พระเจ้าแตงหวาน

พระมหากษัตริย์ในตำนานของจักรวรรดิเขมร

สมเด็จพระองค์ชัย (เขมร: ព្រះបាទអង្គជ័យ) หรือที่รู้จักในพระนาม พระบาทตระซ็อกประแอม ( พระเจ้าแตงหวาน ) (เขมร: ត្រសក់ផ្អែម) หรือพระบาทสมเด็จพระศรีสุริโยพันธุ์ที่ 1 (ព្រះបាទស្រីសុរិយោពណ៌ទី១) โดยทั่วไปถือว่าเป็นกษัตริย์ในตำนานของอาณาจักรพระนครซึ่งสันนิษฐานว่าสวรรคตประมาณ พ.ศ. 1883[2][3]

พระบาทกมรเตง อัญศรีสุริโยพันธุ์
พระบาทองค์ชัย
พระรูปฉลองพระองค์สมเด็จพระองค์ชัย (พระบาทศรีสุริโยพันธุ์ที่ 1 ) ทรงพระแสงหอกลำแพงชัย อันเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์
กษัตริย์ในตำนาน อาณาจักรพระนคร
ครองราชย์• ค.ศ.1290 - 1336 (จตุมุข)
• ค.ศ.1336 - 1340 (ศรียโศธรปุระ)
ก่อนหน้าพระเจ้าราชนคริน
(ราชวงศ์วรมัน สายราชสกุลมหิธรปุระ)
( เอกสารมหาบุรุษเขมร )[1]
ถัดไปพระบรมนิพพานบท
(ราชสกุลตระซ็อกประแอม)
(เอกสารมหาบุรุษเขมร)
ประสูติค.ศ. 1221
สวรรคตค.ศ. 1341
คู่อภิเษกพระนางจันทรวรเทวี(เขมร: ព្រះ​នាង​ច័ន្ទតារាវត្តី​)
(พระราชธิดาในพระเจ้าราชนคริน.)
พระราชบุตรพระบรมนิพพานบท
พระสิทธานราชา(หรือพระศิริรัตน์เขมร: ព្រះសិរីរតន៍)
( เอกสารมหาบุรุษเขมร )
พระนามเต็ม
พระบาทกมรเตง อัญศรีสุริโยพันธุ์ บรมมหาบพิตรธรรมิกมหาราชาธิราช พระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี (เขมร: ព្រះបាទស្រីសុរិយោពណ៌ ​សម្ដេច​មហាបពិត្រ​ ​ធម្មិក​រាជា​ធិរាជ​ ​ជា​អង្គម្ចាស់​ផែនដី​ក្រុង​កម្ពុជា​ធិបតី)
ราชวงศ์ราชวงศ์ตรอซ็อกผแอม
เขมร :រាជវង្ស ព្រះបាទអង្គជ័យ (ราชวงศ์พระองค์ชัย )
พระราชบิดาพระปทุมราชา(เขมร: ព្រះបទុមរាជា)
พระราชมารดาพระนางโสภาวดี(เขมร: ព្រះនាងសុភវត្តី)
ศาสนาพระพุทธศาสนาเถรวาท[ต้องการอ้างอิง]

พระราชประวัติของพระองค์นั้นยังคงเป็นที่ถกเถียงและยังหาข้อสรุปไม่ได้ในหมู่นักวิชาการกัมพูชาและนักวิชาการไทย (โดยเฉพาะแนวคิดว่าด้วยกัมพูชาในช่วงการปฏิวัติขอม)

พระเจ้าแตงหวานในประวัติศาสตร์กัมพูชา

แก้

ในปัจจุบันนักวิชาการทางด้านประวัติศาสตร์ของกัมพูชา ยังไม่สามารถระบุตัวตนของพระองค์ทางประวัติศาสตร์ได้ว่าพระองค์ทรงมีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ เพราะที่มาของพระองค์ไม่มีความชัดเจนซึ่งเมื่อเทียบกับพงศาวดารตำนานเจ้าฟ้างุ้มของลาวซึ่งมีพระชนม์ชีพอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันก็ไม่พบพระนามของพระองค์ หรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงถึงพระองค์ ดังนั้นนักวิชาการกัมพูชาจึงให้สมมุติฐานว่าเรื่องราวของพระองค์อาจเป็นเพียงนิทานที่เล่าสืบต่อกันมาและมีการผูกเรื่องราวกับพระแสงหอกลำแพงชัย เครื่องราชกกุธภัณฑ์กษัตริย์ทำให้การมีตัวตนของพระองค์ยิ่งมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น[4]

