พระเจ้าชัยวรมันที่ 4

พระเจ้าชัยวรรมันที่ 4 (เขมร: ជ័យវរ្ម័នទី៤, อักษรโรมัน: Jayavarman IV; สวรรคต ค.ศ. 941) หรือไทยเรียก พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรพระนคร ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 928 – 941 นักประวัติศาสตร์หลายคนคิดว่าพระองค์เป็นผู้ชิงอำนาจ อย่างไรก็ตามหลักฐานล่าสุดแสดงให้เห็นว่าพระองค์มีสิทธิในราชบัลลังก์ถูกต้องตามกฎหมาย[1][2] พระองค์เป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 ประสูติแต่พระนางมเหนทรเทวีพระขนิษฐาของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1[3] พระองค์สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ที่ 2 ในพระราชอาณาจักรร่วมกันกับพระเจ้าอิศานวรมันที่ 2 โดยอ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ทางพระราชมารดา ประวัติศาสตร์จารึกว่าพระองค์มีความชอบธรรมในราชสมบัติ[4]

พระเจ้าชัยวรมันที่ 4
พระมหากษัตริย์พระนคร
ครองราชย์ค.ศ. 928 – 941
ก่อนหน้าพระเจ้าอิศานวรมันที่ 2
ถัดไปพระเจ้าหรรษวรมันที่ 2
สวรรคตค.ศ. 941
ราชวงศ์ราชวงศ์วรมัน
พระราชบิดาไม่ปรากฏพระนาม (เป็นพระราชนัดดาในพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1)
พระราชมารดาพระนางมเหนทรเทวี (ขนิษฐาในพระเจ้ายโศวรมันที่ 1)

ต่อมาภายหลังที่พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 สวรรคต พระเจ้าอิศานวรมันที่ 2 ทรงอ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์แข่งกับพระมาตุลาของพระองค์คือพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 ได้เกิดการแบ่งแยกขึ้นระหว่างกษัตริย์ 2 พระองค์โดยกษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ตามนิตินัยคือ พระเจ้าอิศานวรมันที่ 2 ประทับที่เมืองพระนครยโศธรปุระ (Harshavarman) และกษัตริย์ที่สถาปนาขึ้นอีกพระองค์คือพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 ที่ประทับที่เกาะแกร์ (Koh Ker) โดยพระองค์ทรงสถาปนาราชธานีขึ้นที่เกาะแกร์[5] ต่อมาพระเจ้าอิศานวรมันที่ 2 ทรงสิ้นพระชนม์ลงในปี ค.ศ. 928 พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 จึงทรงประกาศความชอบธรรมในราชสมบัติเพียงพระองค์เดียว ทรงโปรดให้สร้างปราสาทถวายแด่เทพเจ้าในศาสนาฮินดูขึ้นที่เกาะแกร์ในปี ค.ศ. 928 เพื่ออุทิศให้กับเทพเจ้าทั้งสามพระองค์คือ พระวิษณุ พระพรหม และพระศิวะ ซึ่งสถาปัตยกรรมแบบเกาะแกร์มีความสวยงามโดดเด่นและมีเอกลักษณ์เฉพาะ พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 ทรงเป็นพระราชบิดาของพระเจ้าหรรษวรมันที่ 2 ต่อมาพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 ได้ชิงราชสมบัติจากโอรสของพระองค์และย้ายราชธานีจากราชธานีเกาะแกร์กลับมาที่ยโศธรปุระ[6]

อ้างอิง

แก้
  1. Phanindra Nath Bose (1927) The Hindu Colony of Cambodia (Asian Library.), Ppublisher: Theosophical Publishing House, Original from the University of Michigan p.410.
  2. Deane H. Dickason (1937) Wondrous Angkor, Publisher: Kelly & Walsh, Original from the University of Michigan p.147.
  3. Kenneth T. So. "Preah Khan Reach and The Genealogy of Khmer Kings" (PDF). Cambosastra. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-07-08. สืบค้นเมื่อ February 16, 2023.
  4. Greater India Society (1940) Journal, Volume 7 , Publisher: Calcutta Greater India Society, Original from the University of Michigan.
  5. Bye, Ollie (Apr 8, 2017). "The History of Southeast Asia: Every Year" (video). youtube.com (ภาษาอังกฤษ). Ollie Bye.
  6. Founded by S. Fukushima. Editors: Dec. 1929- Waldemar George and others. American editorial office: (1932) Formes: An International Review of Plastic Art, Issues 21-25, Publisher: Éditions des quatre chemins, Original from Pennsylvania State University.