พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์)
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
มหาอำมาตย์โท พระยาโบราณราชธานินทร์ นามเดิม พร เดชะคุปต์(28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2415 – 30 เมษายน พ.ศ. 2479) เป็นอดีตข้าราชการไทยสังกัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า มีชื่อเสียงจากความรอบรู้ในประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา และการเป็นผู้บุกเบิกการค้นคว้าทางโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา
มหาอำมาตย์โท พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) | |
---|---|
เกิด | 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2415 เมืองธนบุรี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 30 เมษายน พ.ศ. 2479 (64 ปี) จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
สัญชาติ | สยาม |
ชื่ออื่น | เจ้าคุณกรุง |
อาชีพ | ข้าราชการฝ่ายปกครอง |
มีชื่อเสียงจาก | ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา |
คู่สมรส | 6 คน |
บุตร | 16 คน |
บิดามารดา |
|
ประวัติ
แก้มหาอำมาตย์โท พระยาโบราณราชธานินทร์ สยามินทรภักดีพิริยพาหะ มีนามเดิมว่า พร เดชะคุปต์ เกิดเมื่อวันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2415 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่บ้านริมคลองบางกอกน้อย ธนบุรี โดยเป็นบุตรขุนฤทธิ์ดรุณเสรฐ (เดช เดชะคุปต์) สารวัตรใหญ่มหาดเล็กเวรฤทธิ์ กับ นางฤทธิ์ดรุณเสรฐ (ไผ่ สกุลเดิม กันตามะระ) มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 6 คน คือ
- หลวงประชุมบรรณสาร (พิณ เดชะคุปต์) รับราชการกระทรวงกลาโหม
- อำมาตย์โท พระยาพิพิธภักดี (เพิ่ม เดชะคุปต์) รับราชการกระทรวงมหาดไทย ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2467[1]
- นางสาวใย เดชะคุปต์
- พระยาโบราณราชธานินทร์ฯ (พร เดชะคุปต์) รับราชการกระทรวงมหาดไทย
- นางอภิรักษสมบัติ (เรือน ดิษยรักษ์)
- นายพล เดชะคุปต์
ในวัยเด็ก พระยาโบราณราชธานินทร์ได้รับการศึกษาที่วัดยี่ส่าย ต่อมาบิดาได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ระหว่างนี้ได้ศึกษาเล่าเรียนกับพระยาศรีสุนทรโวหาร และเมื่อมีการจัดการศึกษาสมัยใหม่อย่างตะวันตก บิดาจึงได้นำไปถวายตัวกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และได้เข้าเรียนที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบในปี พ.ศ. 2432 จึงได้เป็นครูช่วยสอนที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบจนกระทั่งได้เริ่มเข้ารับราชการในปีถัดมา
ตำแหน่งทางราชการ
แก้- พ.ศ. 2433 เสมียนโท กรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการ
- พ.ศ. 2434 เสมียนเอกและสารวัตรตรวจโรงเรียนหลวง กระทรวงธรรมการ
- พ.ศ. 2435 เสมียนเวรพิเศษ กระทรวงพระคลัง ปฏิบัติหน้าที่เป็นรองเลขานุการส่วนพระองค์ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เสนาบดีกระทรวงพระคลัง
- พ.ศ. 2436 เสมียนเอก กระทรวงมหาดไทย ปฏิบัติหน้าที่ฝึกหัดนักเรียนที่จะส่งไปรับราชการตามหัวเมือง
- พ.ศ. 2437 รองนายเวรกรมพลำภัง กระทรวงมหาดไทย (ปัจจุบันคือ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)
- 18 มีนาคม พ.ศ. 2438 ขุนวิเศษรักษา ตำแหน่งขุนหมื่น[2]
- 1 เมษายน พ.ศ. 2439 พันพุฒอนุราช ตำแหน่งหัวพัน ถือศักดินา ๔๐๐[3]
- พ.ศ. 2439 ข้าหลวงมหาดไทยประจำมณฑลกรุงเก่า
