โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา

โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร

โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา (อังกฤษ: Kasetsart University Laboratory School Center for Educational Research and Development) เป็นโรงเรียนสหศึกษาให้การศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นห้องปฏิบัติการฝึกหัดครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
Kasetsart University Laboratory School Center for Educational Research and Development
ที่ตั้ง
แผนที่
พิกัด13°51′4.9″N 100°34′1.16″E / 13.851361°N 100.5669889°E / 13.851361; 100.5669889
ข้อมูล
ชื่ออื่นสาธิตเกษตร / สธ.มก. / KUS
ประเภทโรงเรียนสาธิต
คำขวัญรอบรู้ สู้ชีวิต จิตมั่นคง ดำรงคุณธรรม
ศาสนาพุทธ
สถาปนา22 เมษายน พ.ศ. 2514 (53 ปี)
หน่วยงานทางการศึกษากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ผู้อำนวยการผกามาศ นันทจีวรวัฒน์
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 6
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนไทย อังกฤษ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส
สี  สีม่วง
เพลงเพลงสาธิต ม.ก.
ต้นไม้กระพี้จั่น
เว็บไซต์www.kus.ku.ac.th

ประวัติ

แก้

โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2514 ซึ่งเป็นวันที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ องค์อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีหนังสือถึงกระทรวงศึกษาธิการ แจ้งว่า คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พร้อมที่จะดำเนินการก่อตั้งโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โดยมี ศ.ดร.อุบล เรียงสุวรรณ ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรกของโรงเรียน มีคณาจารย์จำนวนหนึ่งซึ่งย้ายโอน มาจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกระทรวงศึกษาธิการ มาดำเนินงานร่วมกับคณาจารย์ของคณะศึกษาศาสตร์ที่มีอยู่ส่วนหนึ่งแล้ว และรับสมัครอาจารย์ใหม่รุ่นแรกอีกส่วนหนึ่งจำนวน 37 คน ปัจจุบันโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีสถานภาพเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาโดยมีฐานะเทียบเท่าภาควิชาใน คณะศึกษาศาสตร์

อาคารและสถานที่

แก้

อาคารภายในโรงเรียน

แก้
 
อาคาร 1 ก่อนการปรับปรุงจุดรับส่งนักเรียนหน้าอาคารในปี พ.ศ. 2567
 
อาคาร 5 และอาคารเฉลิมพระเกียรติฯ ถ่ายจากสนามฟุตบอลฝั่งสนามบาสเกตบอล
 
อาคารอุบล เรียงสุวรรณ
 
อาคารส่งเสริมพลานามัยและการกีฬาและหอนาฬิกาโรงเรียน
 
สวนมิตรสัมพันธ์
อาคาร ห้องภายในอาคาร
อาคาร 1
  • ห้องเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4
  • งานบริหาร
  • งานประชาสัมพันธ์
  • สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • งานธุรการประถมศึกษา
อาคาร 2
  • ห้องเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
  • โครงการส่งเสริมวัฒนธรรมและกิจกรรมนักเรียน
  • งานการเงิน
อาคาร 3
  • ห้องเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
  • งานฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
อาคาร 4
  • โครงการศึกษานานาชาติ (ไอพี)
อาคาร 5
  • ห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6
  • งานศึกษาเด็กมัธยมศึกษา
  • งานแนะแนว
  • ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการภาษาต่างประเทศ
  • ห้องพยาบาล
อาคาร 6
  • ห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
  • งานวิชาการมัธยมศึกษา
  • ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  • ห้องปฏิบัติการภาษาไทย
อาคาร 7
  • ห้องเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2
  • งานศึกษาเด็กประถมศึกษา
  • ห้องดนตรีไทย
  • ห้องพยาบาล
อาคารอุบล เรียงสุวรรณ
  • ห้องประชุม
  • ห้องสมุด
  • ห้องเกียรติยศ
  • สนามหญ้าเทียม
อาคารทะเบียนและประมวลผล
  • งานทะเบียนและประมวลผล
อาคาร ฮิโก-ไทย
  • ศูนย์ปฏิบัติการภาษาญี่ปุ่น
อาคารคณะศึกษาศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา
  • ห้องโภชนาการประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
  • สหกรณ์ทดลอง โรงเรียนสาธิตเกษตรฯ
  • ศูนย์เรียนรู้ Innovation Center (โครงการการศึกษานานาชาติ)
  • หอประชุมจงรักษ์ ไกรนาม
  • ห้อง ญสส.
  • ห้องกิจกรรม
  • งานอาคาร สถานที่ และสาธารณูปโภค
  • งานยานพาหนะ
  • งานพัสดุ
อาคารส่งเสริมพลานามัยและการกีฬา
  • ห้องพักอาจารย์สุขศึกษาและพลศึกษา
  • ห้องปฏิบัติการพัฒนาสมรรถภาพ
  • ห้องยืดหยุ่น
  • ห้องเทควันโด
  • ห้องเทเบิลเทนนิส
  • สระว่ายน้ำ
  • สนามแบดมินตัน
  • สนามวอลเลย์บอล
อาคารฝึกงาน
  • ห้องปฏิบัติการงานช่าง
    • ห้องปฏิบัติการไฟฟ้า
    • ห้องเขียนแบบ
  • ห้องปฏิบัติการงานบ้าน
  • ห้องปฏิบัติการศิลปะ
อาคารเกษตร
  • ห้องปฏิบัติการงานเกษตร
  • ห้องดนตรี

