พ.ศ. 2446
ปี
พุทธศักราช 2446 (นับแบบใหม่) ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1903 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน
- ปีเถาะ เบญจศก จุลศักราช 1265 (วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2446 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 1903 MCMIII |
Ab urbe condita | 2656 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1352 ԹՎ ՌՅԾԲ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6653 |
ปฏิทินบาไฮ | 59–60 |
ปฏิทินเบงกอล | 1310 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2853 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 2 Edw. 7 – 3 Edw. 7 |
พุทธศักราช | 2447 |
ปฏิทินพม่า | 1265 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7411–7412 |
ปฏิทินจีน | 壬寅年 (ขาลธาตุน้ำ) 4599 หรือ 4539 — ถึง — 癸卯年 (เถาะธาตุน้ำ) 4600 หรือ 4540 |
ปฏิทินคอปติก | 1619–1620 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3069 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 1895–1896 |
ปฏิทินฮีบรู | 5663–5664 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 1959–1960 |
- ศกสมวัต | 1825–1826 |
- กลียุค | 5004–5005 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 11903 |
ปฏิทินอิกโบ | 903–904 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1281–1282 |
ปฏิทินอิสลาม | 1320–1321 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชเมจิ 36 (明治36年) |
ปฏิทินจูเช | N/A |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4236 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | 9 ก่อน ROC 民前9年 |
ผู้นำ
แก้- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
- เจ้าประเทศราช:
- เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่: เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ (28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444 - 5 มกราคม พ.ศ. 2453)
- เจ้าผู้ครองนครลำพูน: เจ้าอินทยงยศโชติ (3 มกราคม พ.ศ. 2441 - 18 มีนาคม พ.ศ. 2454)
- เจ้าผู้ครองนครลำปาง: เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต (3 มกราคม พ.ศ. 2441 - 5 ตุลาคม พ.ศ. 2465)
- เจ้าผู้ครองนครน่าน: พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช (21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2437 - 5 เมษายน พ.ศ. 2461)
- เจ้าประเทศราช:
เหตุการณ์
แก้- 1 เมษายน - สยามประกาศเลิกทาสโดยตราพระราชบัญญัติทาส ร.ศ. 124
- 3 พฤศจิกายน - วันประกาศเอกราชของปานามา
- 8 กุมภาพันธ์ - สงครามญี่ปุ่น-รัสเซียเริ่มต้นในวันนี้เมื่อญี่ปุ่นโจมตีท่าเรือปอร์ตอาเธอร์ของรัสเซีย
- 13 กุมภาพันธ์ - สยามเสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง ตรงข้ามเมืองจำปาศักดิ์ และเมืองมโนไพรตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส 13 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 122 เพื่อให้ฝรั่งเศสถอนทหารจากจันทบุรี
วันเกิด
แก้- 2 มกราคม - คาเนะ ทานากะ อภิศตวรรษิกชนชาวญี่ปุ่นและบุคคลที่อายุยืนที่สุดในญี่ปุ่น (ถึงแก่กรรม 19 เมษายน พ.ศ. 2565)
- 6 มีนาคม - จักรพรรดินีโคจุง พระจักรพรรดินีอัครมเหสีในจักรพรรดิโชวะ พระราชมารดาในสมเด็จพระสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะและพระอัยยิกาในสมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ (สวรรคต 16 มิถุนายน พ.ศ. 2543)
- 30 เมษายน - หม่อมเจ้าผจงรจิตร์ กฤดากร (สิ้นชีพิตักษัย 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524)
- 25 มิถุนายน - จอร์จ ออร์เวลล์ นักเขียนนวนิยาย นักเขียนความเรียง นักข่าว และนักวิจารณ์วรรณกรรมชาวอังกฤษ (ถึงแก่กรรม 21 มกราคม พ.ศ. 2493)
- 25 เมษายน - อันเดรย์ คอลโมโกรอฟ นักคณิตศาสตร์ชาวรัสเซีย (ถึงแก่กรรม 20 ตุลาคมพ.ศ. 2530)
- 2 สิงหาคม - โชติ คุณะเกษม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ถึงแก่อนิจกรรม 3 มกราคม พ.ศ. 2510)
- 2 ตุลาคม - เจ้าทิพวรรณ ณ เชียงตุง เจ้านายฝ่ายเหนือ (พิราลัย 26 มีนาคม พ.ศ. 2532)
- 4 ตุลาคม - หม่อมเจ้ามงคลอุดม ชยางกูร พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป (สิ้นชีพิตักษัย 2 กันยายน พ.ศ. 2518)
- 24 ตุลาคม - หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล (ถึงแก่อสัญกรรม 5 ตุลาคม พ.ศ. 2538)
- 26 ตุลาคม - เจ้าแก้วมงคล ณ เชียงใหม่ เจ้านายฝ่ายเหนือ (ถึงแก่กรรม 7 ธันวาคม พ.ศ. 2528)
- 10 พฤศจิกายน - เชียด อภัยวงศ์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรีไทย (ถึงแก่กรรม 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2515)
- 24 พฤศจิกายน - เฮง เกิดแก่น อภิศตวรรษิกชนชาวไทยและบุคคลที่อายุยืนที่สุดในจังหวัดกําแพงเพชร (ถึงแก่กรรม 8 มิถุนายน พ.ศ. 2567)
- 8 ธันวาคม - คันจูโร อะระชิ นักแสดงภาพยนตร์ชาวญี่ปุ่น (ถึงแก่กรรม 21 ตุลาคม พ.ศ. 2523)
- 25 ธันวาคม - ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์) และอดีตหม่อมในสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา (ถึงแก่อนิจกรรม 24 กันยายน พ.ศ. 2543)
- 30 ธันวาคม - รองอำมาตย์เอก เกษม ศรีพยัคฆ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และอดีตรองอธิบดีกรมรถไฟ กระทรวงคมนาคม (ถึงแก่อนิจกรรม 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2508)