ดนุพร ปุณณกันต์ ชื่อเล่น บรู๊ค (เกิด 3 กันยายน พ.ศ. 2514) อดีตนักแสดง พิธีกรชาวไทยสังกัดสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ[1] โฆษกพรรคเพื่อไทย[2] กรรมการผู้จัดการบริษัททูทเวนตี้ทรี จำกัด เป็นอดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีใน ครม.ทักษิณ 2 อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ดนุพร ปุณณกันต์
ดนุพร พ.ศ. 2566
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
โฆษกพรรคเพื่อไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
27 ตุลาคม พ.ศ. 2566
ก่อนหน้าลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
เขตเลือกตั้งเขต 7
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 กันยายน พ.ศ. 2514 (52 ปี)
สหรัฐ
พรรคการเมืองไทยรักไทย (จนถึง 2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
คู่สมรสสุวนันท์ คงยิ่ง (สมรส 2552)
บุตร2 คน
บุพการี
  • เหลือพร ปุณณกันต์ (บิดา)
  • ดาริกา ปุณณกันต์ (มารดา)
ญาติพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ (พี่ชาย)
ศิษย์เก่าโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ร.บ.; ร.ม.)
มหาวิทยาลัยแอนติออก
มหาวิทยาลัยซีแอตเติล (ศ.ม.)
อาชีพนักการเมือง นักแสดง พิธีกร นักธุรกิจ
ชื่อเล่นบรู๊ค
อาชีพแสดง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2541–2548
ผลงานเด่นอนาวิล (ต้นตาล) - ลูกตาลลอยแก้ว (2541)
คาวี - สวรรค์เบี่ยง (2541)
เจ้าศุขวงศ์ (เจ้าน้อย) - รากนครา (2543)
รุทร/วาทิต - เงาใจ (2544)
คุณภาคย์ - ดาวพระศุกร์ (2545)
ดามพ์ ดัสกร - 7 พระกาฬ (2547)
สังกัดสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (2541–2548)

ประวัติ

นายดนุพร ปุณณกันต์ มีชื่อเล่นว่า บรู๊ค เกิดเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2514 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา[3] เป็นบุตรของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เหลือพร และนางดาริกา ปุณณกันต์ เป็นหลานชายของ พลเอกพงษ์ ปุณณกันต์ อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง นอกจากนี้นายดนุพรยังเป็นน้องชายของ พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคพลังประชารัฐ และในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2552 นายดนุพรได้เข้าพิธีสมรสกับ นางสาวสุวนันท์ คงยิ่ง (กบ) หลังจากที่คบหาดูใจกันมานานกว่า 10 ปี และปัจจุบันมีบุตรสาวด้วยกัน 1 คน คือ ณดา - ปุณณดา ปุณณกันต์ คลอดเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2554 ที่โรงพยาบาลสมิติเวช เวลา 8 โมงเช้า ด้วยน้ำหนักตัว 3020 กรัม และล่าสุด สุวนันท์ได้ให้กำเนิดบุตรคนที่2 เป็นเพศชายให้ชื่อว่า "น้องปุญณดล ปุณณกันต์" ที่โรงพยาบาลสมิติเวช เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2557 ด้วยน้ำหนักตัว 2,805 กรัม โดยปุญณดล มีความหมายว่า "ผู้ที่เกิดจากบุญ

นายดนุพร จบการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จบมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จบปริญญาตรี และปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์สาขาการปกครอง จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง จบปริญญาตรีใบที่ 2 จากมหาวิทยาลัยแอนติออก เมืองซีแอตเติล และจบปริญญาโทใบที่ 2 สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยซีแอตเติล

วงการบันเทิง

เป็นนักแสดงในสังกัดสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ตั้งแต่ปี 2541 - 2548 (เป็นเวลา 8 ปี) ละครเรื่องแรก ลูกตาลลอยแก้ว ปี พ.ศ. 2541 แล้วเรื่องสุดท้ายทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 คือเรื่อง พยัคฆ์ร้ายหัวใจจิ๋ว ปี พ.ศ. 2548 ปัจจุบันไม่ได้เป็นนักแสดง และหันมุ่งทางนักการเมืองอย่างเต็มตัว

งานการเมือง

นายดนุพร เริ่มงานการเมืองด้วยการเข้าสังกัดพรรคไทยรักไทย ซึ่งเป็นการทำงานการเมืองคนละขั้วกับพี่ชาย (นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์) แต่ก็ยังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นตำแหน่งแรกในทางการเมือง ต่อมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2548 ในเขตสาธรและยานนาวา กรุงเทพมหานคร แต่ไม่ได้รับเลือก โดยแพ้ให้กับ กรณ์ จาติกวณิช ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

การเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 ซึ่งพรรคร่วมฝ่ายค้าน (พรรคประชาธิปัตย์, พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน) ได้ประกาศบอยคอตไม่ลงเลือกตั้ง โดยนายดนุพรได้รับเลือกด้วยคะแนนมากกว่าร้อยละ 20 แต่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ และกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549 แต่ต้องยกเลิกไปเนื่องจากเกิดการรัฐประหาร

ภายหลังจากการยุบพรรคไทยรักไทย นายดนุพร ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งใน เขต 7 กรุงเทพมหานคร (บางกะปิ, สะพานสูง, มีนบุรี และลาดกระบัง) ในนามพรรคพลังประชาชน และได้รับเลือกเป็นอันดับที่ 1 ของเขตเลือกตั้ง นอกจากนี้นายดนุพรยังได้ดำรงตำแหน่งโฆษกคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎรอีกด้วย