เรื่องราวตำนานของพระเจ้าแตงหวานนี้มีลักษณะแบบเดียวพระเจ้าญองอู้ ซอยะฮ่านแห่งราชวงศ์พุกามซึ่งเป็นตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาหลายชนชาติในภูมิภาคนี้

ในปี พ.ศ. 2448 พระเจ้าแตงหวานหรือพระเจ้าตระซ็อกประแอมเริ่มได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในกัมพูชาว่าเป็นบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์โดยมีการเชิดชูพระเกียรติยศโดยกษัตริย์กัมพูชาหลายพระองค์ทั้งในราชสกุลนโรดมและราชสกุลสีสุวัตถิ์ โดยในปีพ.ศ. 2508 พระองค์ยังคงเป็นบุคคลทั่วไปในการอภิปรายทางประวัติศาสตร์การเมืองและมีความชัดเจนในตัวตนของพระองค์มากขึ้น[5]

แต่ต่อมาในปีพ.ศ. 2538 พระเจ้าแตงหวานได้กลายเป็นบุคคลเพียงในตำนานมากกว่าจะบุคคลเป็นบุคคลที่มีตัวตนในประวัติศาสตร์เพราะการหาหลักฐานมาพิสูจน์ความมีตัวตนของพระองค์นั้นแทบไม่มีหลักฐานใดๆที่เชื่อมโยงถึงพระองค์นอกจากพระราชพงษาวดารกรุงกัมพูชาฉบับนักองค์เองซึ่งยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอ

วง โสเธียรา ( Vong Sotheara ) ศาสตราจารย์ด้านจารึกเขมรและประวัติศาสตร์กัมพูชา-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการมีตัวตนของพระเจ้าตรอซ็อกผแอม[6]โดยศึกษารวบรวมจากจารึกและเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่พบความเชื่อมโยงใดๆเกี่ยวกับพระองค์และระยะช่วงเวลาการมีพระชนม์ชีพนั้นอยู่ระหว่าง ค.ศ.1221 - ค.ศ.1340 นั้นไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงและมีความเป็นไปได้ที่ พระเจ้าตรอซ็อกผแอม (ตาชัย) และพระบาทศรีสุริโยพันธุ์ที่ 1 (พระบาทองค์ชัย) อาจไม่ใช่บุคคลคนเดียวกัน

พระราชประวัติของพระบาทองค์ชัยนั้นระบุว่าทรงเป็นพระราชบุตรเขยของพระเจ้าชัยวรมันปรเมศวร ( พระเจ้าชัยวรมันที่ 9 ) และทรงอภิเษกสมรสกับพระนางจันทรวรเทวีพระราชธิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 9[7]ในปี ค.ศ. 1290 ซึ่งเกิดขึ้นก่อนเหตุการณ์การสวรรคตของพระเจ้าชัยวรมันที่ 9 ถึง 45 ปี โดยจารึกระบุปีที่พระเจ้าแตงหวานขึ้นครองราชสมบัติหลังการสวรรคตของพระสัสสุระคือปี ค.ศ. 1336 แต่ตำนานพระเจ้าแตงหวานระบุว่าทรงปลงพระชนม์พระเจ้าชัยวรมันที่ 9 ในปี 1336 และอภิเษกกับพระนางจันทรวรเทวีและสถาปนาขึ้นเป็นพระมเหสี ซึ่งในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 9 พระองค์ทรงหันมานับถือศาสนาฮินดูและพยายามโน้มน้าวพระทัยพระราชบิดาให้หันกลับมานับถือฮินดู โดยบ้านเมืองในขณะนั้นมีการยึดถือระบบชนชั้นวรรณะอย่างเข้มข้นการที่พระองค์จะให้พระราชธิดาซึ่งมีวรรณะกษัตริย์อภิเษกสมรสกับตาชัยผู้เฝ้าสวนแตงและมีวรรณะศูทรนั้นย่อมเป็นไปได้ยาก หากเป็นเช่นนั้นจริงพระบรมนิพพานบทพระราชโอรสจะขึ้นครองราชสมบัติขณะมีพระชนมายุเพียง 4 ชันษาแต่พงศาวดารระบุว่าพระองค์ครองราชสมบัติต่อจากพระราชบิดาเมื่อพระชนมายุ 49 พรรษา และสวรรคตขณะมีพระชนมายุได้ 54 พรรษา

