ฟ้าใหม่
ฟ้าใหม่ เป็นละครโทรทัศน์[1]ที่อิงเนื้อหาจากนิยายชื่อเดียวกันของ ศุภร บุนนาค กล่าวถึงเหตุการณ์ในช่วงปลายรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ไปจนถึงการตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผ่านชีวิตของ ออแสน ตัวละครเอกของเรื่อง นายทหารมหาดเล็กเชื้อสายผู้ดีแขกเทศ เพื่อนร่วมสาบานรุ่นของคุณคนใหญ่, คุณคนกลาง และคุณคนเล็ก โดยเจ้าของบทประพันธ์ได้รับแรงบันดาลใจมาจากประวัติของเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) ต้นสกุลบุนนาค ที่คุณศุภรเป็นสะใภ้คนหนึ่งของตระกูลนี้ นำแสดงโดย ณัฐวุฒิ สกิดใจ, ดนุพร ปุณณกันต์, อัษฎาวุธ เหลืองสุนทร, พัชราภา ไชยเชื้อ, จีรนันท์ มะโนแจ่ม, ฐาปกรณ์ ดิษยนันทน์, ภูธฤทธิ์ พรหมบันดาล, คงกระพัน แสงสุริยะ, ชินมิษ บุนนาค
ฟ้าใหม่ | |
---|---|
แนว | อิงประวัติศาสตร์ ดราม่า โรแมนติก |
บทประพันธ์ | บทประพันธ์ : ศุภร บุนนาค บทโทรทัศน์ : ศัลยา |
กำกับโดย | จรูญ ธรรมศิลป์ |
แสดงนำ | ณัฐวุฒิ สกิดใจ ดนุพร ปุณณกันต์ อัษฎาวุธ เหลืองสุนทร พัชราภา ไชยเชื้อ จีรนันท์ มะโนแจ่ม ฐาปกรณ์ ดิษยนันทน์ ภูธฤทธิ์ พรหมบันดาล คงกระพัน แสงสุริยะ ชินมิษ บุนนาค |
ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่อง | พ.ศ. 2547 เพลงไตเติ้ล เนื้อร้อง/ทำนอง เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เรียบเรียง สุดแดน สุขเกษร |
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด | เพลงฟ้าใหม่ ขับร้องโดย ชิตพงษ์ ตรีมาศ |
ดนตรีแก่นเรื่องปิด | เพลงฟ้าใหม่ (ช้า) ขับร้องโดย ชิตพงษ์ ตรีมาศ |
ภาษาต้นฉบับ | ![]() |
จำนวนตอน | พ.ศ. 2547 9 ตอน พ.ศ. 2560 9 ตอน |
การผลิต | |
ควบคุมงานสร้าง | บอร์ดคณะกรรมการบริหารช่อง 7 ไพรัช สังวริบุตร |
ความยาวตอน | พ.ศ. 2547 : 125 นาที พ.ศ. 2560 : 130 นาที |
ออกอากาศ | |
สถานีโทรทัศน์ | ช่อง 7 HD |
ออกอากาศ | พ.ศ. 2547 8 มิถุนายน พ.ศ. 2547 - 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2560 6 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 22 ตุลาคม พ.ศ. 2560 |
เนื้อเรื่องย่อ
แก้ปลายรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อ แสน อายุได้ 8 ขวบ ออกหลวงพิชิตบรเทศ (หรือหลวงนายสิทธิ์) พ่อของแสนพาแสนเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ของพระองค์ท่าน และพระองค์ท่านได้พระราชทานแสนให้เป็นมหาดเล็กของ สมเด็จพระมหาอุปราชเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ และแสนเป็นที่เอ็นดู และโปรดปรานของท่านยิ่งนัก เพราะเป็นมหาดเล็กที่เด็กที่สุด อีกทั้งยังหน้าตาดีมากอีกด้วย
