 เมษายน พ.ศ. 1857 – พ.ศ. 1912) เป็นปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา[2]: 222  ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 1912 ทรงพระนามว่าพระเจ้าอู่ทองก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 1893 มีหลายทฤษฎีเกี่ยวกับภูมิหลังของพระเจ้าอู่ทอง รวมทั้งอาจเป็นเชื้อสายของพ่อขุนมังราย

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
ครองราชย์12 มีนาคม พ.ศ. 1893 – 1912 (19 ปี 0 วัน)
ก่อนหน้าสถาปนาอาณาจักร
ถัดไปสมเด็จพระราเมศวร
พระราชสมภพ3 เมษายน พ.ศ. 1857
สวรรคตพ.ศ. 1912 (55 พรรษา)
มเหสีไม่ปรากฏพระนาม (พระกนิษฐาในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1)
พระราชบุตรสมเด็จพระราเมศวร
ราชวงศ์อู่ทอง

พระปรมาภิไธย

  • สมเด็จพระรามาธิบดี (หลังจากขึ้นครองราชย์)
  • พระเจ้าอู่ทอง (กษัตริย์ผู้ครองเมืองอู่ทองแคว้นสุพรรณภูมิ)
  • สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทร บรมมหาจักรพรรดิศรราชาธิราช (ในโองการแช่งน้ำ)
  • สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสุนทรบรมจักรพัตราธิราช (ในกฎหมายลักษณะอาญาราษฎร์)
  • สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุรินทร บรมจักรพรรดิศร บวรมหาธรรมิกราชาธิราช (ในกฎหมายลักษณะอาญาหลวง)

พระราชประวัติ

จดหมายเหตุโหรระบุว่าพระเจ้าอู่ทองรามาธิบดีเสด็จพระราชสมภพวันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล จ.ศ. 676 (ตรงกับวันจันทร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 1857)[3] ได้ทรงสถาปนาเมืองหลวงขึ้นในบริเวณที่หนองโสนเมื่อ จ.ศ. 712 ปีขาล โทศก วันศุกร์ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 เวลา 3 นาฬิกา 9 บาท ตรงกับวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1893[4] หรือ 12 มีนาคม พ.ศ. 1893 ตามปฏิทินไทยสากลที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน[3] เมื่อครองราชย์ได้รับเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว[5] ถึงปีระกา พ.ศ. 1912 เสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ 19 ปี[6]

แต่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าพระองค์พระราชสมภพที่ไหน และมาจากเมืองไหน เอกสารทางประวัติศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ทั้งไทยและต่างประเทศขัดแย้งกัน โดยมีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับที่มาของพระเจ้าอู่ทองสรุปได้ดังนี้[4]

แนวความคิดที่ 1

จดหมายเหตุลาลูแบร์ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ ระบุว่าพระเจ้าอู่ทองอพยพมาจากเชียงแสน

แนวความคิดที่ 2

จดหมายเหตุวันวลิตระบุว่าทรงอพยพมาจากเมืองเพชรบุรี

แนวความคิดที่ 3

ชินกาลมาลีปกรณ์และพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ว่าพระเจ้าอู่ทองมาจากละโว้

ตามหลักฐานและโบราณคดี

ทฤษฎีเกี่ยวกับที่มาของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ในแนวคิดที่ 4 5 และ 6 สามารถผนวกรวมกันได้ กล่าวคือ เมื่อพิจารณาตำนานทั้งหลายแล้ว เจ้าชายวรเชษฐ์ เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมราชา กษัตริย์แห่งอาณาจักรละโว้ (แนวความคิดที่ 6) ต่อมาพระราชชนกโปรดให้ไปครองเมืองพริบพรี (แนวความคิดที่ 4) และหลังจากพระราชชนกเสด็จสวรรคตแล้ว ทรงกลับมาครองเมืองอโยธยา (แนวความคิดที่ 5) จากนั้นจึงเกิดโรคระบาด จึงทรงย้ายที่ตั้งเมืองมายังตำแหน่งปัจจุบัน[7][8]

พระราชกรณียกิจ

การสถาปนากรุงศรีอยุธยา

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล จุลศักราช 712 ตรงกับวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1893 ชีพ่อพราหมณ์ถวายพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดี แล้วโปรดให้ขุนหลวงพะงั่ว ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระมเหสีเป็น สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ไปครองเมืองสุพรรณบุรี ส่วนพระราเมศวร รัชทายาทให้ไปครองเมืองลพบุรี

การสงครามกับเขมร

ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 พระองค์ทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับแว่นแคว้นต่าง ๆ มากมาย แม้กระทั่ง ขอม ซึ่งก็เป็นมาด้วยดีจนกระทั่งกษัตริย์ขอมสวรรคต เนื่องจากการปฏิวัติขอมของนายแตงหวาน ชนชั้นแรงงานได้ยึดอำนาจจากชนชั้นปกครอง [9] และครองเมืองแทนซึ่งรู้จักในนาม พระบาทตระซ็อกประแอม หรือ (เขมร: ត្រសក់ផ្អែម) หรือพระบาทสมเด็จพระศรีสุริโยพันธุ์ที่ 1 (ព្រះបាទស្រីសុរិយោពណ៌ទី១) [10]ซึ่งพระราชนัดดานาม พระบรมลำพงศ์ ทรงขึ้นครองราชย์ ซึ่งพระบรมลำพงศ์ก็แปรพักตร์ไม่เป็นไมตรีดังแต่ก่อน สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 จึงให้สมเด็จพระราเมศวรยกทัพไปตีกัมพูชา และให้สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ทรงยกทัพไปช่วย เพื่อเป็นการล้างแค้นให้กับพระสหาย พระเจ้าชัยวรมันที่ 9 จึงสามารถตีเมืองนครธมแตกได้ พระบรมลำพงศ์สวรรคตในศึกครั้งนี้ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 จึงแต่งตั้ง พระราชโอรสเป็นกษัตริย์ปกครองอังกอร์ .. จนกระทั่งเมื่อน้องชายของพระบรมลำพงศ์ซึ่งไปลี้ภัยในประเทศลาวได้ยึดเมืองกลับคืนมาและได้สวมมงกุฎที่นั่นในนามพระเจ้าศรยวงศ์ที่ 1 [11][12]