อย่างไรก็ตามเรื่องราวของพระบาทศรีสุริโยพันธุ์ที่ 1 นั้นมีความสอดคล้องกับพระราชพงศาวดารกรุงกัมพูชา พงศาวดารจามปาและศึกสงครามระหว่างเมืองพระนครกับอาณาจักรจามปา รวมถึงรอยต่อทางประวัติศาสตร์ของสงครามที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงมีชัยชนะเหนืออาณาจักรจามปา[8] และมีการกวาดต้อนเชื้อพระวงศ์จามปามาไว้ในเมืองพระนครหลวงและเกณฑ์เป็นแรงงานสร้างเมืองนครธม [9] ดังนั้นนักวิชาการจึงยังไม่ตัดประเด็นความเป็นไปได้ที่พระบาทศรีสุริโยพันธุ์ที่ 1 ( พระองค์ชัย ) พระราชบิดาพระบรมนิพพานบท และพระสิทธานราชาจะมีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาตร์ซึ่งอาจมีความเป็นไปได้ที่พระองค์อาจจะไม่ใช่บุคคลคนเดียวกันกับตาชัยผู้เฝ้าสวนแตงหรือพระเจ้าแตงหวาน

พระราชประวัติ

แก้

สมเด็จพระองค์ชัย (เขมร: ព្រះបាទអង្គជ័យ อักษรโรมัน: Trasak Peam ) หรือพระเจ้าตระซ็อกประแอม หรือพระบาทศรีสุริโยพันธุ์ที่ 1 พระเจ้าแตงหวานทรงสถาปนาพระองค์ขึ้นปกครองเมืองทางตอนใต้ (ใกล้เมืองจตุมุข,พนมเปญ) โดยการรวมตัวของทาสที่เป็นกลุ่มพวกเดียวกันในพระราชอาณาจักรชัยวรมันที่หลบหนีออกจากพระนครหลวงและกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆที่เป็นชนชั้นที่ถูกปกครองทางตอนใต้ โดยช่วงเวลานั้นอำนาจในพระนครหลวงได้เริ่มเสื่อมอำนาจลงอย่างมาก เมืองภายใต้การปกครองพยายามแยกตัวออกเป็นรัฐอิสระ ซึ่งต่อมาเมืองนี้ได้กลายเป็นฐานอำนาจสำคัญของราชสกุลตระซ็อกประแอม เมื่อพระบรมราชาหรือเจ้าพญาญาติทรงย้ายราชธานีจากพระนครหลวงมายังเมืองนี้[10][11]ซึ่งเป็นฐานอำนาจเก่ามาตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าแตงหวาน พระเจ้าแตงหวานทรงขึ้นปกครองเมืองนี้เมื่อพระชนมายุ 70 ปี ในปี ค.ศ. 1290 และทรงอภิเษกกับพระนางจันทรวรเทวีพระราชธิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 9 ในปีนี้ด้วยต่อมาทรงได้ครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งพระนครหลวง ในปี ค.ศ. 1336-1340 พระเจ้าแตงหวานทรงเป็นผู้สร้างพระแสงหอกลำแพงชัย อันเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ที่สำคัญมากที่สุดของอาณาจักรกัมพูชาคู่กับ พระขรรค์ราช ทรงเฉลิมพระนามหลังจากเสวยราชสมบัติว่า พระบาทกมรเตง อัญศรีสุริโยพันธุ์ บรมมหาบพิตรธรรมิกมหาราชาธิราช (เขมร: ព្រះបាទ​សម្ដេច​មហាបពិត្រ​ ​ធម្មិក​រាជា​ធិរាជ​ ​ជា​អង្គម្ចាស់​ផែនដី​ក្រុង​កម្ពុជា​ធិបតី ) อยู่ในราชสมบัติ 5 ปี