แสนสนิทสนมกับมหาดเล็กหนุ่มรุ่นพี่อยู่ 3 คน สองคนคือ คุณใหญ่ กับ คุณเล็ก เป็นพี่น้องคลานตามกันมาจากตระกูลขุนนางเศรษฐีผู้ดีเก่าแก่ยาวนานสายเจ้าแม่วัดดุสิตและมีนิวาสสถานอยู่ย่านวัดสุวรรณดาราราม เพียงเอ่ยว่า " พวกบ้านวัดสุวรรณ" ก็เป็นที่รู้จักกันว่าตระกูลไหนเหมือนกับที่ถ้าเอ่ยว่า "พวกบ้านท่าตะเภาแขก" ก็จะหมายถึงตระกูลของแสน ส่วนอีกคนหนึ่ง คือ คุณกลาง เป็นเพื่อนร่วมสาบานกับคุณใหญ่คุณเล็กเป็นบุตรบุญธรรมของตระกูลขุนนางฝ่ายวังหลวง คุณกลางมีเชื้อจีนและสามารถพูดภาษาจีน ญวนและมลายูได้ มหาดเล็กรุ่นพี่นี้มีเพียงคุณใหญ่เท่านั้นที่เป็นมหาดเล็กของวังหน้า ส่วนคุณเล็กและคุณกลางเป็นมหาดเล็กของวังหลวง ทั้งสามคนและแสนสนิทสนมกันมาก ไปไหนไปด้วยกันตลอดและต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก มหาดเล็กทั้งสี่นี้ต่างก็มีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงในการกอบกู้และสร้างเมืองใหม่ให้เป็น "ฟ้าใหม่" ของคนไทยทั้งปวง
นักแสดง
แก้- ณัฐวุฒิ สะกิดใจ รับบท ออแสน /เจ้าพระยาอัครมหาเสนา (บุนนาค)
- ดนุพร ปุณณกันต์ รับบท สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร
- อัษฏาวุธ เหลืองสุนทร รับบท เจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง)
- พัชราภา ไชยเชื้อ รับบท เรณูนวล[2][3]
- จีรนันท์ มะโนแจ่ม รับบท การะบุหนิง
- ฐาปกรณ์ ดิษยนันทน์ รับบท ออกหลวงพิชิตบรเทศ (พ่อ ออแสน) พระยาจ่าแสนยากร (สิทธ)
- ภูธฤทธิ์ พรหมบันดาล รับบท คุณใหญ่/พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
- ชินมิษ บุนนาค รับบท คุณกลาง/สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
- คงกระพัน แสงสุริยะ รับบท คุณเล็ก/สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
- อติมา ธนเสนีวัฒน์ รับบท พลอยแหวน
- ศตวรรษ ดุลยวิจิตร รับบท สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์
- ขจรศักดิ์ รัตนนิสสัย รับบท พระเจ้ามังระ
- สมบัติ เมทะนี รับบท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
- บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ รับบท จมื่นศรีสรรักษ์ (พระนายศรีสรรักษ์) (ฉิม)
- เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์ รับบท พระราชมนตรี (ปิ่น)
- อรรถชัย อนันตเมฆ รับบท เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล)
- วัชรเกียรติ บุญภักดี รับบท พระยาพิชัยดาบหัก
- อดุลย์ ดุลยรัตน์ รับบท เจ้าคุณปู่ (ปู่ ออแสน)
- บุศรา นฤมิตร รับบท คุณหญิงย่า (ย่า ออแสน)
- วีรินท์ เชยอรุณ รับบท แม่นายกลิ่นจันทร์ (แม่ ออแสน)
- ณัฏฐริณีย์ กรรณสูต รับบท เจ้าจอมเพ็ง
