พระบรมนิพพานบท
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
พระบรมนิพพานบท (เขมร: និព្វានបាទ, 1834-1888) หรือพระบาทสมเด็จพระศรีสุริโยพันธ์ุ ที่ 2 กษัตริย์แห่งเขมรครองสิริราชสมบัติจาก พ.ศ. 1883-1888 เป็นเวลาทั้งสิ้น 5 ปี
พระบาทสมเด็จพระศรีสุริโยพันธุ์ที่ 2 (พระบรมนิพพานบท) | |||||
---|---|---|---|---|---|
กษัตริย์ แห่ง จักรวรรดิเขมร | |||||
ครองราชย์ | 1883-1888 | ||||
ก่อนหน้า | พระเจ้าแตงหวาน | ||||
ถัดไป | พระสิทธานราชา | ||||
พระราชบุตร | พระบรมลำพงษ์ราชา พระศรีสุริโยทัย พระศรีสุริโยวงษ์ | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | ราชสกุลตระซ็อกประแอม | ||||
พระราชบิดา | พระเจ้าแตงหวาน | ||||
พระราชมารดา | พระนางจันทรวรเทวี | ||||
ประสูติ | พ.ศ. 1834 ศรียโศธรปุระ | ||||
สวรรคต | พ.ศ. 1888 | ||||
ศาสนา | พุทธศาสนาเถรวาท |
พระราชประวัติแก้ไข
พระบรมนิพพานบท ( เขมร: ព្រះបាទនិព្វានបាទ อักษรโรมัน: Nippean Bat ) ครองราชย์: ค.ศ. 1340 - ค.ศ. 1346 พระบรมนิพพานบท หรือ พระบรมนิพันทบท หรือ พระบรมนิภาร พระมหากษัตริย์แห่งกรุงพระนครหลวงพระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสใน พระเจ้าแตงหวาน หรือ พระเจ้าตระซ็อกประแอมกับพระนางจันทรวรเทวี พระองค์ทรงสืบเชื้อสายมาจากสองราชสกุล ฝ่ายทางพระราชบิดา(จามปา) และฝ่ายทางพระราชมารดา(ขะแมร์) เมื่อพระราชบิดาเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1883 พระองค์จึงขึ้นสืบราชบัลลังก์เมื่อพระชนมายุได้ 49 พรรษา เฉลิมพระนาม "พระบาทสมเด็จพระศรีสุริโยพันธุ์ บรมราชาธิราช ธรรมิกราชบรมนาถบพิตร" เมื่อพระองค์ครองราชสมบัติได้เพียง 5 ปีทรงประชวรเสด็จสวรรคต ภายหลังเสด็จสวรรคตได้รับการเฉลิมพระนาม "พระบรมนิพพานบท" อันแปลว่าผู้เสด็จไปแล้วโดยสุคติสุข ตลอดรัชสมัยของพระองค์มีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างแพร่หลาย มีการสร้างพระพุทธรูป และสร้างวัดวาอารามทั่วพระราชอาณาจักร พระองค์ทรงส่งเสริมพระพุทธศาสนาไม่เหมือนกษัตริย์องค์ก่อนๆ ที่นับถือฮินดู ช่วงปลายรัชกาลเกิดศึกสงครามและเกิดการจลาจลไปทั่ว
เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1888 จึงเป็นการสิ้นสุดตำนานภาคแรกของ เอกสารมหาบุรุษเขมร ตามพระราชพงศาวดารกัมพูชาที่ได้บันทึกพระราชวงศ์วรมัน ส่วนพระราชอนุชาของพระองค์จึงขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็น พระสิทธานราชา พระสิทธานราชาครองราชสมบัติได้เพียง 1 ปีจึงมอบราชสมบัติให้ พระบรมลำพงษ์ราชา พระราชโอรสในพระบรมนิพพานบท
สวรรคตแก้ไข
พระบรมนิพพานบททรงขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงยโศธรปุระต่อจากพระราชบิดาในปี ค.ศ. 1340 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยา ทางกรุงศรีอยุธยาได้ส่งเจ้าใส้เทวดาเข้ามาเป็นราชฑูตเพื่อเจริญพระราชสัมพันธไมตรีกับกรุงพระนครหลวงแต่พระบรมนิพพานบทมิไว้วางพระทัยสั่งให้จับเจ้าใส้เทวดาสังหารเสีย โดยพระราชพงศาวดารฉบับนักองค์เอง[1]ระบุว่า "ศักราช ๑๒๖๘ ปีจ่ออัฐศก สมเดจ์พระมหานิภารเสวยราชสมบัติพระนครศรีโสทรราชธานี ทรงพระราชสั้ทธาทำนุบำรุงพระสาศหนา คะณะนั้นสมเดจ์พระรามาธิบดีผู้เปนพระราชบุตร สมเดจ์พระมหาจักรพัทตราธิราช ได้เสวยราชสมบัติกรุงพระนครศรีอยุทธยา สมเดจ์พระรามาธิบดีมีพระราชโองการตรัสให้เจ้าไส้เจ้าเทวดาจำทูลพระราชสารเปนทางพระราชไม้ตรี มายังกรุงกำภูชาธิบดี สมเด็จพระมหานิภารหมิไว้พระไท ให้จับเจ้าไส้เจ้าเทวดาฆ่าเสีย”[2] เหตุการณ์นี้ได้สร้างความบาดหมางระหว่างกรุงศรีอยุธยากับพระนครหลวงเป็นเหตุให้กรุงศรีอยุธยายกทัพเข้าโจมตีเมืองพระนครหลวงในเวลาต่อมา เมื่อพระบรมนิพพานบทครองราชสมบัติได้เพียง 4 ปีกรุงศรีอยุธยายกทัพมาล้อมเมืองพระนครหลวงได้ 1 ปีแต่ยังโจมตีเอาเมืองมิได้ ภายในเมืองเกิดการจราจลไปทั่วพระนครเนื่องจากขาดแคลนเสบียงอาหาร พระบรมนิพพานบททรงตรอมพระทัยประชวรเสด็จทิวงคตในปี ค.ศ.1346 สิริพระชนมายุ 54 พรรษา อยู่ในราชสมบัติ 5 ปี พระสิทธานราชาพระอนุชาจึงขึ้นสืบราชสมบัติเพื่อรักษาพระนครกรุงศรีอยุทธยาจึงยกทัพกลับ และยกทัพกลับมาอีกครั้งในรัชสมัยพระบรมลำพงษ์ราชา