จดหมายเหตุวันวลิต

จดหมายเหตุวันวลิต เป็นจดหมายเหตุที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่งขึ้นด้วยภาษาฮอลันดาโดยนายเยเรเมียส ฟาน ฟลีต (Jeremais van Vliet) ชาวฮอลันดา เมื่อปี พ.ศ. 2183 โดยใช้ชื่อหนังสือว่า "The historical account of the war of Succession following the death of King Pra Interajasia, 22nd King of Ayuthian Dynasty" หนังสือเล่มนี้ได้หายสาบสูญไป จนกระทั่ง ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หนังสือเล่มนี้จึงถูกค้นพบโดยศาสตราจารย์เซอิชิ อิวาโอะ (Seiichi Iwao) จากมหาวิทยาลัยโตเกียว

หนังสือเล่มนี้ได้แปลเป็นภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษา เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ สำหรับภาษาไทยนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพโปรดให้ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) แปลจากฉบับภาษาอังกฤษและโปรดให้ใช้ชื่อภาษาไทยว่า "จดหมายเหตุวันวลิต" ซึ่งแผลงมาจากนามผู้แต่งหนังสือ เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ ในครั้งนั้นขุนวิจิตรมาตราแปลไม่จบเรื่องเนื่องจากติดงานอย่างอื่น แต่ก็ได้มีการตีพิมพ์ฉบับแปลดังกล่าวอยู่ 2 ครั้งในปี พ.ศ. 2477 และ พ.ศ. 2490 ต่อมาในปี พ.ศ. 2507 กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร จึงมอบหมายให้นางสาวนันทา สุตกุล แปลจดหมายเหตุวันวลิตเป็นภาษาไทยตั้งแต่ต้นจนจบ และได้ขอให้นางชูศรี สวัสดิสงคราม หัวหน้าแผนกหนังสือตัวพิมพ์ กองหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกแปล กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ ช่วยตรวจทานแก้ไข ก่อนจะตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปีเดียวกันนั้นเอง

เนื้อหาของจดหมายเหตุวันวลิตกล่าวถึงเหตุการณ์ในช่วงปลายแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมจนถึงต้นแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

อ้างอิง แก้