- วรรณยุดา แสนอุดม รับบท เจ้าจอมแมน
- สุเชาว์ พงษ์วิไล รับบท มังมหานรธา
- วันชัย เผ่าวิบูลย์ รับบท พระยารัตนาธิเบศร์
- ปิยะ ตระกูลราษฎร์ รับบท จมื่นไวยวรนาถ
- พศิณ กรรณสูต รับบท กรมหมื่นเทพพิพิธ
- ธนายง ว่องตระกูล รับบท กรมหมื่นจิตรสุนทร
- ปราบ ยุทธพิชัย รับบท กรมหมื่นสุนทรเทพ
- วรพรต ชะเอม รับบท กรมหมื่นเสพภักดี
- พอเจตน์ แก่นเพชร รับบท พระยาพลเทพ
- พิพัฒน์พล โกมารทัต รับบท เนเมียวสีหบดี
- วชิรา เพิ่มสุริยา รับบท เรียม
- สกรรจ์ รามบุตร รับบท พระเจ้ามังลอก
- สุรจิต บุญญานนท์ รับบท หลวงพิพัฒน์โกษาเจ้าพระยาพระคลัง (หน)
- นิตยา ปานะถึก รับบท ป้าเรณูนวล
- ดามพ์ ดัสกร รับบท นายทองอิน
- วัชระ สิทธิกุล รับบท ออส้มเกลี้ยง กรมขุนสุนทรภูเบศร์
- อุษณียาภรณ์ ผลเจริญ รับบท เจ้าฟ้านิ่ม
- ประภารัตน์ รัตนธาดา รับบท ยายปริก
- ไกรสีห์ แก้ววิมล รับบท พระยาเดโช
- สุระ มูรธานนท์ รับบท พระยาท้ายน้ำ
- จันทนา ศิริผล รับบท ยายพลับ (เมียออกรับ)
- ทัศนีย์ สีดาสมุทร รับบท ภรรยาจมื่นศรีสรรักษ์
- อัมพล สวนสุข รับบท หมื่นทิพเสนา
- ไชยา สุดใจดี รับบท นายทองสุก
- ภาค ภัทรพงษ์ รับบท พระยาอภัยราชา
- ดวงดาว จารุจินดา รับบท กรมหลวงอภัยนุชิต
- ไพโรจน์ สังวริบุตร รับบท พระยาตานีศรีสุลต่าน
- ทักษิณ บุญพงษา รับบท พระเจ้าอลองพญา
- ฆธาวุธ ปิ่นทอง รับบท มหาดเล็กหุ้มแพร
- ฐานมาศ ขวัญหวาน รับบท เจ้าฟ้าสังวาลย์
- ปิยะดา เพ็ญจินดา รับบท กรมขุนวิมลพัตร
- ยอดชาย เมฆสุวรรณ รับบท พระศรีสุริยะพาหะ
- วิไลลักษณ์ ไวงาน รับบท กรมพระเทพามาตย์ (นกเอี้ยง)
- โกวิทย์ วัฒนกุล รับบท พระเชียงเงิน
- เฉลิมพร พุ่มพันธ์วงศ์ รับบท หลวงโกษา
นักแสดงรับเชิญ
แก้- ฉลอง ภักดีวิจิตร รับบท อะแซหวุ่นกี้
- เสรี หวังในธรรม รับบท ออกรับ (อ่านว่า ออ-กรับ) พี่เลี้ยงออแสน
- ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ รับบท กรมขุนสุเรนทรพิทักษ์
เบื้องหลังการถ่ายทำ
แก้ที่มาของการประพันธ์ และงานสร้าง
แก้ศาสตราจารย์ ดร. สุริยา รัตนกุล ทายาทของคุณสุภร บุนนาค ได้ให้สัมภาษณ์ถึงที่มาของนิยายเรื่องนี้ว่า ตัวละครเอกที่ชื่อ ออแสน เกิดจากต้นตระกูลบุนนาคมีคนชื่อ เสน ส่วนตัวละคร เรณูนวล นั้น เกิดจากการนำชื่อของสตรีที่แต่งงานกับเจ้าคุณบุนนาค คือ เจ้าคุณนวล โดยคุณสุภร บุนนาค แต่งนวนิยายไว้ 6 บท แล้วจึงได้ออกตีพิมพ์ ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 นับเป็นนวนิยายที่เป็นที่นิยมมาก แต่ถึงกระนั้น ก็มิได้แต่งบทเพิ่มมาอีก จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2534 ในช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อน ศาสตราจารย์ ดร. สุริยาได้พบกับเค้าโครงของบทประพันธ์ส่วนที่เหลือ จึงได้พิมพ์ออกเป็นครั้งที่ 2 ด้วยเนื้อหาที่เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งได้รับกระแสตอบรับอย่างดีมาก จนกระทั่งได้มาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ในปี พ.