ต่อมาเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยให้ยุบพรรคพลังประชาชน ร่วมกับพรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคชาติไทย และตัดสิทธิ์ทางการเมืองของคณะกรรมการบริหารพรรคคนละ 5 ปี รวม 109 คน (พรรคพลังประชาชน 37 คน,พรรคมัชฌิมาธิปไตย 29 คน และพรรคชาติไทย 43 คน) นายดนุพร จึงย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย และยังได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่โฆษกคณะทำงานเตรียมการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านอีกด้วย

และในการเลือกตั้งปี 2554 นี้ นายดนุพร ได้ย้ายมาลงสมัครในแบบบัญชีรายชื่อ อันดับที่ 62 ของพรรคเพื่อไทย[4] โดยไม่ได้รับเลือก แต่เนื่องจากนายบัณฑูร สุภัควณิช ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เนื่องจากไปเป็นข้าราชการการเมือง เลยส่งผลให้นายดนุพร ได้รับการเลื่อนขึ้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคเพื่อไทย[5] ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนี้นายดนุพร ได้หาเสียงเพื่อช่วยผู้สมัครพรรคเพื่อไทย เรียกร้องว่าถ้าพรรคเพื่อไทยได้เสียงลำดับ 1 แล้วไม่ได้จัดตั้งรัฐบาล ขอให้ลุกขึ้นมาสวมเสื้อแดงแล้วไปราชประสงค์กันอีกรอบ และเรียกร้องว่าทำไมกรณี 91 ศพ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะจึงไม่รับผิดชอบ[6]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 87[7] และในการเลือกตั้งอีกเก้าปีต่อมา เขาสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อสังกัดพรรคเดิม ในลำดับที่ 25[8] และได้รับการเลือกตั้ง นอกจากนี้เขายังได้รับมอบหมายเป็นประธานคณะกรรมการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครของพรรคอีกด้วย[9] เดือนตุลาคมปีเดียวกันที่ประชุมพรรคเพื่อไทยได้มีมติเลือกเขาเป็นโฆษกพรรค[10]

ทางการเมือง

  • รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รัฐบาลทักษิณ 2) (15 มีนาคม 2548 - 19 กันยายน 2549)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (2551 - 2554)
  • โฆษกคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร (2551 - 2554)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ (2554 - 22 พฤษภาคม 2557)
  • โฆษกคณะกรรมาธิการการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและยาเสพติด สภาผู้แทนราษฎร (5 ตุลาคม 2554 - 22 พฤษภาคม 2557)

ผลงานแสดง

ละครโทรทัศน์

พ.ศ. ละคร รับบท หมายเหตุ
2541 ลูกตาลลอยแก้ว อนาวิล รัชชานนท์ (ต้นตาล)
อีสา-รวีช่วงโชติ หม่อมราชวงศ์รวีช่วงโชติ รวีวาร
สวรรค์เบี่ยง คาวี วรวัฒน์
2542 ตั้งไข่ล้ม พรหมไม่ลิขิต แตงโม/จักรินทร์ รับบทฝาแฝด
2543 รากนครา ศุขวงศ์ (เจ้าน้อย) เจ้าราชภาติยะแห่งเชียงคำ
หัวใจสองภาค เสี่ยชัค
2544 เงาใจ รุทร / วาทิต รับบทฝาแฝด
2545 คำมั่นสัญญา สาริน
บอดี้การ์ดสาว กฤต เดชโชดม
นางมาร ภาคม
ดาวพระศุกร์ ภาคย์
2546 เหยี่ยวสาวมือใหม่ รดิษ
พรพรหมอลเวง นายแพทย์ปฐวี โภควัฒน์
2547 สะใภ้ซ่าส์ แม่ย่าเฮี้ยน ดลวีร์ ศิริรุ่งโรจน์
หลังคาแดง ทองดี
ฟ้าใหม่ เจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ
7 พระกาฬ ดามพ์ ดัสกร
กลับบ้านเรานะ..รักรออยู่ เขตรัฐ
2548 พยัคฆ์ร้ายหัวใจจิ๋ว ปกป้อง
2562 ไดมอนด์ อายส์ ตา-สัมผัส-ผี 2 (DIAMOND EYES) พ.ต.ท.แดเนี่ยล ซาโต้

ผลงานพิธีกร

  • รายการ I-STYLE
  • รายการเวลาพารวย (พ.ศ. 2543)
  • รายการทำจริงไม่จน (พ.ศ. 2549 - 2550)
  • รายการ 07 โชว์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ
  2. 'จารุพงษ์'ผงาดนั่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[ลิงก์เสีย]
  3. ประวัติ ดนุพร ปุณณกันต์จากไทยรัฐ
  4. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  5. 2 ดารา พท. เตรียมขึ้น ส.ส. หลัง "ชัจจ์-บัณฑูร" ลาออก[ลิงก์เสีย]
  6. "นายดนุพร ได้หาเสียงเพื่อช่วยผู้สมัครพรรคเพื่อไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-30. สืบค้นเมื่อ 2011-06-25.
  7. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  8. "เลือกตั้ง 2566 : เปิดลำดับบัญชีรายชื่อ 100 คน "พรรคเพื่อไทย"". pptvhd36.com.
  9. "33ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม.เพื่อไทยพบสื่อเครือเนชั่น-ชี้คว้าเกิน20ที่นั่ง". bangkokbiznews. 2023-03-28.
  10. มติเพื่อไทย เลือก "แพทองธาร" หัวหน้าพรรคคนใหม่
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกนะและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๗๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒

แหล่งข้อมูลอื่น