สถานที่ในโรงเรียน

แก้
  • สนามกีฬา: ประกอบด้วยสนามเทนนิส สนามบาสเกตบอล สนามเปตอง สนามเซปักตะกร้อ และสนามฟุตบอล
  • สวนมิตรสัมพันธ์: ตั้งอยู่ระหว่างอาคาร 5 และ 6 สร้างขึ้นเพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์กับโรงเรียนพี่น้องในประเทศญี่ปุ่น (อุบุยามา) เป็นที่ตั้งของศาลาสหมิตรสาธิตเกษตร บ่อน้ำญี่ปุ่น และเป็นสถานที่ปลูกพืชตามโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน[1]
  • สวนวรรณคดีและสวนสมุนไพร: ตั้งอยู่บริเวณอาคาร 5 และหลังอาคารอุบล เรียงสุวรรณ เป็นสถานที่ปลูกพืชตามโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน

แก้
ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
ลำดับที่ นามของผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1
ศาสตราจารย์ ดร.อุบล เรียงสุวรรณ พ.ศ. 2514 - 2518
2
รองศาสตราจารย์สุภากร ราชากรกิจ พ.ศ. 2518 - 2519
3
รองศาสตราจารย์ ดร.องค์การ อินทรัมพรรย์ พ.ศ. 2519 - 2523
4
รองศาสตราจารย์ ดร.จงรักษ์ ไกรนาม พ.ศ. 2523 - 2524 และ พ.ศ. 2526 - 2542
5
รองศาสตราจารย์มัลลิกา ตัณฑนันทน์ พ.ศ. 2524 - 2526
6
รองศาสตราจารย์เกื้อกูล ทาสิทธิ์ พ.ศ. 2542 - 2549
7
รองศาสตราจารย์ ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ พ.ศ. 2549 - 2553
8
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิธร จ่างภากร พ.ศ. 2553 - 2561
9
ดร.ผกามาศ นันทจีวรวัฒน์ พ.ศ. 2561- ปัจจุบัน

หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น

หลักสูตรที่เปิดสอน

แก้

การศึกษาภาคปกติ

แก้

โครงการการศึกษานานาชาติ

แก้

โครงการการศึกษานานาชาติ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2537 จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษในทุกวิชาโดยอาจารย์เจ้าของภาษาทั้งนี้กำหนดให้ นักเรียนทุกคนต้องเรียนวิชาภาษาไทย วัฒนธรรมไทยกับอาจารย์คนไทย ร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรส่งเสริมคุณค่าความเป็นไทยร่วมกับนักเรียนหลักสูตรปกติอย่างสม่ำเสมอ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 การบริหารงานและการรับนักเรียนแยกจากหลักสูตรปกติ สถานที่เรียนตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน)

โครงการการศึกษาพหุภาษา

แก้

เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2544 จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคลและขยายโอกาสทาง การศึกษาไปยังภาคตะวันออกของประเทศ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี เน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้ และฝึกทักษะภาษาต่างประเทศกับอาจารย์เจ้าของภาษา โดยเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และภาษาจีนหรือญี่ปุ่นตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 การบริหารและการรับนักเรียน แยกจากหลักสูตรปกติ สถานที่ตั้งอยู่ในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ต.คลองตำหรุ อ.เมือง จ.ชลบุรี ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 80 กิโลเมตร