ศ. 2547[4][5] โดยอิงจากจดหมายเหตุลาลูแบร์ เป็นเอกสารสำคัญในการค้นคว้าข้อมูล และเขียนบท ด้วยเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีเนื้อหาเป็นที่ยอมรับในทางประวัติศาสตร์มากที่สุด[6][7] โดยเล่าเรื่องตั้งแต่ยุคสมัยของสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ซึ่งเป็นช่วงที่รุ่งเรืองที่สุดในสมัยอยุธยาตอนปลาย[8]
ฉากสำคัญในช่วงสงครามเสียกรุง
แก้สยม สังวริบุตร ผู้สร้างละครได้ให้ข้อมูลว่า ในฉากที่ต้องเผาทองลอกพระพุทธรูปพระศรีสรรเพชญ์นั้น ได้มีการสร้างพระพุทธรูปศรีสรรเพชญ์จำลองขึ้นมาใหม่ โดยหล่อออกมาด้วยขี้ผึ้ง แล้วปิดทองทับ ซึ่งในฉากนั้นจะพบว่า ในขณะที่พระพุทธรูปพระศรีสรรเพชญ์ถูกเผา ทองได้ลอกออกเป็นน้ำตา เพื่อสื่อถึงความหมายของการสูญเสียในช่วงสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2[9][10]
การนำกลับมาออกอากาศใหม่
แก้ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2560 หลังจากการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7 ได้นำละครเรื่องนี้กลับมาออกอากาศใหม่ เพื่อเป็นการไว้อาลัยในการสวรรคตของพระองค์ท่าน โดยมีการตัดฉากบางส่วนออกไป[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ "คนไทยสร้างชาติ ฟ้าใหม่ ละครไทยที่ควรฉายซ้ำ ที่เว็บ OKnation". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-11. สืบค้นเมื่อ 2021-06-11.
- ↑ "อั้ม" ชวนดูละคร "ฟ้าใหม่" ย้อนรอย 13 ปี แห่งความยิ่งใหญ่ ที่เว็บ เอเอสทีวีผู้จัดการ
- ↑ "อั้ม"ชวนชมละคร"ฟ้าใหม่" 13 ปีผ่านไปประทับใจไม่ลืม... ที่เว็บ dailynews.co.th
- ↑ คัดลอกจากบทสัมภาษณ์ ของ ศาสตราจารย์ ดร. สุริยา รัตนกุล
- ↑ คลิปบทสัมภาษณ์ ของ ศาสตราจารย์ ดร. สุริยา รัตนกุล
- ↑ คัดลอกจากบทสัมภาษณ์ ของ พินิจ ทุหะจินดา
- ↑ คลิปบทสัมภาษณ์ ของ พินิจ ทุหะจินดา
- ↑ "ช่อง 7 สี ส่ง "ฟ้าใหม่" ละครฟอร์มใหญ่ ลงจออีกครั้ง 6 ต.ค.นี้". banmuang. สืบค้นเมื่อ 2021-06-12.
- ↑ คัดลอกจากบทสัมภาษณ์ ของ สยม สังวริบุตร
- ↑ คลิปบทสัมภาษณ์ ของ สยม สังวริบุตร
- ↑ ช่อง 7 ส่ง "ฟ้าใหม่" ละครฟอร์มใหญ่ ลงจออีกครั้ง 6 ต.ค.นี้ ที่เว็บ เอเอสทีวีผู้จัดการ
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ช่อง 7 อย่างเป็นทางการ
- ศุภร บุนนาค. ฟ้าใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สามัญชน, 2534. 976 หน้า. ISBN 974-887-171-1