พระราชพงศาวดารกรุงกัมพูชา

แก้

ในพระราชพงศาวดารกรุงกัมพูชาซึ่งพระราชนิพพนธ์โดยสมเด็จนักองค์เอง[12] พระเจ้าแผ่นดินแห่งพระราชอาณาจักรเขมรในขณะนั้น (ปัจจุบันคือ เมืองอุดงฦาไชย จังหวัดกำปงสปือ) กล่าวว่า สมเด็จพระองค์ชัย หรือ พระเจ้าแตงหวานนี้ เป็นปฐมกษัตริย์ต้นราชวงศ์ของราชสกุลนโรดม และทรงเป็นผู้สร้างพระแสงหอกลำแพงชัย อันเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ที่สำคัญมากที่สุดของอาณาจักรกัมพูชาคู่กับ พระขรรค์ราช พระเจ้าแตงหวานมีชื่อเดิมว่าองค์ชัย พระราชบิดาเป็นเจ้าชายเชื้อพระวงศ์แห่งอาณาจักรจามปา เมื่อครั้งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรพระนครหลวงยกทัพหลวงจากละโว้ (ลพบุรี) เข้าโจมตีเมืองพระนครหลวงได้คืนจากพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรจามปาที่ปกครองพระนครหลวงแล้วยกทัพหลวงบุกต่อไปถึงอาณาจักรจามปา จนมีชัยชนะสามารถผนวกดินแดนจามปาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิได้สำเร็จ เพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะเหนือจามปา พระองค์ได้กวาดต้อนเชื้อพระวงศ์จามปา รวมถึงไพร่ทาสชาวจามปาเข้าเป็นเชลยเกณฑ์เป็นแรงงานสร้างปราสาทหิน เจ้าชายปทุมะแห่งจามปาผู้เป็นพระราชบิดา ได้ถูกกวาดต้อนมาในครั้งนี้ด้วย ด้วยเป็นเชื้อพระวงศ์ที่สวามิภักดิ์จึงได้รับการดูแลเยี่ยงเชลยศักดิ์ ต่อมาพระองค์ได้ทูลขอเสด็จออกบวชเป็นพราหมณ์ขึ้นไปบำเพ็ญตบะอยู่บนเขาพนมกุเลน ส่วนพระนางโสภาวดีพระชายาทรงพระครรภ์ปลอมปนพระองค์อยู่กับเชลย เมื่อพระนางคลอดบุตรชายตั้งชื่อว่าองค์ชัย เป็นเด็กฉลาดและมีบุญญาธิการมากพออายุได้ 7 ปี มารดาให้ออกตามหาบิดาที่ออกบวชอยู่บนเขา บิดาได้มอบเมล็ดแตงให้ 3 เมล็ดและเหล็กอีกก้อนหนึ่งเชื่อว่าเป็นของวิเศษ องค์ชัยได้นำเมล็ดแตงมาปลูก ต่อมาเด็กเลี้ยงวัวมาเก็บกินพบว่ารสชาติดีมีรสหวานฉ่ำ องค์ชัยจึงหวงแตงนั้นมากวันหนึ่งมีวัวจะมากินแตงที่ปลูกไว้องค์ชัยได้นำเหล็กที่บิดามอบให้ขว้างใส่วัวจนทะลุตัววัวเสียชีวิต เรื่องราวของผลแตงหวานนั้นดังไปถึงหูพระราชาพระเจ้าชัยวรมันที่ 9 พระองค์จึงโปรดที่จะเสวยแตงนั้น เมื่อเสวยแล้วทรงโปรดปรานยิ่งนักจึงทรงแต่งตั้งเป็นหัวหน้าสวนหลวง และโปรดให้นำเหล็กที่ขว้างวัวจนตายไปตีเป็นหอก ไว้ป้องกันโจรขโมยมาลักขโมยแตง พระเจ้าชัยวรมันที่ 9 ทรงพระราชทานพระแสงหอกลำแพงชัยนั้นให้เป็นอาญาสิทธิ์ อยู่มาวันหนึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 9 ปรารถนาเสวยแตงขึ้นมากลางดึก จึงเสด็จลงไปในสวนจะไปเก็บแตงมาเสวย ซึ่งนายแตงหวานนึกว่าเป็นโจรมาลักแตง จึงขว้างพระแสงหอกลำแพงชัยอันเป็นอาญาสิทธิ์โดนพระเจ้าชัยวรมันที่ 9 ถึงแก่สวรรคต บรรดานาหมื่นสรรพมุขมนตรีทั้งหลายจึงพร้อมใจกันถวายราชสมบัติให้ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงพระนครหลวง ต่อมา[13]โดยเฉลิมพระนามหลังจากเสวยราชสมบัติว่า พระบาทกมรเตง อัญศรีสุริโยพันธุ์ บรมมหาบพิตรธรรมิกมหาราชาธิราช (เขมร: ព្រះបាទ​សម្ដេច​មហាបពិត្រ​ ​ធម្មិក​រាជា​ធិរាជ​ ​ជា​អង្គម្ចាស់​ផែនដី​ក្រុង​កម្ពុជា​ធិបតី ) และทรงรับพระนางจันทรวรเทวี(เขมร: ព្រះ​នាង​ច័ន្ទតារាវត្តី​) อันพระราชธิดาในพระเจ้าชัยวรมันที่ 9 เป็นสมเด็จพระอัครมเหสี เรื่องราวตำนานของพระเจ้าแตงหวานนี้มีลักษณะแบบเดียวพระเจ้าญองอู้ ซอยะฮ่านแห่งราชวงศ์พุกาม นักวิชาการกัมพูชาเชื่อว่าการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าตระซ็อกประแอมไม่ใช่เหตุบังเอิญแต่มีการวางแผนเป็นขั้นเป็นตอนและมีการเตรียมการไว้โดยพระปทุมราชาพระราชบิดาและเชลยทาสชาวจามปาที่ต้องการยึดอำนาจเพื่อปลดแอกจากพวกชนชั้นปกครอง เพราะหลังจากการเสด็จขึ้นครองราชย์พระเจ้าตระซ็อกปะแอมได้ทำการกวาดล้างกลุ่มอำนาจเก่าจนเกือบสิ้น[14][15]