การจัดการเรียนรู้

แก้

ด้านวิชาการ

แก้

โรงเรียน สาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาจัดการเรียนรู้ตั้งแต่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภายใต้กรอบของหลักสูตรที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้ แต่ปรับรายละเอียดบางส่วนให้เป็น หลักสูตรท้องถิ่นที่ทันสมัยเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและความต้องการของประชาคมของโรงเรียน เช่น การจัดกิจกรรมสนทนาภาษาอังกฤษในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 และเริ่มเรียนภาษาอังกฤษในชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีชั่วโมงสนทนาภาษาอังกฤษกับอาจารย์เจ้าของภาษาโดยตรงส่งเสริมให้นัก เรียนเลือกเรียนอย่างหลากหลายตามความถนัดและความสนใจพร้อมทั้งจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อเพิ่มพูนทักษะความสามารถและ ประสบการณ์อย่างระบบต่อเนื่องสอดคล้องกัน เช่นกิจกรรมศึกษานอกสถานที่การเชิญวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น การประกวดแข่งขันทางวิชาการในกลุ่มสามารถการเรียนรู้ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน การจัดนิทรรศการ ฯลฯ

นอกเหนือจากการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาต่าง ๆ แล้วโรงเรียนยังมีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้วยการจัดโครงการและกิจกรรมที่หลากหลาย ตามบริบทของโรงเรียน เพื่อส่งเสริมศักยภาพและพัฒนานักเรียนด้วยการดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิดจากอาจารย์ประจำชั้น และอาจารย์ที่ปรึกษา

  • กิจกรรมสนทนายามเช้า
  • กิจกรรมพัฒนาตน
  • โครงการส่งเสริมความถนัด ความสามารถ และความสนใจพิเศษ
  • โครงการพัฒนากีฬา
  • โครงการพัฒนาดนตรีและนาฏศิลป์
  • โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
  • โครงการค่ายจริยธรรมสาธิตเกษตร
  • โครงการกิจกรรมเพื่อส่วนรวมในรูปแบบต่างๆ เช่น
    • ชมรมอินเตอร์แรคท์
    • ชมรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
    • ชมรมถ่ายภาพสาธิตเกษตร
    • ชมรมภาพยนตร์
    • ชมรมวิชาการนักเรียนสาธิตเกษตร
    • ชมรมเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์
    • ชมรมพัฒนาความเป็นผู้นำสาธิตเกษตร ฯลฯ
  • โครงการค่ายพักแรม
  • โครงการแลกเปลี่ยนทางการศึกษา วัฒนธรรม และการกีฬากับต่างประเทศ ในประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ รวม 8 โครงการ
  • โครงการเรียนภาษาอังกฤษแบบเข้มในประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และจีน รวม 4 โครงการ ฯลฯ

ด้วยนโยบายของโรงเรียนที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้น นอกจากจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียน ปกติทั่วไปแล้ว โรงเรียนยังคำนึงถึงนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษให้มีโอกาสได้พัฒนาเต็มตาม ศักยภาพโรงเรียนจึงได้จัดหลักสูตรการศึกษาพิเศษแก่นักเรียนที่มีภาวะสมาธิ สั้น บกพร่องทางการเรียนรู้ มีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ ภาวะออทิซึม

ความร่วมมือทางวิชาการ

แก้

นอกจากการจัดการเรียนการสอนให้แก่นักเรียน และการฝึกปฏิบัติงานครูแก่นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ แล้ว โรงเรียนยังได้จัด โครงการความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันภายในประเทศหลายโครงการ เช่นโครงการความร่วมมือทางวิชาการกับโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โรงเรียนสังกัดเทศบาลจังหวัดแพร่ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดสกลนคร ฯลฯ ตลอดจนการให้บริการการฝึกอบรมและการศึกษาดูงาน แก่ผู้มาเยี่ยมชม จากสถาบันทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งการให้ความร่วมมือในการจัดวิทยากรถ่ายทอดความรู้ แก่หน่วยงานต่างๆ