- 18 มกราคม พ.ศ. 2439 รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นหลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ ถือศักดินา ๘๐๐[4]
- พ.ศ. 2440 รักษาราชการแทนผู้รักษากรุงเก่า (นับเข้าทำเนียบนามผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน)
- 16 กันยายน พ.ศ. 2441 ผู้รักษากรุงเก่า (เทียบเท่าผู้ว่าราชการจังหวัดในปัจจุบัน)[5]
- 20 กันยายน พ.ศ. 2441 พระอนุรักษภูเบศร์ คงถือศักดินา 800[6]
- 22 กันยายน 2443 – พระยาโบราณบุรานุรักษ์ ถือศักดินา 3000[7]
- 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444 ปลัดมณฑลกรุงเก่า[8]
- พ.ศ. 2446 ผู้รั้งตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลกรุงเก่า[9]
- พ.ศ. 2447 ผู้ช่วยบรรณารักษ์หอสมุดพระวชิรญาณ
- 13 ตุลาคม พ.ศ. 2448 กรรมสัมปาทิกหอสมุดสำหรับพระนคร[10]
- 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 - ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า[11][12] (โดยเข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรระหว่างเสด็จออกขุนนางที่ พระที่นั่งอภิเศกดุสิต)
- พ.ศ. 2450 - เลขานุการโบราณคดีสโมสร
- 29 ตุลาคม พ.ศ. 2451 - มรรคนายก วัดสุวรรณดาราราม[13]
- 14 ตุลาคม พ.ศ. 2454 นายหมู่ใหญ่[14]
- 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2455 ได้รับพระราชทานเพิ่มเกียรติยศเป็น พระยาโบราณราชธานินทร์ สยามินทรภักดี พิริยะพาหะ ตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลกรุงเก่า ถือศักดินา 10,000 ไร่[15]
- 10 มิถุนายน พ.ศ. 2456 - นายกองตรี[16]
- 19 มิถุนายน พ.ศ. 2456 - ได้รับพระราชทานยศข้าราชการพลเรือนเป็นมหาอำมาตย์โท (เทียบเท่านายพลโทของทหารบก)[17]
- พ.ศ. 2457 กรรมการวรรณคดีสโมสร
- 10 กันยายน พ.ศ. 2459 - นายกองเอก[18]
- พ.ศ. 2459 เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่าและเป็นอุปราชภาคอยุธยา เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยรวบรวมหัวเมืองเป็นภาค
- พ.ศ. 2468 พ้นจากตำแหน่งอุปราชภาคอยุธยา เนื่องจากยกเลิกระบบการปกครองแบบภาค
- 22 พฤษภาคม 2469 – มหาอำมาตย์โท[19]
- พ.ศ. 2469 อุปนายกแผนกโบราณคดีของราชบัณฑิตยสภา
- 4 เมษายน พ.ศ. 2472 - เกษียณอายุราชการ[20]
ยศ
แก้ผลงาน
แก้- ชักชวนข้าราชการ พ่อค้า และประชาชน ร่วมกันสร้างโรงพยาบาลปัญจมธิราชอุทิศ เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของมณฑลอยุธยา (ปัจจุบันเป็นที่ทำการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา) และนำเงินที่เหลือจากการสร้างโรงพยาบาลไปสร้างโอสถศาลาปัญจมธิราชอุทิศที่จังหวัดสระบุรี
- จัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเก่าในปี พ.ศ. 2459 เพื่อดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อย
- ปรับปรุงตลาดใหม่ที่บริเวณหัวรอเมื่อ พ.ศ. 2458 โดยสร้างเป็นห้องแถว พื้นคอนกรีต ท่อระบายน้ำ สร้างโรงภาพยนตร์และตลาดแผงลอย (ปัจจุบันคือตลาดหัวรอ ซึ่งเป็นแหล่งค้าขายที่สำคัญแห่งหนึ่ง)
- จัดสร้างถนนรอบเกาะเมืองอยุธยาจนแล้วเสร็จต่อจากพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ สมุหเทศาภิบาลพระองค์แรก
- บูรณปฏิสังขรณ์วัดร้างภายในตัวเมืองอยุธยา ที่สำคัญได้แก่การบูรณะซ่อมแซมต่อพระกรด้านซ้ายและขวาของพระมงคลบพิตรเมื่อ พ.ศ. 2461 นอกจากนี้ยังได้ออกระเบียบการรื้อถอนวัดร้างเพื่อป้องกันการบุกรุก
- ทำนุบำรุงด้านการเกษตรกรรม โดยรวบรวมข้อมูลทางด้านเกษตรกรรม ขุดลอกคูคลองและจัดเก็บผักตบชวา