การก่อจลาจลในพระนครหลวง

แก้

ในปี ค.ศ. 1335 - 1336 ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันปรเมศวร แห่งพระนครหลวงได้เกิดการลุกฮือของชนชั้นทาสในเมืองพระนครหลวงเนื่องจากการถูกบังคับกดขี่ใช้แรงงานหนักจากชนชั้นปกครองในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันปรเมศวร(เอกสารเขมรระบุว่าทรงปกครองโดยไม่ชอบธรรม ทำให้บ้านเมืองเกิดกลียุค) จนเกิดเหตุการณ์การปฏิวัติขอม จากบันทึกของโจว ต้ากวาน ทูตชาวจีนที่เข้ามาในเมืองพระนครหลวงในรัชสมัยพระเจ้าอินทรวรมันที่ 3 ได้บันทึกว่า ในเมืองมีทาสมากกว่านายทาส [16]ซึ่งอาจจะเป็นเหตุผลว่าทำไมทาสถึงกล้าลุกฮือขึ้นก่อจลาจลเพื่อปลดแอกจากชนชั้นปกครอง จากนั้นทาสได้ร่วมกันสังหารนายทาสจนบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ต่อมาในปี ค.ศ.1336 ได้ปรากฏพระนามกษัตริย์พระองค์ใหม่พระนามพระบาทศรีสุริโยพันธุ์ หรือพระเจ้าแตงหวาน[17][18] ซึ่งกษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงนับถือพระพุทธศาสนาและยกเลิกประเพณีการสร้างปราสาทหินเพื่อถวายแด่เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ฮินดู พระเจ้าแตงหวานเกิดและโตในอาณาจักรขะแมร์ในฐานะชนชั้นกสิกรซึ่งอาจเป็นเหตุผลที่บรรดาทาสชาวจามเลือกที่จะยกพระเจ้าแตงหวานขึ้นเป็นกษัตริย์เพราะทรงสืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์จาม พงศาวดารกล่าวว่าพระเจ้าแตงหวานทรงซัดพระแสงหอกลำแพงชัยถูกพระเจ้าชัยวรมันปรเมศวรถึงแก่สวรรคตในปี ค.ศ. 1336 บรรดาขุนนางจึงยกพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่ซึ่งพระองค์ไม่ใช่คนในราชวงศ์หรือเกี่ยวข้องกันกับกษัตริย์ในราชสกุลมหิธรปุระ และเป็นเรื่องยากที่บรรดาขุนนางที่ภักดีกับกษัตริย์องค์ก่อนจะยกคนที่สังหารกษัตริย์ขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่เว้นแต่มีการก่อกบฏยึดพระราชอำนาจขุนนางจึงจำยอมต้องสวามิภักดิ์