นอกจากนี้โรงเรียนยังจัดการศึกษาที่สนองต่อนโยบายของรัฐ ที่มุ่งสู่ความเป็นสากลใน ยุคโลกาภิวัตน์ด้วยการขยายโอกาสในการพัฒนาความสามารถของเด็กไทย เพื่อใช้ภาษาต่างประเทศให้ทันกับสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตตามความเหมาะสม กับโรงเรียน คือการจัดการศึกษาโครงการการศึกษานาชาติ และโครงการการศึกษาพหุภาษา

ด้านกีฬา

แก้

1 แชร์บาส ชนิดกีฬาใหม่ที่ผสมผสานระหว่างกีฬาแชร์บอลและบาสเกตบอล ประมาณปีการศึกษา 2519 ซึ่งเป็นโรงเรียนแรกที่คิดค้น เพื่อใช้ในการเรียนการสอนและจัดกีฬาสี ให้มีความเหมาะสมกับชั้นประถมศึกษา

2 มหกรรมมินิรักบี้นานาชาติ เป็นโรงเรียนแรกๆ ที่จัดรักบี้ รุ่นอายุตั้งแต่ 6-13 ปี มีการเชิญชาติใกล้เคียง เช่น ฮ่องกง ญี่ปุ่น ศรีลังกา เป็นต้น และโรงเรียนในกรุงเทพ ปริมณฑล โรงเรียนนานาชาติในประเทศ มาร่วมแข่งขัน และเป็นโรงเรียนแรกที่มอบเหรียญทองที่ระลึกให้กับนักกีฬาทุกทีมและทุกคน ในการเข้าร่วมการแข่งขัน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2530 จนถึงปัจจุบัน

3 รักบี้ยุวชนและเยาวชน รุ่น 14,16 และ 18 ปี เป็นหน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่งและแห่งแรกที่ช่วยสมาคมรักบี้ฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในการจัดแข่งขันรักบี้ฟุตบอล รุ่นอายุดังกล่าว มาตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2536 ใช้สนามฟุตบอลและรักบี้ของโรงเรียนเป็นสถานที่จัดแข่งขัน

4 งานพัฒนากีฬา มีลักษณะโครงสร้างและระบบงานที่ช่วยให้การดำเนินงานกีฬามีความคล่องตัวในการทำงาน ประกอบด้วย ประธานงานพัฒนากีฬา คณะกรรมการ ผู้จัดการทีม สวัสดิการทีม อย่างน้อยกีฬา ๑๘ ชนิด มีการดำเนินงานคือ หานักกีฬา ฝึกซ้อม ประลอง แข่งขัน และมอบเกียรติยศ ความภาคภูมิใจ ให้นักกีฬาตามคุณสมบัติของผลงานที่กำหนด

โครงการเติมเติมศักยภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ

แก้

โครงการรับผู้ป่วยโรคออทิซึม

แก้

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2533 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ได้รับ บุคคลที่ป่วยเป็นโรคออทิซึม เข้าศึกษาที่ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นปีแรก โดยรับจากบุคคลที่ได้รับการประเมินจาก ผู้อำนวยการโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ ในขณะนั้น ได้แก่ ศาสตราจารย์ เพ็ญแข ลิ่มศิลา ซึ่งทั้งหมดใช้ภาษาไทยในการเรียนการสอนในการร่วมชั้นเรียน และทำการเรียนการสอนจนนักเรียนที่ป่วยเป็นโรคออทิซึม จบการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นรุ่นแรก ใน เดือน มีนาคม พ.ศ. 2545 โดยนักเรียนที่ป่วยเป็นโรคออทิซึม จบการศึกษาพร้อมเพื่อนโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา รุ่นที่ 27

ในเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2562 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ได้จัดการเรียนการสอนให้บุคคลที่ป่วยเป็นโรคออทิซึม เป็นรุ่นที่ 30 ตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษา มีนักเรียนส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถเรียนจบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 บางรายแม้เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่หก แต่ก็เป็น คนเสมือนไร้ความสามารถ

บุตร และ บุตรี ที่ป่วยเป็นโรคออทิซึม ของบุคคลที่มีชื่อเสียงได้เข้าเรียนที่ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา อาทิ บุตร อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ บุตรี ทนง พิทยะ

ยกเว้น คุณ พุ่ม เจนเซน ที่ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไม่สามารถใช้ภาษาไทยในการเรียนการสอนได้ จึงจัดโปรแกรมให้เรียนในชั้นเรียนที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ โดย คุณ พุ่ม เจนเซน ไม่ได้เรียนที่โรงเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

