วัดพระราม
วัดพระราม เป็นวัดที่ตั้งอยู่นอกเขต พระราชวัง ทางด้านทิศตะวันออก ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา (กรุงเก่า) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตรงข้ามกับวิหารพระมงคลบพิตร วัดพระราม คาดว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1912 ในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร ซึ่งเป็นบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) พระราชบิดา แต่พระองค์ทรงครองราชย์ได้เพียงแค่ปีเดียว จึงเข้าใจกันว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ทรงได้ช่วยสร้างจนสำเร็จหรืออาจสร้างเสร็จเมื่อสมเด็จพระราเมศวรเสวยราชย์ครั้งที่ 2 ก็เป็นไปได้
พระปรางค์ประธานวัดพระรามจากฝั่งพระอุโบสถทางทิศตะวันตกเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 | |
ที่ตั้ง | ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
---|---|
ประเภท | วัด |
ส่วนหนึ่งของ | อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา |
ความเป็นมา | |
ผู้สร้าง | สมเด็จพระราเมศวร |
สร้าง | พ.ศ. 1912 |
ละทิ้ง | พ.ศ. 2310 |
สมัย | อยุธยา |
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่ | |
ผู้ขุดค้น | กรมศิลปากร |
สภาพ | หลงเหลือเพียงปรางค์ประธานและเจดีย์รายบางส่วน |
ผู้บริหารจัดการ | กรมศิลปากร |
การเปิดให้เข้าชม | ทุกวัน 08.00-18.30 น. |
สถาปัตยกรรม | |
รูปแบบสถาปัตยกรรม | อยุธยา |
เกณฑ์ | วัฒนธรรม: (iii) |
ขึ้นเมื่อ | 1991 |
เป็นส่วนหนึ่งของ | นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา |
เลขอ้างอิง | 576 |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | วัดพระราม (1) |
ขึ้นเมื่อ | 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 |
เป็นส่วนหนึ่งของ | อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา |
เลขอ้างอิง | 0000314 |
บริเวณหน้าวัดพระรามคือ บึงพระราม ปัจจุบันซากปรักหักพังภายในวัดเหลือเพียงแต่ เสาในพระอุโบสถ วิหาร 7 หลัง กำแพงด้านหนึ่ง และที่สำคัญคือพระปรางค์ ซึ่งเป็นพระปรางค์ทรงขอมโบราณขนาดใหญ่ ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังทั้งสองด้าน เป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งปางมารวิชัยบนบัลลังก์ สีที่ใช้เป็นสีแดง คราม เหลืองและดำ เป็นภาพจิตรกรรมยุคอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันลบเลือนไปมาก[1]
พระปรางค์
แก้- พระปรางค์องค์ใหญ่ ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม สูงแหลมขึ้นไปด้านบน ทางด้านทิศตะวันออก มีพระปรางค์องค์ขนาดกลาง ส่วนทางตะวันตกทำเป็นซุ้มประตู มีบันไดสูงจากฐานขึ้นไปทั้งสองข้าง ที่มุมปรางค์ประกอบด้วยรูปสัตว์หิมพานต์ มีปรางค์ขนาดเล็กตั้งอยู่ทางทิศเหนือและใต้ รอบ ๆ ปรางค์เล็กมีเจดีย์ล้อมรอบอีก 4 ด้าน
นอกจากนี้ยังมีเจดีย์เล็กบ้าง ใหญ่บ้างอยู่รอบ ๆ องค์พระปรางค์ประมาณ 28 องค์ วัดพระรามนี้เป็นที่น่าสังเกต คือ กำแพงวัดพระรามด้านเหนือ มีแนวเหลื่อมกันอยู่ กำแพงด้านตะวันออก ตะวันตก และด้านใต้ มีซุ้มประตูค่อนไปทางทิศตะวันตกได้ระดับกับมุมระเบียงด้านตะวันตกเฉียงเหนือของปรางค์ ส่วนแนวเหลื่อมนั้นได้ระดับกับมุมระเบียงตะวันออกเฉียงเหนือของปรางค์ ไม่มีซุ้มประตู คล้ายเจตนาสร้างไว้เพื่อประสงค์อะไรอย่างหนึ่ง
วิหาร
แก้- วิหารใหญ่ อยู่ทางตะวันออกของพระปรางค์ อยู่ด้านหน้าวัด มีทางเดินต่อกับประปรางค์
- วิหารน้อย อยู่ทางด้านทิศใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เป็นวิหารที่มีด้านหลัง เชื่อมต่อกับเจดีย์ใหญ่ ซึ่งหักพังไปแล้ว
- วิหารน้อย หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้มีเจดีย์เล็กอีกองค์หนึ่ง
- วิหารเล็ก อยู่ด้านหน้าของพระอุโบสถ มีประตูด้านละ 1 ประตู
- วิหาร อยู่ทางมุมด้านตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นวิหารขนาดกลาง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีเจดีย์ใหญ่ ฐานสี่เหลี่ยมอยู่หลังวิหาร
- วิหาร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านหลังวิหารมีเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมองค์หนึ่ง ซึ่งหักพังไปแล้วเช่นกัน
- วิหาร อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของปรางค์ มีขนาดเล็กกว่าวิหารด้านตะวันออก ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน
คลังภาพ
แก้-
บริเวณชานทางเข้า
-
ปรางค์ประธานวัดวัดพระราม
-
พระอุโบสถและปรางค์ประธาน
-
วัดพระราม
-
เงาสะท้อนในบึงพระราม
อ้างอิง
แก้- ↑ วัดพระราม - OKnation, เว็บไซด์:oknation.nationtv.tv/ .วันที่ 3 พ.ย. 2552
- วิไลรัตน์. 2546. กรุงศรีอยุธยา. อมรินทร์พริ้นติ้ง.[ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]