- ขุดแต่งบริเวณพระราชวังโบราณและปลูกสร้างพระที่นั่งสรรเพชญ์มหาปราสาทบริเวณรากฐานเดิมเพื่อใช้ในการพระราชกุศลรัชมงคล ฉลองสิริราชสมบัติครบ 40 ปีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2451
- เก็บรวบรวมศิลปวัตถุและโบราณวัตถุที่พบภายในเมืองอยุธยามารวบรวมไว้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้นำสิ่งของเหล่านั้นไปจัดแสดงที่พระราชวังจันทรเกษม (ภายหลังกรมศิลปากรได้จัดตั้งเป็นพิพิธภัณท์สถานแห่งชาติจันทรเกษม)
ครอบครัว
แก้ในปี พ.ศ. 2440 พระยาโบราณราชธานินทร์ เมื่อครั้งยังมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงอนุรักษ์ภูเบศร ได้สมรสกับนางสาวจำเริญ (สกุลเดิม อินทุสุต) ธิดาพระเทพเยนทร์ (ถนอม อินทุสุต) กับนางนวม ที่กรุงเทพฯ มีบุตรธิดาด้วยกัน 5 คนคือ
- นายพืชน์ เดชะคุปต์ อดีตผู้ช่วยข้าหลวงตรวจการกรมหมาดไทย กระทรวงมหาดไทย
- นางเทพอักษร (พันธ์ อินทุสุต)
- นางพูน อารยะกุล
- นางสาวเพ็ญ เดชะคุปต์
- นางสาวพัฒน์ เดชะคุปต์
นอกจากนี้พระยาโบราณราชธานินทร์ยังมีบุตรธิดากับภรรยาท่านอื่นอีก 11 คน คือ
- นายจั่นเพชร เดชะคุปต์ (มารดาชื่อนางกิ่ง)
- นางเพิ่มศรี สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา (มารดาชื่อนางประยูร)
- นายพฤทธิ์ เดชะคุปต์ (มารดาชื่อนางประยูร) อดีตสมุห์บัญชี อ.เมืองลำปาง
- นางสาวน้อม เดชะคุปต์ (มารดาชื่อนางถนอม)
- นายนันท์ เดชะคุปต์ (มารดาชื่อนางถนอม)
- นางอนงค์ เหมะกรม (มารดาชื่อนางถนอม)
- นายมานพ เดชะคุปต์ (มารดาชื่อนางเจิม)
- พันตำรวจโทวิรัตน์ เดชะคุปต์ (มารดาชื่อนางเจิม)
- นางสมบูรณ์ ทรรพมัทย์ (มารดาชื่อนางสุวรรณ)
- นายดำรง เดชะคุปต์ (มารดาชื่อนางสุวรรณ) อดีตปลัดจังหวัดระนอง
- รองศาสตราจารย์วรรณศิริ เดชะคุปต์ (มารดาชื่อนางสุวรรณ) ข้าราชการบำนาญ ทบวงมหาวิทยาลัย
ปัจจุบันยังคงเหลือบุตรที่ยังชีวิตอยู่สองท่าน คือ นางสมบูรณ์ ทรรพมัทย์ และ รองศาสตราจารย์วรรณศิริ เดชะคุปต์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม
แก้- พ.ศ. 2459 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)[23]
- พ.ศ. 2458 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[24]
- พ.ศ. 2455 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[25]
- พ.ศ. 2455 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[26]
- พ.ศ. 2456 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[27]
- พ.ศ. 2457 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[28]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 3 (จ.ป.ร.3)[29]
- พ.ศ. 2464 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)[30]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)[31]
- พ.ศ. 2449 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 5 (ร.จ.ท.5)[32]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- เดนมาร์ก :
- พ.ศ. 2445 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 2[33]
- ปรัสเซีย :
- พ.ศ. 2448 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์นกอินทรีแดง ชั้นที่ 2[34]
- อิตาลี :
- พ.ศ. 2450 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎอิตาลี ชั้นที่ 2[35]
- เบราน์ชไวค์ :
- พ.ศ. 2452 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์สิงโตไฮน์ริช ชั้นที่ 2[36]
เชิงอรรถ
แก้- ↑ ข่าวตาย
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร
- ↑ รายงานข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า (หน้า ๕๓๐)