รางวัลดีเด่นของโรงเรียน

แก้
  • เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2541 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ผศ.ดร.จงรักษ์ ไกรนาม (ตำแหน่งในขณะนั้น) เป็นตัวแทนรับ รางวัลดีเด่นทางวิชาการ ประจำปี 2541 ประเภทโครงการเนื่องในวันคนพิการสากล จาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย
  • เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554 ผศ.ดร.ศศิธร จ่างภาธร อาจารย์ใหญ่เป็นตัวแทนเข้ารับพระราชทาน รางวัลบัณณาสสมโภช จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา (ครั้งที่ 1)
  • เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2558 ผศ.ดร.ศศิธร จ่างภากร อาจารย์ใหญ่เป็นตัวแทนเข้ารับพระราชทาน รางวัลบัณณาสสมโภช จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต (ครั้งที่ 2)

บุคคลที่มีชื่อเสียง

แก้

บุคลากรที่มีชื่อเสียง

แก้
  • รศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ ภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสภา
  • รศ.ดร.สุชาวดี เกษมณี ผู้ร่วมเขียนหนังสือวรรณสารวิจักษณ์ ตำราเรียนภาษาไทยมัธยมศึกษาตอนปลาย

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

แก้

ราชสกุลวงศ์

แก้

นักการเมือง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูง

แก้

นักวิชาการ

แก้

นักธุรกิจ

แก้
  • ขัตติยา อินทรวิชัย (รุ่นที่ 8) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย
  • ดร.เจน ชาญณรงค์ (รุ่นที่ 9) อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ เอสจีเอแอร์ไลน์
  • ดร.โชค บูลกุล กรรมการผู้จัดการกลุ่มบริษัทฟาร์มโชคชัย
  • ดร.เฉลิมรัฐ นาควิเชียร ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ NetDesign Group
  • ฐิติพงศ์ พิสิฐวุฒินันท์ (รุ่นที่ 30) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ SkillLane
  • ญาดา ปิยะจอมขวัญ (รุ่นที่ 35) ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ Ajaib
  • ธันว์ วุฒิธรรม (รุ่นที่ 37) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ชูโอ เซ็นโก (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
  • ยศสุดา ลีลาปัญญาเลิศ (รุ่นที่ 42) พนักงานบริษัท ซิตี้มอลล์ กรุ๊ป จำกัด ตำแหน่ง Sectional Marketing Manager บุตรีสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์

สื่อมวลชน

แก้
  • จรณชัย ศัลยพงษ์ (รุ่นที่ 1) ผู้ประกาศข่าว
  • สรานี สงวนเรือง (รุ่นที่ 34) พิธีกร บล็อกเกอร์ เจ้าของเพจ LDA (Ladies of Digital Age)

นักเคลื่อนไหว

แก้

นักแสดง นักดนตรี และวงการบันเทิง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "garden1". Botany@KUS (ภาษาอังกฤษ).
  2. เปิดใจ "การ์ตูน"นักกิจกรรมจากรั้วจามจุรี คนไทยทุกคนควรมีสิทธิ์กำหนดอนาคตประเทศ

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • หนังสือ "30 ปี สาธิตเกษตร" กรุงเทพ :สำนักพิมพ์ พลสยาม พริ้นติ้ง (ประเทศไทย ),ตุลาคม 2544
  • หนังสือ "สาธิตเกษตร 40 ปี ทำดีเพื่อสังคม" กรุงเทพ :บริษัท สยามพริ้นท์ จำกัด, เมษายน 2555
  • บันทึกประจำวัน"สวัสดีปีใหม่ 2554 40 ปีสาธิตเกษตร" บริษัท สยามสปอร์ตซินดิเคท จำกัด (มหาชน),2554
  • หนังสือ "ภูมิปัญญาอาวุโสคนเป็นครูสาธิตเกษตร" กรุงเทพ :บริษัท สยามสปอร์ตซินดิเคท จำกัด (มหาชน),2555
  • บันทึกประจำวัน 2555 บริษัท สยามสปอร์ตซินดิเคท จำกัด (มหาชน),2555
  • หนังสือ "โครงการการศึกษาความรอบรู้เฉพาะเรื่อง" สำนักพิมพ์บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด,2551
  • โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สมาคมนักเรียนเก่าโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์