เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เป็นศิลปินชายชาวไทยอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ อดีตสมาชิกวุฒิสภา เป็นกวีรางวัลซีไรต์ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2536
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ | |
---|---|
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ | |
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 มีนาคม พ.ศ. 2483 อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี |
คู่สมรส | ประคองกูล พงษ์ไพบูลย์ |
บุตร | 2 คน |
อาชีพ | นักการเมือง, กวี, นักเขียน |
นามปากกา | เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ |
ประวัติ
แก้เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เกิดวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2483 ที่บ้านพนมทวน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรคนโตและเป็นผู้ชายคนเดียวในจำนวนพี่น้อง 5 คน บิดาชื่อนายฮกหรือสมบัติ พงษ์ไพบูลย์ มารดาชื่อนางสมใจ บิดาเคยเป็นหลงจู๊โรงฝิ่น เนาวรัตน์เรียนจบชั้นประถมปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดบ้านทวน และต่อชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด จากนั้นได้ศึกษาต่อชั้นเตรียมอุดมศึกษาที่โรงเรียนทวีธาภิเศก และจบปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2508
ครอบครัวของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ชอบการแต่งโคลงกลอน ชอบดนตรีไทย มารดาชอบอ่านวรรณคดี เขาจึงอ่านหนังสือได้ตั้งแต่อยู่ชั้นประถมปีที่ 1 เป่าขลุ่ยได้ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เขาเป็นคนช่างคิดช่างสังเกตมาตั้งแต่เด็กๆ ขณะที่เนาวรัตน์กำลังศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 3 ที่โรงเรียนวิสุทธรังษีอยู่นั้น เนาวรัตน์ได้พบโคลงสี่ที่บิดาเขียนไว้เมื่อยังหนุ่ม จึงเกิดแรงบันดาลใจเขียนโคลงส่งไปลงหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เขาเริ่มเขียนกลอนเมื่อชั้นมัธยมปีที่ 5-6 และเขียนจริงจังช่วงที่เรียนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ช่วงนั้นเขาไม่ค่อยได้เรียนหนังสือ เพราะชอบเอลวิส เพรสลีย์ เป็นชีวิตจิตใจ ไว้ผมทรงเดียวกับเอลวิส พกหนังสือ I.S. Song Hits กว่าจะเรียนจบปริญญาตรีที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงใช้เวลาถึง 7 ปี หลังจากเรียนจบแล้วไปบวชระหว่าง พ.ศ. 2511-12 หลังจากลาสิกขาแล้วได้ไปทำงานอยู่ในกองบรรณาธิการ นิตยสาร วิทยาสาร ของ ไทยวัฒนาพานิช เมื่อพ.ศ. 2514 เนาวรัตน์สมรสกับคุณประคองกูล อิศรางกูร ณ อยุธยา มีมีบุตรธิดา 2 คน คือ ประคำกรอง และ แก้วเก้า เนาวรัตน์เคยเป็นอาจารย์สอนวิชาการประพันธ์อย่างสร้างสรรค์ที่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
การทำงานในคณะสมัชชาปฏิรูปประเทศ
แก้นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ได้เข้ามามีบทบาททางการเมือง ภายหลังการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง พ.ศ. 2553 ยุติลง โดยเข้ามาทำหน้าที่เป็นคณะสมัชชาปฏิรูปประเทศ ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการ จำนวน 27 คน เพื่อรวบรวมข้อมูล รับฟังความคิดเห็น และไปสู่นโยบายในการปฏิรูปประเทศไทย [1]
ประวัติการศึกษา
แก้- ปริญญาตรี :นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศิลปศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วัฒนธรรมศึกษา) จากสหวิทยาลัยทราวดี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
- ปริญญาเอก : ศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมาศักดิ์ (ภาษาและวรรณคดีไทย) คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมาศักดิ์ (ภาษาไทย) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ประวัติการทำงาน