- ↑ "พระราชทานสัญญาบัตร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-03-24. สืบค้นเมื่อ 2020-07-12.
- ↑ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ (หน้า 356)
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรตำแหน่งน่าที่ราชการ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พระวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ ขอลาออกจากตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาล มณฑลปราจีนบุรี ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ สำเร็จราชการมณฑลปราจีนบุรี ให้พระยาโบราณบุรานุรักษ์ รั้งตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า, เล่ม 20, ตอน 36, 6 ธันวาคม พ.ศ. 2446, หน้า 629
- ↑ พระราชทานตราตั้ง กรรมการหอพระสมุดวชิรญาณ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงมหาดไทย [เรื่อง พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ขอพระราชทานพ้นจากข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลกรุงเก่า และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยาโบราณบุรานุรักษ์เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า], เล่ม 23, ตอน 9, 3 มิถุนายน พ.ศ. 2449, หน้า 789
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรตำแหน่งหน้าที่ราชการ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรมรรคนายก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ ส่งสัญญาบัตรเสือป่าไปพระราชทาน
- ↑ พระราชทานยศเลื่อนยศ
- ↑ พระราชทานยศนายพลเสือป่า (หน้า ๑๕๒๕)
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ปลด,ตั้ง,ย้าย สมุหเทศาภิบาล
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
- ↑ ส่งสัญญาบัตรเสือป่าไปพระราชทาน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตรารัตนวราภรณ์, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๓๙, ๗ มกราคม ๒๔๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๙๒, ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๑๙, ๒๒ มกราคม ๑๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๐๔, ๒๔ พฤศจิกายน ๑๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๗๓, ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๐๒, ๑๐ มกราคม ๒๔๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๕, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๕๐, ๙ เมษายน ๑๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๘๓, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๕๖, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๒๓ ตอนที่ ๓๓ หน้า ๘๕๒, ๑๑ พฤศจิกายน ๑๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๙ ตอนที่ ๑๖ หน้า ๓๑๖, ๒๐ กรกฎาคม ๑๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตตราต่างประเทศ, เล่ม ๒๒ ตอนที่ ๒๓ หน้า ๕๒๗, ๓ กันยายน ๑๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๑๓ หน้า ๓๓๒, ๓๐ มิถุนายน ๑๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์เฮนรีดีไลออนกรุงบรันซวิก, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๕๕, ๑๐ เมษายน ๑๒๙
อ้างอิง
แก้- กรมศิลปากร. "ประวัติพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์)", ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 63. กรุงเทพฯ : โสภณพิพรรฒธนากร, (2479).