ยโศธรปุระ
นครรัฐเขมรโบราณ
ยโศธรปุระ (เขมร: យសោធរបុរៈ; เสียงอ่านภาษาเขมร: [jeaʔ sao tʰeaʔ reaʔ boʔ raʔ];[1] สันสกฤต: यशोधरपुर "Yaśōdharapura") หรือ เมืองพระนคร (เขมร: អង្គរ) เป็นเมืองหลวงแห่งที่สองของอาณาจักรเขมร (หลังจากอินทรปุระ) พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 โปรดให้สร้างขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 มีศูนย์กลางอยู่ที่วิหารพนมบาเค็ง[2]: 103 [3]: 64 ต่อมาในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 ได้เกิดเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่ในเมืองยโศธรปุระ จึงย้ายราชธานีไปยังเมืองเกาะแกร์
យសោធរបុរៈ | |
แผนที่และรูปถ่ายจากดาวเทียมของยโศธรปุระ | |
ชื่ออื่น | พระนคร |
---|---|
ที่ตั้ง | เสียมราฐ ประเทศกัมพูชา |
ภูมิภาค | เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
พิกัด | 13°25′26″N 103°51′22″E / 13.423854°N 103.856092°E |
ความเป็นมา | |
ผู้สร้าง | พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 |
สร้าง | ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 |
ละทิ้ง | ค.ศ. 1431 |
สมัย | สมัยกลาง |
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่ | |
สภาพ | บูรณะและเป็นซาก |
การเปิดให้เข้าชม | ใช่ |
สถาปัตยกรรม | |
รูปแบบสถาปัตยกรรม | บาแคง, แปรรูป, บันทายศรี, คลัง, บาปวน, นครวัด, บายน, ยุคหลังบายน |
ใน ค.ศ. 1352 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 แห่งอาณาจักรอยุธยา นำกองทัพเข้าล้อมเมืองนี้ ปีถัดมาฝ่ายอยุธยาสามารถยึดเมืองสำเร็จ โดยแต่งตั้งเจ้าชายองค์หนึ่งมาปกครองเมือง[4] จากนั้น ฝ่ายเขมรยึดเมืองกลับใน ค.ศ. 1357[2]: 236 จากนั้นสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา เข้ารุกรานและทอดทิ้งนครธมในคริสต์ศตวรรษที่ 15[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ Headley, Robert K.; Chim, Rath; Soeum, Ok. 1997. Cambodian-English Dictionary. Dunwoody Press. University of Michigan. ISBN 9780931745782. http://sealang.net/khmer/dictionary.htm
- ↑ 2.0 2.1 Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
- ↑ Higham, C., 2001, The Civilization of Angkor, London: Weidenfeld & Nicolson, ISBN 9781842125847
- ↑ อาจหมายถึง พระอินทราชา (พระนครอินทร์) พระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) จากการค้นคว้าในปัจจุบัน
- ↑ Donald Richie (23 September 2007). "Yasodharapura, revived in literature". The Asian Bookshelf. The Japan Times. สืบค้นเมื่อ 4 May 2013.