เสด็จสวรรคต

แก้

พระเจ้าแตงหวาน ทรงประชวรด้วยทรงพระชราภาพสวรรคต ในปี ค.ศ. 1341 พระชนม์มายุ 120 ปี หลังจากสวรรคตกองทัพอยุธยาได้ยกทัพเข้าโจมตีพระนครหลวงในรัชสมัยพระราชโอรสของพระองค์คือพระบรมนิพพานบทแต่ยังไม่สามารถตีชิงเอาเมืองได้พระบรมนิพพานบททรงประชวรสวรรคตครองราชสมบัติได้ 5 ปี[19]พระสิทธานราชาอนุชาจึงขึ้นสืบราชบัลลังกเพื่อรักษาราชสมบัติ ทัพอยุธยาจึงยกทัพกลับไปในรัชสมัยพระสิทธานราชา หลังจากพระเจ้าแตงหวานสวรรคตได้ 12 ปี กรุงศรีอยุธยาได้ยกทัพเข้าโจมตีพระนครหลวงอีกครั้ง กรุงแตกในรัชสมัยพระบรมลำพงษ์ราชา[20]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ธิบดี บัวคำศรี. "เอกสารมหาบุรุษเขมร : การศึกษางานเขียนประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของกัมพูชา". จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. "Cambodia's King Trasak Paem 'is just a fictional monarch' - Khmer Times". Khmer Times. 26 December 2022. สืบค้นเมื่อ 3 February 2023.
  3. Phoeun, Mak (1995). Histoire du Cambodge: de la fin du XVIe siècle au début du XVIIIe (ภาษาฝรั่งเศส). Presses de l'Ecole française d'Extrême-Orient. p. 30. ISBN 978-2-85539-776-4.
  4. Harris, Ian (2008-03-11). Cambodian Buddhism: History and Practice. University of Hawaii Press. p. 109. ISBN 978-0-8248-3298-8.
  5. Phoeun, Mak (1995). Histoire du Cambodge: de la fin du XVIe siècle au début du XVIIIe (in French). Presses de l'Ecole française d'Extrême-Orient. p. 30. ISBN 978-2-85539-776-4.
  6. Cambodia's King Trasak Paem 'is just a fictional monarch' - Khmer Times". Khmer Times. 26 December 2022
  7. Phoeun, Mak (1995). Histoire du Cambodge: de la fin du XVIe siècle au début du XVIIIe (in French). Presses de l'Ecole française d'Extrême-Orient. p. 30. ISBN 978-2-85539-776-4.
  8. Georges Coedès: Un grand roi de Cambodge - Jayavarman VII., Phnom Penh 1935.
  9. Paul Mus: Angkor at the Time of Jayavarman VII., Bulletin de Société des Études Indochinoises (Paris), 27 (1952) 3: 261-273
  10. ប្រវត្តិសាស្ត្រខ្មែរភាគរឿងនិទាន ដោយលោកបណ្ឌិតសភាចារ្យ រស់ ចន្ទ្រាបុត្រ
  11. Renowned for its ability to grow tasty cucumbers," according to A. Dauphin-Meunier, History of Cambodia.
  12. ศานติ ภักดีคำ. เขมรรบไทย. กทม. มติชน. 2554. หน้า 272
  13. ↑ "Renowned for its ability to grow tasty cucumbers," according to A. Dauphin-Meunier, History of Cambodia.
  14. http://www.rfa.org/khmer/news/history/the-king-of-angkor-continued-06252014003352.html
  15. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-06. สืบค้นเมื่อ 2019-09-06.
  16. Zhou Daguan (2007). A Record of Cambodia. Translated by Peter Harris. University of Washington Press. ISBN 978-9749511244.
  17. พงศาวดารกัมพูชาที่แปลชำระและที่นิพนธ์เป็นภาษาไทย พ.ศ. 2339-2459 กับหน้าที่ที่มีต่อชนชั้นปกครองไทย,ธิบดี บัวคำศรี
  18. วัฒนธรรมขอมกับความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา, อุดม เชยกีวงศ์, สำนักพิมพ์ภูมิปัญญา,พศ. ๒๕๕๒, หน้า ๑๖๓
  19. สถาบันกษัตริย์เขมรโบราณจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ,หอสมุดวังท่าพระ(PDF)
  20. เขมรรบไทย,ศานติ ภักดีคำ.มติชน .2554
  • A Study report of Ankor Vat
  • สุมาลี บำรุงสุข. นักองค์เอง ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: เอเชีย เล่ม 1 อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กทม.ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. หน้า 155 - 157
ก่อนหน้า พระเจ้าแตงหวาน ถัดไป
พระเจ้าชัยวรมันที่ 9
(ราชวงศ์วรมันแห่งเมืองพระนครหลวง)
  สมเด็จพระเจ้าศรียโศธราปุระแห่งพระนครหลวง
(ค.ศ.1290 ถึง 1341)
  พระบรมนิพพานบท
(ราชวงศ์ตระซ็อกประแอม)