แก้- พ.ศ. 2508 รับราชการในกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ
- พ.ศ. 2510 - 2511 อุปสมบทและถือธุดงค์ไปสวนโมกข์ เพื่อศึกษาพระธรรมกับท่านพุทธทาสภิกขุ
- พ.ศ. 2511 - 2512 ประจำกองบรรณาธิการนิตยสาร วิทยสาร
- พ.ศ. 2513 แสดงภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่อง "พระอภัยมณี" ของสุนทรภู่ รับบทเป็น พระอภัย ของไชโยภาพยนตร์
- พ.ศ. 2514 - 2515 อาจารย์ประจำภาควิชาประพันธ์อย่างสร้างสรรค์
- พ.ศ. 2516 พนักงานฝ่ายการพนักงาน ธนาคารกรุงเทพ จำกัด
- พ.ศ. 2562 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา[2]
ผลงาน
แก้งานรวมเล่มร้อยกรอง
แก้- คำหยาด
- อาทิตย์ถึงจันทร์
- เพียงความเคลื่อนไหว (กวีนิพนธ์รางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2523)
- ชักม้าชมเมือง
- เพลงขลุ่ยเหนือทุ่งข้าว
- จารึก ร.ศ. 200
- กรุงเทพทวารวดี
- เพลงขลุ่ยผิว
- ประคำกรอง
- วารีดุริยางค์
- ตากรุ้งเรืองโพยม
- ข้างคลองคันนายาว 1
- ข้างคลองคันนายาว 2
- ก.ข.ขับขาน
- จ๊ะเอ๋
- ลุงเต่ากับลิ่งต้อยติ่ง
- คำทายลายแทง
- รักใคร่ไยดี
- แว่วไหวในสายลม
- ขับไม้มโหรี
- เหมือนข่าวความรักจักมา
- มุมมอง
- น้ำใสไม้สวย
- เขียนแผ่นดิน
- ที่นี่ขัดข้องหนอ
- ดาบที่หมกอยู่ในจีวร
- ดังนั้นฉันจึงเขียน
- แผ่วผ่านธารน้ำไหล
- เจ้าประคุณเอ๋ย (พ.ศ. 2532)
- นกขมิ้น
- หยุดสักนิด คิดสักหน่อย หมุดหมายที่ 1
- หนึ่งได้แรงใจ
- ความคิดในดอกบัว (พ.ศ. 2532)
ผลงานแปลที่เขียนกับนักเขียนอื่น
แก้- คัมภีร์คุณธรรม กับ สมเกียรติ สุขโข
- สองตะเกียง กับ ล. เสถียรสุต
- ห่วงอาหาร กับ สมเกียรติ สุขโข และ สโรชา
- ก.ข.ขับขาน กับวีระศักดิ์ ขุขันธิน
- ๖ ตุลามหากาพย์ กับ กลุ่มกวีร่วมสมัย
- วันฆ่านกพิราบ กับ มหาสมภาร พรหมทา
งานเพลง
แก้- อัลบั้ม เพลงแผ่นดิน จาก 3 คีตกานต์กวี ร่วมกับ พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ และ ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี
- เพลงมหาชัย ทำนอง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต / บทร้อง : เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
- "เพลงใบไม้ร่วง" เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ได้ประพันธ์บทร้อง ในโอกาส งานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทำนอง : ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ดนตรี : สถาพร นิยมทอง ขับร้อง : ธนพร แวกประยูร (ปาน)
สารคดีกวีนิพนธ์
แก้- เขียนแผ่นดิน
- เขียนแผ่นดินสุวรรณภูมิลาว
- เขียนแผ่นดินสุวรรณภูมิเวียดนาม
รางวัล
แก้รางวัลที่ได้รับ
แก้- รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์)
- ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์
- รางวัลศรีบูรพา
- พระเกี้ยวทองคำ
- รางวัลอัศนี พลจันทร
ผลงานที่ได้รับรางวัล
แก้- พ.ศ. 2516 บทกวี "อาทิตย์ถึงจันทร์" ได้รับรางวัลชมเชยพิเศษ วรรณกรรมของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- พ.ศ. 2521 บทกวี "ชักไม้ชนเมือง" ได้รับรางวัลดีเด่นจากงานสัปดาห์หนังสือ
- พ.ศ. 2523 บทกวี "เพียงความเคลื่อนไหว" ได้รับรางวัลซีไรท์
- พ.ศ. 2537 บทกวี "เพลงขลุ่ยผิว" ได้รับรางวัลดีเด่นจากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ
- พ.ศ. 2527 บทกวี "ก.ข.ขับขัน" ได้รับรางวัลดีเด่นจากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ แต่งร่วมกับ วีระศักดิ์ ขุขันธิน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2565 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[3]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[4]
- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ "เปิดรายชื่อกรรมการ-สมัชชาปฏิรูปประเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-27. สืบค้นเมื่อ 2010-07-09.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๕, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