ตรากฎหมาย

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงประกาศใช้กฎหมายถึง 10 ฉบับ ในรัชสมัยของพระองค์ ได้แก่

ในประวัติศาสตร์บางแหล่งบอกว่ามีมากกว่านี้ แต่เท่าที่หาหลักฐานได้ มีเพียงเท่านี้เท่านั้น

การศาสนา

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างวัดต่าง ๆ เช่น วัดพุทไธศวรรย์ (สร้างปี พ.ศ. 1876) วัดป่าแก้ว (สร้างปี พ.ศ. 1900) และวัดพระราม (สร้างปี พ.ศ. 1912)

การสงครามกับสุโขทัย

รัชกาลของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) แห่งกรุงศรีอยุธยานั้นคาบเกี่บวกับรัชสมัยของ พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) แห่งกรุงสุโขทัย ช่วงนั้นเป็นช่วงที่สุโขทัยมิอาจต้านทานความแข็งแกร่งของอยุธยาได้ แม้ว่าพระมหาธรรมราชาลิไท จะเสด็จไปประทับที่สองแคว (พิษณุโลก) เพื่อเตรียมรับศึกอยุธยาแล้วก็ตาม

แต่สุดท้ายพระมหาธรรมราชาลิไทก็ได้เจรจาประนีประนอมยอมให้กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีคู่กับสุโขทัย และทั้งสองนครนี้ก็เป็นไมตรีต่อกันมาจนตลอดรัชกาลของพระองค์

การค้าขาย และสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ

ในด้านไมตรีกับต่างประเทศในสมัยเมื่อสร้างกรุงศรีอยุธยานั้น ฝรั่งกับญี่ปุ่นยังไม่มีมาค้าขาย แต่การไปมาค้าขายกับเมืองจีน, แขก, จาม, ชวา, มลายู ตลอดจนอินเดีย, เปอร์เซีย และ ลังกานั้นไปถึงกันมานานแล้ว

สำหรับการค้าขายกับจีนนั้น ราชวงศ์อู่ทองของไทย ตรงกับราชวงศ์หมิงของจีน พระเจ้าหงอู่ แห่งราชวงศ์หมิงเมื่อทราบว่ากรุงศรีอยุธยาตั้งเป็นอิสรภาพก็แต่งให้ หลุย จงจุ่น เป็นราชทูตเข้ามาเจริญพระราชไมตรีถึงกรุงศรีอยุธยา พระองค์จึงแต่งให้ราชทูตออกไปเมืองจีนพร้อมกับราชทูตจีน เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับจีนในคราวนั้นด้วย

พระโอรส

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. ราชกิจจานุเบกษา, รายนามแลพระนามผู้ที่ทำลับแลไฟ ทรงพระราชอุทิศในพระเจ้าแผ่นดิน ในพระราชกุศลบรรจบรอบเถลิงถวัลยราชสมบัติ ครบ ๒๕ ปี, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๓๐ หน้า ๓๑๙, ๒๒ ตุลาคม ๑๑๒
  2. Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
  3. 3.0 3.1 การปรับแก้เทียบศักราช และ การอธิบายความ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ, หน้า 21
  4. 4.0 4.1 นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 49
  5. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 38
  6. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 41
  7. ทวิช จิตรสมบูรณ์, บ.ก. (13 กุมภาพันธ์ 2554). "พระเจ้าอู่ทองมาจากนครวัดในเขมร (หลักฐานเพิ่มเติมครั้งที่ ๓)". ผู้จัดการออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 มีนาคม 2556.
  8. อณาจักรอยุธยา คือ กลุ่มคนกลุ่มไหนเป็นผู้ก่อตั้งอณาจักร จากพันทิปดอตคอม
  9. Zhou, Daguan; Harris, Peter; Zhou, Daguan (2007). A record of Cambodia: the land and its people (1. publ ed.). Chiang Mai: Silkworm Books. ISBN 978-974-9511-24-4.
  10. Khin, Sok (1988). Chroniques royales du Cambodge: de 1417 à 1595. Collection de textes et documents sur l'Indochine. Paris: Ecole française d'Extrême-Orient diff. Adrien-Maisonneuve. ISBN 978-2-85539-537-1.
  11. ภักดีคำ, ศานติ (2011). "เขมรรบไทย". มติชน. p. 272.
  12. Coedès, George; Coedès, George (1996). The Indianized states of Southeast Asia. Honolulu: East-West Center Pr. ISBN 978-0-8248-0368-1.
บรรณานุกรม
  • จิตร ภูมิศักดิ์. ข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา. ดวงกมล : กรุงเทพฯ, 2524. ISBN 9742103429
  • มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554. 264 หน้า. ISBN 978-616-7308-25-8
  • พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9

ดูเพิ่ม

ก่อนหน้า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ถัดไป
   
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
ราชวงศ์อู่ทอง

(พ.ศ. 1893-1912)
  สมเด็จพระราเมศวร
(พ.ศ. 1912-1913)