เพียงความเคลื่อนไหว
เพียงความเคลื่อนไหวเป็นกวีนิพนธ์ของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ตีพิมพ์ในนิตยสารต่าง ๆ ในช่วงปี พ.ศ. 2516 - 2522 และพิมพ์รวมเล่มครั้งแรก พ.ศ. 2517 เนื้อหากล่าวถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ซึ่งขบวนการนักศึกษาประชาชนได้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ และขยายตัวเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อความเป็นธรรมด้านต่าง ๆ ของสังคม เนาวรัตน์ได้เขียนบทกวีสนับสนุนการต่อสู้ครั้งนั้น ใจความตอนหนึ่งว่า
การเกิดต้องเจ็บปวด | ต้องร้าวรวดและทรมา | |
ในสายฝนมีสายฟ้า | ในผาทึบมีถ้ำทอง |
มาเถิดมาทุกข์ยาก | มาบั่นบากกับเพื่อนพ้อง | |
อย่าหวังเลยรังรอง | จะเรืองไรในชีพนี้ |
ก้าวแรกที่เราย่าง | จะสร้างทางในทุกที่ | |
ป่าเถื่อนในปฐพี | ยังมีไว้รอให้เดิน | |
— เพียงความเคลื่อนไหว, หน้า 108-109 |
ลักษณะเด่น
แก้งานเนาวรัตน์มีลักษณะเด่นเฉพาะตัวในข้อที่ว่า เขาสามารถถ่ายทอดความคิดและความรู้สึกออกมาอย่างนุ่มนวลดังนั้น เนาวรัตน์จึงมิได้เขียนบทกวีการเมืองจากทฤษฎีหรือตรรกะ แต่เริ่มต้นจากความรู้สึกลึกซึ้งต่อเหตุการณ์ทั้งหลาย ที่ระเบิดออกมาจากภายใน ในเพียงความเคลื่อนไหว เนาวรัตน์ระบายความรู้สึกของเขาออกมาจากความกดดันของเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ว่า
ชั่วเหยี่ยวกระหยับปีกกลางเปลวแดด | ร้อนที่แผดก็ผ่อนเพลาพระเวหา | |
พอใบไม้ไหวพลิกริกริกมา | ก็รู้ว่าวันนี้มีลมวก |
จาก ลมวก นี้ เนาวรัตน์นำคลี่คลายเหตุการณ์ตอนจบบทกวี เพียงความเคลื่อนไหว ว่า
พอเสียงร่ำรัวกลองประกาศกล้า | ก็รู้ว่าวันพระมาอีกหน | |
พอปืนเปรี้ยงแปลบไปในมณฑล | ก็รู้ว่าประชาชนจะชิงชัย | |
— หน้า 55 |
ภาพ เหยี่ยวกระหยับปีกกลางเปลวแดด ในวรรคแรกนั้นเป็นประสบการณ์จริง ของเนาวรัตน์ ขณะที่เขาอยู่ภาคใต้ ซึ่งเขาคิดวรรคอันทรงพลังนี้ขึ้นมา แต่ยังไม่รู้ว่าเหตุการณ์นี้ควรนำไปเปรียบกับอะไร จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม จึงรู้ว่าถึงเวลาของ ลมวกแล้ว นี่คือประสบการณ์ของกวีที่มีความหมายต่อการสร้างสรรค์งานของเขา
จากผลงาน เพียงความเคลื่อนไหว ทำให้เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ได้รับรางวัลซีไรท์ ในปี พ.ศ. 2523 คณะกรรมการตัดสินในปีนั้นกล่าวว่า
ความสามารถในการใช้รูปแบบกวีนิพนธ์ของเขานั้น เป็นที่ยอมรับอยู่แล้ว เขาเป็นศิลปินผู้เชี่ยวชาญทั้งในด้านฉันทลักษณ์ตามแบบแผน และทั้งด้านเพลงพื้นบ้านถึงขนาดที่เรียกว่า ในเพลงกล่อมเด็ก เนาวรัตน์ก็อาจสอดสาระทางการเมือง และสังคมที่ร้อนแรงได้
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
...